การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7488
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2088 รหัสสำเนา 14709
คำถามอย่างย่อ
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำถาม
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำตอบโดยสังเขป

ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณียกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อล ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาป และต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่

แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-มิใช่ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ- ทว่าได้รับการเลือกสรรโดยประชาชน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจึงมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ด้วยสาเหตุนี้เองตามความเชื่อของพวกเขา ตำแหน่งอิซมัต (ผู้บริสุทธิ์) จึงไม่จำเป็นสำหรับเคาะลิฟะฮฺแต่อย่างใด

เหตุผลด้านภูมิปัญญาและอ้างอิงฝ่ายชีอะฮฺ :

1. สติปัญญาสมบูรณ์ตัดสินว่า, อิมามในฐานะที่เป็นผู้อธิบาย ผู้พิทักษ์บทบัญญัติศาสนา และสาส์นของเหล่าบรรดาศาสดา, ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและมั่นใจได้สำหรับประชาชน ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์จากความผิดพลาด และการเบี่ยงเบนทั้งหลาย, เพื่อว่าจะได้พิทักษ์ปกป้องศาสนาและบทบัญญัติของพระองค์ได้, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประทานเราะซูลและอิมามมาก็เพื่อ อบรมสั่งสอนประชาชาติ และสิ่งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ อันเป็นวิชาการซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่พวกเขา และความรู้ของพระเจ้านั้นต้องถูกประกาศ และถูกถ่ายทอดสู่ประชาชนโดยปราศจากข้อตำหนิ ความบกพร่อง และความไม่สมบูรณ์ อีกทั้งต้องบริสุทธิ์จากการเบี่ยงเบนและเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งนอกจากนี้แล้วจะเห็นว่าปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,ได้ระบุว่าต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วฝ่ายชีอะฮฺยังเชื่ออีกว่า อิมามะฮฺก็คือตัวแทนที่แท้จริงของท่านศาสดา (ซ็อล ) เหมือนกับตำแหน่งของศาสดาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอัลลอฮฺ (ซบ.)-มิใช่การเลือกตั้งโดยประชาชน- อีกนัยหนึ่ง,มะอฺซูมหมายถึงบุคคลที่ไม่ว่าเขาจะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน,หรือว่าลับสายตาคน (ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง) เขาก็จะไม่กระทำผิดอย่างเด็ดขาด เป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวอธิบายถึงความบริสุทธิ์ของอีกคนหนึ่งได้, ดังนั้น การจำแนกตำแหน่งความบริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ต้องมาจากหลักฐานการอ้างอิง หรือรายงานฮะดีซจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) จึงจะสามารถยอมรับได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

1. อิมาม ความหมายตามสารานุกรมต่างๆ หมายถึงผู้นำ ซึ่งจะกล่าวเรียกบุคคลอื่นว่าเป็นอิมามได้ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้นำและมีผู้อื่นปฏิบัติตามเขา

รอฆิบ กล่าวไว้ในหนังสือ มุฟรอดาตว่า:อิมามหมายถึงบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติตามจากบุคคลอื่น[1]

2. อิมามในความหมายของนักปราชญ์ (นิยาม) ในภาควิชาศาสนศาสตร์มีการให้นิยามไว้แตกต่างกัน เช่น

นิยามคำว่า อิมาม ในมุมมองของชีอะฮฺกล่าวว่า : หมายถึงหัวหน้าผู้นำทั่วไปด้านศาสนจักร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของประชาชน และปกป้องให้อยู่ในความปลอดภัย ทั้งปัญหาด้านศาสนจักรและอาณาจักร อีกทั้งช่วยเหลือพวกเขาให้ห่างไกลจากภยันตรายบนพื้นฐานของความถูกต้องดังกล่าว[2]

ส่วนคำว่าอิมามในทัศนะของซุนนีหมายถึง :อิมามหรือหัวหน้าผู้นำทั่วไปในความหมายกว้างๆ, เกี่ยวข้องกับปัญหาศาสนาและปัญหาทางโลกของประชาชน,ในฐานะเป็นตัวแทนของท่านศาสดา[3]

3.ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับ อิซมัต : คำว่า อิซมัต ตามหลักภาษาหมายถึง การระวังรักษา การกีดขวาง ส่วนความหมายของนักปราชญ์ด้านวิชาศาสนศาสตร์หมายถึง : ความเคยชินด้านจิตวิญญาณที่ระบุว่าจะต้องไม่กระทำความผิด หรือกระทำสิ่งขัดแย้งกับหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งความเคยชินด้านจิตวิญญาณนี้ จะปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และบาปกรรมต่างๆ

อิซมัต เป็นความเคยชินซึ่งกำกับว่าต้องไม่ประพฤติขัดแย้งกับหน้าที่จำเป็น, ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือพลั้งเผลอ ซึ่งการมีความเคยชินนี้เองที่ทำให้เขามีอำนาจต่อต้านความไม่ดี[4]

ฝ่ายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่า : อิมามะฮฺก็คือผู้สืบสานเจตนารมณ์และปกป้องรักษาสาส์นของศาสดา,เว้นเสียแต่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) คือผู้วางรากฐานบทบัญญัติ และวะฮียฺได้ประทานลงมาที่ท่าน, ส่วนอิมามคือผู้อธิบายบทบัญญัติต่างๆ และเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ต่อไป, ด้วยเหตุนี้เอง, อิมามจึงอยู่ในฐานะเดียวกันทั้งหมดกับท่านศาสดา (ซ็อล ) เว้นเสียแต่ว่าไม่มีวะฮียฺถูกประทานลงมาที่อิมาม[5]

