การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6421
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1233 รหัสสำเนา 15716
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
คำถาม
ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
คำตอบโดยสังเขป

หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่า ท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีน และเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(..) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(..) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขาร ท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชาม และเสียชีวิต  ที่นั่น

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท่านบิล้าลเป็นบุตรของ ริบาฮ์ และฮุมามะฮ์[1] ท่านถูกนำตัวมาจากอบิสสิเนียสู่คาบสมุทรอรับในฐานะบ่าวทาส ต่อมาได้เป็นทาสรับใช้ของอุมัยยะฮ์ซึ่งเป็นแกนนำคนหนึ่งของเผ่ากุเรช
หลังจากอิสลามเริ่มทอแสง แม้อุมัยยะฮ์จะเป็นผู้ที่กระหายจะดับแสงแห่งอิสลามและเตาฮี้ดก็ตาม แต่ทาสของเขาเป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลามด้วยความปลื้มปีติ[2]ท่านบิล้าลถือเป็นมุสลิมผู้ยากไร้[3] ซึ่งเมื่อท่านรับอิสลามก็ถูกเหล่ามุชริกีนทรมานต่างๆนานาเพื่อหวังให้ท่านเปลี่ยนใจ กล่าวกันว่าท่านคือหนึ่งในเจ็ดมุสลิมผู้กล้าเผยตัวว่ารับอิสลาม ทั้งนี้ คนอื่นๆล้วนมีผู้อุปถัมภ์มิให้ถูกทรมาน หรือไม่ก็มีผู้เยียวยาหลังถูกทรมาน แต่ท่านบิล้าลคือผู้เดียวที่ไม่มีผู้อุปถัมภ์ใดๆ[4] อุมัยยะฮ์ผู้เป็นนายจึงได้ทารุณกรรมท่านอย่างทมิฬหินชาติ แต่ท่านบิล้าลก็ยังมั่นคงในศรัทธาของตนเอง กล่าวกันว่าท่านอบูบักรได้จ่ายเงินไถ่ท่านให้เป็นไท ซึ่งรายงานของฝ่ายชีอะฮ์ก็ยอมรับเช่นนี้ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนกอมูสุรริญ้าลตั้งข้อสังเกตุและอ้างจากหนังสือนักฎุ้ล อุษมานียะฮ์เขียนโดยอิสกาฟีว่า ท่านบิล้าลได้รับการไถ่โดยท่านนบี(..) อาจเป็นไปได้ว่าเป็นไปตามคำสั่งของท่านนบี(..)[5]
เมื่อนครมะดีนะฮ์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐอิสลามแล้ว ท่านบิล้าลก็ได้เป็นนักอะซานที่ท่านนบี(..)โปรดปราน ท่านยังได้เข้าร่วมในสมรภูมิต่างๆเคียงบ่าเคียงไหล่ท่านนบี(..)โดยตลอด[6]
รายงานทางประวัติศาสตร์ล้วนยืนยันถึงความกล้าหาญและศรัทธาอันแข็งแกร่งของท่านในยุคของท่านนบี(..) ทว่าภายหลังจากที่ท่านนบี(..)ละสังขารไป ท่านบิล้าลก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชาม(ซีเรีย)

