การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5700
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/08
คำถามอย่างย่อ
จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
คำถาม
นักบรรยายท่านหนึ่งเคยกล่าวว่า เพื่อนสองคนนอกจากจะต้องมีความคล้ายคลึงกันทางความคิดแล้ว ยังจะต้องคล้ายคลึงกันในแง่รูปลักษณ์ภายนอกด้วย อาทิเช่นอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน มีร่างกายที่ทัดเทียมกัน (มิไช่ว่าคนหนึ่งร่างเล็กแต่อีกคนหนึ่งร่างกายกำยำ หรือคนหนึ่งหน้าอ่อนแต่อีกคนหน้าตามีอายุ) สรุปคือควรจะเข้ากันได้ในทุกๆด้าน มิฉะนั้นสังคมจะเกิดความเข้าใจผิดได้ ถามว่าความคิดดังกล่าวถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี
หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อนคือผู้ที่อยู่เคียงข้างยามเดียวดาย ร่วมแบ่งทุกข์ปันสุข หยิบยื่นความช่วยเหลือยามยาก เป็นที่พึ่งได้ยามเผชิญอุปสรรค และเป็นที่ปรึกษายามกังวลใจ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเพื่อนของแต่ละบุคคลถือเป็นดัชนีชี้วัดบุคลิกและระดับคุณธรรมได้ นอกจากนี้ เพื่อนยังมีอิทธิพลต่อนิสัยใจคอของมนุษย์เราในช่วงวัยต่างๆค่อนข้างสูง การเลือกคบเพื่อนจึงมีส่วนช่วยประคองศีลธรรมสังคมและพฤติกรรมมนุษย์ได้ ดังที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “มิตรสหายเปรียบดั่งผ้าที่นำมาปะชุนสังคม ฉะนั้นจงเลือกคบบุคคลที่คล้ายคลึงกับท่านเถิด”[1]

สัมพันธภาพทางจิตใจย่อมจะนำสู่การเชื่อมโยงทางสังคมที่จับต้องได้ ในทางกลับกัน สัมพันธภาพทางสังคมก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่นิยมการขัดเกลาจิตใจและพัฒนาบุคลิกภาพให้บรรลุซึ่งศีลธรรมจรรยาจึงต้องใช้หลักเกณฑ์ทางศาสนาเป็นมาตรฐานในการพิจารณาคบหาเพื่อน อีกทั้งยังต้องระมัดระวังอิทธิพลของเพื่อนที่มีต่อจิตใจ จึงกล่าวได้ว่า คุณสมบัติทางนิสัยใจคอคือสิ่งที่อิสลามถือเป็นมาตรฐานหลักในการเลือกคบเพื่อน หาไช่คุณสมบัติภายนอกไม่

ในที่นี้ขอนำเสนอคุณสมบัติทางจิตใจบางประการของเพื่อนดังต่อไปนี้

1. อีหม่านคือฐานรากที่สำคัญที่สุดของมิตรภาพ สิ่งเดียวที่มั่นคงถาวรก็คือศรัทธาที่มีต่อหลักความเชื่อทางศาสนา สายสัมพันธ์ที่อิงความรักในอัลลอฮ์เป็นหลักเกณฑ์ย่อมจะไม่มีวันขาดสะบั้น ทั้งนี้ก็เพราะตั้งอยู่บนรากฐานอันแข็งแกร่ง สิ่งนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของอิสลามที่กำหนดว่าศรัทธาคือรากฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง อิสลามถือว่ามิตรภาพหรือความชิงชังที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอีหม่านชี้ให้เห็นถึงสัมพันธภาพที่เหนียวแน่นระหว่างพระเจ้าและมนุษย์

โองการกุรอานหลายบทกล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพยายามระงับมิให้ผู้ศรัทธากระชับสายสัมพันธ์กับเหล่าผู้ปฏิเสธ ผู้ตั้งภาคี และเหล่าผู้กลับกลอก อาทิเช่นโองการที่ว่า “บรรดาผู้ศรัทธามิบังควรเลือกผู้ปฏิเสธเป็นมิตรแทนที่ผู้ศรัทธาด้วยกัน และหากผู้ใดกระทำเช่นนี้ ย่อมถือว่าไม่มีสายสัมพันธ์ใดๆกับพระองค์ (ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอัลลอฮ์ขาดสะบั้นลง) เว้นเสียแต่ว่าจะงดพฤติกรรมดังกล่าว...”[2]

2. มิตรแท้ควรเป็นผู้ปราดเปรื่องด้วยปัญญา: ปัญญาคือศักยภาพที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจสิ่งต่างๆได้ และเนื่องจากปัญญาเปรียบดั่งประทีปแห่งชีวิตที่ช่วยส่องสว่างสู่ความผาสุกของมนุษย์ เป็นเหตุให้อิสลามถือว่าปัญญาคือหลักเกณฑ์ประการหนึ่งสำหรับการเลือกคบเพื่อน โดยรณรงค์ให้คบค้าสมาคมกับผู้ทรงปัญญาหรือนักวิชาการ

มีฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “ไม่มีปัญหาใดