การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6650
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/07/15
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8342 รหัสสำเนา 24238
คำถามอย่างย่อ
บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
คำถาม
มีผู้รู้ท่านใดบ้างที่ทราบทัศนะของบรรดาอิมามเกี่ยวกับบทกวี หรือเชื่อว่าเป็นสิ่งต้องห้าม?
คำตอบโดยสังเขป

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย
บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ

คำตอบเชิงรายละเอียด

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติต่อกาพย์โคลงกลอนและนักกวี ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดจากการตีความโองการ وَ الشُّعَراءُ یَتَّبِعُهُمُ الْغاوُون [1]ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากโองการข้างต้นมิได้มีจุดประสงค์ที่จะตำหนิทโคลงกลอนทุกประเภทในเชิงเหมารวม แต่ต้องการจะตำหนิโคลงกลอนบางประเภทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาของเรามักจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกาพย์โคลงกลอน อาทิเช่นกรณีของตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ต่อไปนี้

กวีนิพนธ์ในทัศนะอิสลาม
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
จากเนื้อหาข้างต้นทำให้ทราบข้อสรุปที่ว่าโองการข้างต้นสอนว่าการเป็นนักกวีเป็นเรื่องดีหรือเสื่อมเสียกันแน่? อิสลามยอมรับกวีนิพนธ์หรือไม่?

มาตรฐานของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ เป้าหมาย จุดประสงค์ และผลลัพธ์ ท่านอิมามอลีเคยปรารภแก่กลุ่มสหายของท่านยามที่กำลังพูดคุยเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ขณะกำลังละศีลอดในเดือนรอมฎอนว่า

اعلموا ان ملاک امرکم الدین، و عصمتکم التقوى، و زینتکم الادب، و حصون اعراضکم الحلم

“จงรู้ไว้ว่า ศาสนาคือมาตรฐานภารกิจของพวกท่าน ตักวาคือเกราะป้องกันของพวกท่าน มารยาทคือเครื่องประดับของพวกท่าน และความอดทนคือป้อมปราการของพวกท่านที่ตั้งตระหง่าน”[2]

สรุปคือ บทกลอนเปรียบเสมือนเครื่องมือ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเป้าประสงค์ที่สร้างแรงจูงใจแก่กวีนิพนธ์

เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย

สมัยที่การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านร้อนแรงถึงขีดสุดนั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าบทกวีหรือคำขวัญที่มีสัมผัสสละสลวยสามารถปลุกเร้าความรู้สึกของประชาชนได้ถึงเพียงใด สามารถปลุกระดมสู่อุดมการณ์ได้เพียงใด ช่วยสร้างเอกภาพในหมู่นักปฏิวัติถึงเพียงใด
ในยุคนั้น กลอนบทง่ายๆมีอานุภาพพอที่จะเขย่าบัลลังก์ และทำให้เหล่าศัตรูพากันอกสั่นขวัญแขวน

ไม่มีใครปฏิเสธว่าบางครั้งบทกวีเชิงธรรมะสามารถหยั่งรากลึกในหัวใจผู้ฟังได้ดีกว่าตำรับตำราเล่มหนาๆเสียอีก

เป็นดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า “ان من الشعر لحکمة، و ان من البیان لسحرا” บทกวีบางบทแฝงไว้ด้วยวิทยปัญญา และบางพจนารถมีอานุภาพดั่งมนตรา”[3]

บางครั้งบทกวีสามารถทิ่มแทงความรู้สึกของศัตรูได้ ดังที่มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุไว้เกี่ยวกับบทกวีประเภทนี้ว่า

و الذى نفس محمد بیده فکانما تنضهونهم بالنیل!

ขอสาบานต่อพระผู้ทรงกุมชะตากรรมของมุฮัมมัด(ซ.ล.) บทกวีเหล่านี้ประหนึ่งว่าพวกท่านกำลังยิงธนูใส่พวกเขา[4]

ท่านกล่าวฮะดีษบทนี้เมื่อครั้งที่ฝ่ายศัตรูพยายามร่ายบทกลอนเพื่อข่มขวัญฝ่ายมุสลิม ท่านนบี(ซ.ล.)จึงมีดำริให้มุสลิมแต่งบทกวีเพื่อตอบโต้ศัตรู