ชีวประวัติช่วงเดียวของท่านบิล้าลที่อาจถือเป็นข้อถกเถียงระหว่างชีอะฮ์และซุนหนี่ก็คือช่วงเวลานี้ เพราะเหตุใดท่านจึงเดินทางออกจากนครมะดีนะฮ์?
ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์เชื่อว่า ท่านไม่ต้องการจะเป็นนักอะซานประจำของคนอื่นที่มิไช่ท่านนบี(..)[7]จากหลักฐานดังต่อไปนี้:
1.
ฮะดีษจากบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ที่ว่าบิล้าลคือบ่าวที่ประเสริฐของอัลลอฮ์ ท่านเคยกล่าวว่าจะไม่เป็นนักอะซานของผู้ใดหลังจากท่านนบี(..) ด้วยเหตุนี้ ประโยคฮัยยะอะลาค็อยริ้ลอะมั้ลจึงถูกทิ้งให้หลงลืม[8]
2. รายงานฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ระบุชัดเจนว่าภายหลังจากท่านนบี(..) ท่านบิล้าลไม่ยอมอะซานตามคำขอของเหล่าเคาะลีฟะฮ์เลย อัลวากิดีรายงานว่าภายหลังท่านนบี(..)ละสังขาร ท่านบิล้าลก็ยังอะซานเป็นปกติตราบที่ยังมิได้ฝังร่างของท่านนบี(..) เมื่อถึงวรรคอัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดัรรอซูลุลลอฮ์ผู้คนต่างร่ำไห้ระงม แต่หลังจากที่ฝังร่างของท่านนบี(..)แล้ว ท่านอบูบักรได้ขอให้ท่านอะซานดังเดิม แต่ท่านบิล้าลกล่าวว่าหากในอดีตท่านไถ่ตัวฉันเพื่อให้อยู่ใต้อาณัติของท่าน ก็แล้วแต่ท่านจะสั่งเถิด แต่หากไถ่เพื่ออัลลอฮ์ ก็ขอให้ฉันได้มีอิสระในหนทางของพระองค์ท่านอบูบักรกล่าวว่าฉันไถ่ท่านเพื่ออัลลอฮ์ท่านบิล้าลจึงกล่าวว่าฉันขอไม่อะซานให้ผู้ใดอีกหลังจากท่านนบี(..)” อบูบักรกล่าวว่าท่านมีอิสระหลังจากนั้นท่านไม่กี่วัน ท่านก็ได้เดินทางไปยังแคว้นชามพร้อมกับกองทัพมุสลิม และได้พำนักอยู่ที่นั่น [9]
อัสกอลานี ผู้เขียนหนังสืออัลอิศอบะฮ์ก็ยืนยันตรงกันว่าท่านบิล้าลได้เดินทางไปแคว้นชามเพื่อการญิฮาด[10]

แต่ยังมีอีกทัศนะตามที่มีรายงานในตำราฝ่ายซุนหนี่ว่า หลังจากท่านนบี(..)ละสังขาร ท่านบิล้าลได้มาบอกท่านอบูบักรว่าโอ้เคาะลีฟะฮ์ของนบี(..) ฉันได้ยินจากท่านนบี(..)ว่า กิจที่ประเสริฐสุดคือการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์ท่านอบูบักรกล่าวว่าท่านต้องการจะทำอะไรหรือ?” ท่านบิล้าลตอบว่าฉันต้องการจะญิฮาดเพื่ออัลลอฮ์และพลีชีวิตในหนทางของพระองค์อบูบักรกล่าวว่าขอสาบานต่ออัลลอฮ์และเกียรติของท่าน อย่าไปเลย ฉันชราภาพแล้วและคงอยู่ได้อีกไม่นานท่านบิล้าลจึงอยู่กับท่านอบูบักรต่อ เมื่อท่านอบูบักรเสียชีวิต ท่านบิล้าลได้มาแจ้งความจำนงเดิมต่อท่านอุมัรอีก และท่านอุมัรก็กล่าวเช่นเดียวกันกับท่านอบูบักร แต่คราวนี้ท่านบิล้าลไม่คล้อยตาม[11]
ยังมีรายงานที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนักกล่าวว่า เมื่อท่านอุมัรเดินทางสู่แคว้นชาม ท่านบิล้าลได้อะซานให้[12]
อย่างไรก็ดี รายงานแรกมิได้หักล้างรายงานชุดที่ฝ่ายชีอะฮ์ยึดถือ เหตุเพราะมิได้ระบุว่าท่านบิล้าลอะซานตามคำขอของท่านอบูบักร ส่วนรายงานที่สองนั้น นอกจากจะมีปัญหาด้านสายรายงานแล้ว ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าท่านบิล้าลรับเป็นนักอะซานประจำตัวสำหรับเคาะลีฟะฮ์ อย่างมากก็แค่พิสูจน์ว่าท่านได้อะซานเมื่อครั้งที่ท่านอุมัรพำนักอยู่

จึงกล่าวได้ว่า แหล่งอ้างอิงทั้งซุนหนี่และชีอะฮ์ยืนยันว่าท่านบิล้าลไม่ยอมเป็นนักอะซานของเหล่าเคาะลีฟะฮ์อย่างเป็นทางการ
นักประวัติศาสตร์ระบุว่า ท่านบิล้าลเสียชีวิตลงในสมัยการปกครองของท่านอุมัร หรือราวๆ 17-20 ..[13]



[1] อัลอิสตีอ้าบ,เล่ม 1,หน้า 179.