และเงื่อนไขจำเป็นทั้งหมดสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ), ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องหลักความศรัทธา และหลักปฏิบัติ และฯลฯ หรือบริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งเปิดเผยและปิดบัง, ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดเหล่านี้ก็จำเป็นสำหรับอิมามด้วย แต่ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าการรู้จักความบริสุทธิ์ นอกจากโดยหนทางของการอธิบายของอัลลอฮฺแล้ว มิอาจเป็นไปได้, อิมามะฮฺเหมือนกับนบูวัตกล่าวคือต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่า : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตำแหน่งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มีความคิดเห็นต่างไปจากชีอะฮฺว่า ตำแหน่งนี้อันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งต้องแบกรับหน้าที่ทั้งศาสนจักรและอาณาจักร เป็นภารทางสังคมซึ่งประชาชนเป็นผู้มอบตำแหน่งตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ และเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งความหมายนี้ได้มาจากการให้นิยาม อิมาม จากทั้งสองฝ่าย (สุนียฺและชีอะฮฺ)

ลำดับต่อไปโปรดพิจารณษหลักฐานจากทั้งสองฝ่าย ดังนี้:

) เหตุผลด้านภูมิปัญญาถึงความจำเป็นว่าอิมาม (. ต้องเป็นมะอฺซูม

1.เนื่องจากอิมามคือผู้พิทักษ์ปกป้องและเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และสาส์นของท่านศาสดา ดังนั้น ต้องเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือ และไว้ใจได้จากประชาชน ด้วยเหตุนี้ ถ้าสมมุติว่าอิมามมิใช่มะอฺซูม ความหน้าเชื่อถือเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

2. ถ้าหากอิมามกระทำความผิด, แน่นอน ความเคารพและความรักที่มีต่ออิมามจะถูกถอดถอนออกไปจากจิตใจของประช่าชน และพวกเขาจะไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมามอีกต่อไป,เมื่อเป็นเช่นนั้นประโยชน์ของการแต่งตั้งอิมามก็จะสูญไปโดยปริยาย[6]

3.ถ้าหากอิมามมิได้เป็นมะอฺซูม และได้กระทำความผิด, ก็จำเป็นต้องถูกพิพากษา และวาญิบต้องถูกลงโทษตามหลักการของการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว, ขณะที่การปฏิบัติทำนองนี้กับอิมาม ประการแรก : เป้าหมายในการแต่งตั้งอิมามเกิดความบกพร่อง และเป็นโมฆะโดยทันที สอง : ขัดแย้งกับโองการอัลกุรอาน (นิซาอฺ,59) ซึ่งกำชับให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม,เนื่องจากโองการข้างต้น,ถือว่าวาญิบต้องปฏิบัติตามอิมาม ตลอดจนการให้เกียรติและการแสดงความเคารพยกย่อง ซึ่งกล่าวไว้โดยสมบูรณ์[7]

4. บรรดาอิมาม เหมือนกับท่านศาสดา (ซ็อล ) ในแง่ที่ว่าเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติ, ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นมะอฺซูม, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการพิทักษ์ปกป้องคือ , การปกป้องด้านความรู้และการปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการพิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติทั้งในแง่ของความรู้และการกระทำ ไม่อาจเป็นไปได้เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากบุคคลที่มิใช่มะอฺซูม เขาต้องกระทำสิ่งผิดพลาดแน่นอน แต่ถ้ายอมรับเขาได้ปกป้องบทบัญญัติบางส่วน อีกบางส่วนในทัศนะของอัลลอฮฺต้องถือว่าเชื่อถือไม่ได้ และถ้าในภาวะจำเป็นต้องตัดสินที่ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกับความจริง, เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ) มาเพื่อสอนสั่งบทบัญญัติแก่ประชาชน

5.ปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าเพื่อการชี้นำประชาชาติให้มีความสำรวมตนจากความผิด อันเป็นสาเหตุมาจากการเบี่ยงเบนทางความคิดและการกระทำ ฉะนั้น ถ้าอิมามกระทำความผิดเสียเอง หรือมิได้เป็นมะอฺซูม ตามปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,เพื่อการชี้นำประชาชน ดังนั้น อิมามเองก็ต้องการอิมามอื่นเพื่อชี้นำตนเอง อันถือได้ว่าเป็นความจำเป็น เพื่อว่าจะได้รอดพ้นจากความผิดพลาด ดังนั้น อิมามท่านอื่นต้องเป็นมะอฺซูม เพราะถ้ามิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ จำเป็นต้องมีอิมามท่านอื่นอีก และ ....เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการในอิมามก็จะไม่มีที่สิ้นสุด โดยหลักการแล้วถือว่าเป็นเหตุผลวน ซึ่งเหตุผลวนในทางปัญญาแล้วถือว่าเป็นไปไม่ได้ และบาฎิล ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจบตรงที่ว่าอิมามต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น ซึ่งต้องมีความเคยชินในแง่ของความบริสุทธิ์ มีศักยภาพในการชี้นำสั่งสอนประชาชน โดยจะต้องไม่เห็นความผิดพลาดและการเบี่ยงเบนในตัวเขาเด็ดขาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7252 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12378 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22698 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    7623 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7915 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8415 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5922 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6679 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8593 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38389 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...