ท่านยังกล่าวแก่นักกวีท่านหนึ่งว่า  “จงร่ายกวีประณามพวกเขา แท้จริงญิบเราะอีลอยู่กับท่าน”[5]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่กะอบ์ บิน มาลิก นักกวีผู้ศรัทธาที่มักแต่งบทกลอนส่งเสริมอิสลามได้เอ่ยถามท่านนบี(ซ.ล.)ว่า โอ้ท่านนบี กระผมจะวางตัวเช่นไรเมื่อมีบางโองการประทานลงมาเพื่อตำหนิโคลงกลอน ท่านตอบว่า

ان المؤمن یجاهد بنفسه و سیفه و لسانه “ผู้ศรัทธาจะต่อสู้ในหนทางของพระองค์ด้วยชีพ ดาบ และลิ้น”[6]

บรรดาอิมามเองก็กล่าวยกย่องบทกวีและนักกวีผู้มีเป้าหมาย อีกทั้งยังเคยขอพรและมอบรางวัลมูลค่ามากมาย ซึ่งหากจะกล่าวทั้งหมดในที่นี้ก็คงจะเยิ่นเย้อ

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่พฤติกรรมของคนบางกลุ่มเป็นเหตุให้ศิลปะที่ยิ่งใหญ่และงดงามแขนงนี้ตกต่ำ ทำลายความสูงส่งของบทกวีให้เหลือเพียงสารัตถะแห่งวัตถุด้วยการโกหกยกเมฆจนทำให้มีการกล่าวกันว่า “احسنه اکذبه” กลอนที่โป้ปดที่สุดคือกลอนที่สละสลวยที่สุด”

บ่อยครั้งที่บทกวีถูกนำไปใช้โอ้โลมปฏิโลมผู้มีอำนาจเพื่อหวังจะได้รับการปูนบำเหน็จเพียงเล็กน้อย และบ่อยครั้งที่มีการร่ายบทกวีพรรณาถึงสุราเมรัยและอิสตรีอย่างสุดโต่ง

หลายครั้งที่บทกวีกลายเป็นชนวนแห่งสงครามและความขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดการหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์มากมาย

แต่ในทางตรงกันข้าม มีนักกวีที่เปี่ยมด้วยศรัทธาไม่น้อยที่ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อามิจสินจ้าง แต่เลือกที่จะใช้พรสวรรค์ดังกล่าวเพื่อพัฒนาศีลธรรมจรรยาของมนุษย์ และใช้ในการต่อสู้กับผู้อธรรมอันทำให้สามารถบรรลุถึงเกียรติยศอันสมบูรณ์

บางรายได้ประพันธ์บทกวีเพื่อปกป้องสัจธรรมโดยสามารถแลกกลอนแต่ละบาทกับบ้านในสรวงสวรรค์[7] นักกวีบางคนสามารถขจัดบรรยากาศที่คละคลุ้งไปด้วยการกดขี่ในยุคแห่งอุมัยยาดและอับบาซิดด้วยการประพันธ์บทกวีเช่นบท “มะดาริส อาย้าต” ประหนึ่งว่าได้รับการดลใจจากเบื้องบนกระนั้น

บางครั้งบทกวีสามารถแปรความหวาดกลัวของผู้ถูกกดขี่ให้กลายเป็นความฮึกเหิมกล้าหาญได้อย่างน่าอัศจรรย์

กุรอานกล่าวถึงบุคคลเหล่านี้ไว้ว่า إِلَّا الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ وَ ذَکَرُوا اللَّهَ کَثِیراً وَ انْتَصَرُوا مِنْ بَعْدِ ما ظُلِمُوا.
ที่น่าสนใจก็คือว่า บางครั้งศิลปินนักกวีได้รังสรรค์ผลงานไว้ดีเยี่ยมถึงขั้นที่ผู้นำทางศาสนาอิสลามพยายามรณรงค์ให้ผู้คนท่องจำบทกวีของพวกเขา อาทิเช่นกรณีบทกวีของ “อับดี” ที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยกล่าวว่า یا معشر الشیعة علموا اولادکم شعر العبدى، فانه على دین اللَّه “จงสอนบทกวีของอับดีแก่ลูกหลานเถิด เพราะเขาอยู่ในหนทางของพระองค์”[8]

ด้วยเหตุนี้เราจึงขอส่งท้ายด้วยบทกวีของอับดีที่เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวแทนของท่านนบี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้

و قالوا رسول اللَّه ما اختار بعده             اماما و لکنا لأنفسنا اخترنا!

اقمنا اماما ان اقام على الهدى             اطعنا، و ان ضل الهدایة قومنا!