[2] ประวัติศาสตร์รายงานว่าท่านรับอิสลามคนที่สี่หรือห้า. บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 18,หน้า 229.

[3] อ้างแล้ว,เล่ม 17,หน้า 41. , อัฏเฏาะบะกอตุ้ลกุบรอ,เล่ม 3, หน้า 175. , อันซาบุลอัชรอฟ,เล่ม 1,หน้า156.

[4] ดู: อ้างแล้ว.

[5] ปูชณียบุคคลมุสลิมชีอะฮ์,.ญะฟัร ซุบฮานี,เล่ม 1,2. , อัลอิสตีอ้าบ,เล่ม 1,หน้า 182. , อุสดุ้ลฆอบะฮ์,เล่ม 1,หน้า 243.

[6] อัลอะอ์ลาม,เล่ม 2,หน้า 73.

[7] อัลอิคติศ้อศ,หน้า 71.

[8] رَوَى أَبُو بَصِیرٍ عَنْ أَحَدِهِمَا ع أَنَّهُ قَالَ إِنَّ بِلَالًا کَانَ عَبْداً صَالِحاً فَقَالَ لَا أُؤَذِّنُ لِأَحَدٍ بَعْدَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَ آلِهِ فَتُرِکَ یَوْمَئِذٍ حَیَّ عَلَى خَیْرِ الْعَمَل. มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 1,หน้า 283.

[9] เฏาะบะกอตุ้ลกุบรอฉบับแปล,เล่ม 3, หน้า 202, เฏาะบะกอตุ้ลกุบรอ,เล่ม 2,หน้า 178. , อัลอิสตีอ้าบ,เล่ม 1,หน้า 82. , อุสดุ้ลฆอบะฮ์,เล่ม1,หน้า 243.

[10] อันซาบุลอัชรอฟ,เล่ม 1,หน้า 526. , อัลอิศอบะฮ์,เล่ม 1,หน้า 456.

[11] เหมือนเชิงอรรถที่เก้า

[12] อุสดุ้ลฆอบะฮ์,เล่ม 1,หน้า 244.

[13] อ้างแล้ว,เล่ม 1,หน้า 245, อันซาบุลอัชรอฟ,เล่ม 1,หน้า 526, , ดะลาอิลุนนุบูวะฮ์,เล่ม 1,หน้า 348, อัมตาอุ้ลอัสมาอ์,เล่ม 6,หน้า 350.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    7908 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7199 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5956 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
    5735 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ 1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์ 2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์ สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง
  • เคยได้ยินฮะดีษที่ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้บั่นศีรษะชัยฏอนไปแล้ว, ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? แล้วการล่อลวงของชัยฏอนจะตีความอย่างไร?
    9330 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฮะดีษที่ดังกล่าวมีอยู่จริงในขุมตำราฮะดีษของเรา อย่างไรก็ดี ฮะดีษดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”(วันเวลาที่กำหนดไว้)ดังคำบอกเล่าของกุรอาน อิบลีสถูกเนรเทศออกไปจาก ณ พระองค์ แต่มันได้ขอให้ทรงประวิงเวลา อัลลอฮ์ตัดสินคาดโทษอิบลีสจนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” ฮะดีษที่ถามมาต้องการจะเฉลยปริศนาเกี่ยวกับวันเวลาดังกล่าว โดยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในยุคแห่งร็อจอะฮ์(ยุคต่อจากกาลสมัยของอิมามมะฮ์ดี ที่บรรดาอิมามในอดีตจะหวลกลับมาบริหารรัฐอิสลามโลก) หาไช่วันสิ้นโลกหรือวันกิยามะฮ์ไม่.
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6045 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6683 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6498 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5481 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6244 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59296 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56745 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41569 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38333 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38291 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33384 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27480 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27142 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27038 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25123 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...