فقلنا اذا انتم امام امامکم             بحمد من الرحمن تهتم و لا تهمنا

و لکننا اخترنا الذى اختار ربنا             لنا یوم خم ما اعتدینا و لا حلنا!

و نحن على نور من اللَّه واضح             فیا رب زدنا منک نورا و ثبتنا!

“พวกเขากล่าวว่าท่านนบี(ซ.ล.)มิได้เลือกผู้ใดเป็นผู้นำภายหลังจากท่าน แต่เราคือผู้คัดสรรเอง
เราเลือกอิมามที่ถ้าหากนำสู่ทางที่ถูกต้องจึงจะปฏิบัติตาม แต่หากนำสู่ความผิดพลาด เราจะดัดนิสัยเขา
หากเป็นเช่นนี้ พวกท่านก็คืออิมามของตัวเอง พวกท่านนั่นแหล่ะที่อยู่ในวังวน มิไช่เรา
แต่เรายึดมั่นในผู้นำที่ได้รับการคัดเลือกในวันเฆาะดี้รคุม และจะยืนหยัดอย่างไม่ผันแปร
เรายึดถือรัศมีอันเจิดจรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนรัศมีแก่เรา และช่วยให้เรายืนหยัดอย่างมั่นคง[9] [10]

ชะฮีด มุฮัมมัด ศอดิก ศ็อดร์ ได้นำเสนอรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทกวีและกวีนิพนธ์ในมุมมองของฟิกเกาะฮ์ ซึ่งหากผู้ใดสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้[11]

อมีนุลอิสลาม เชค เฏาะบัรซี ได้รายงานฮะดีษจากอิมามริฎอไว้ในหนังสือ “อัลอาดาบุดดีนียะฮ์ ลิลเคาะซานะติล มุอีนียะฮ์” โดยกล่าวภายหลังว่า บทสรุปที่ได้จากรายงานต่างๆที่กล่าวไปแล้วก็คือ การขับบทกลอนในช่วงเวลาหรือสถานที่อันมีเกียรติถือเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง(มักรูฮ์)[12] ส่วนฮะดีษที่มีเนื้อหาประณามอย่างเผ็ดร้อนก็ให้ถือว่าเป็นการตะกียะฮ์

สุดท้ายนี้ขอรายงานฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(อ.)ที่ว่า “ไม่มีผู้ใดแต่งบทกวีเกี่ยวกับเราโดยมิได้รับการดลใจจากวิญญาอันบริสุทธิ์”[13]

 


[1] ซูเราะฮ์ อัชชุอะรอ,224 “และเหล่าผู้หลงทางจะคล้อยตามนักกวี”

[2] อิบนิ อบิลฮะดี้ด, ชัรฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 20,หน้า 461

[3] ฮะดีษข้างต้นได้รับการรายงานทั้งในสายชีอะฮ์และซุนหนี่ (อ่านในหนังสือ อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 9)

[4] มุสนัด อะห์มัด,เล่ม 3,หน้า 460

[5] เพิ่งอ้าง,เล่ม 4,หน้า 299

[6] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 469

[7] รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)ว่า من قال فینا بیت شعر بنى اللَّه له بیتا فى الجنة ผู้ใดที่ประพันธ์บทกวีเกี่ยวกับเรา อัลลอฮ์จทรงสร้างบ้านในสรวงสวรรค์สำหรับเขา (อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 3)

[8] นูรุษษะเกาะลัยน์, เล่ม 4,หน้า 71

[9] กุมี,อับบาส,อัลกุนา วัลอัลก้อบ,เล่ม 2,หน้า 455

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 15,หน้า 382-386

[11] ดู: มาวะรออุลฟิกฮ์,เล่ม 10,หน้า 93

[12] บะฮ์รอนี,ยูซุฟ บิน อะห์มัด บิน อิบรอฮีม, อัลฮะกออิกุน นาฎิเราะฮ์ ฟี อะห์กามิล อิตเราะติฏ ฏอฮิเราะฮ์, เล่ม 13,หน้า 164,สำนักพิมพ์อิสลามี ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,พิมพ์ครั้งแรก,กุม,ฮ.ศ.1405

[13] เชคเศาะดู้ก,อุยูน อัคบาริร ริฎอ(อ.),เล่ม 1,หน้า 7,สำนักพิมพ์ญะฮอน,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1378

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6805 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7385 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7010 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6349 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6534 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6148 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8299 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    7914 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6007 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7737 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56815 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41638 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38383 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25174 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...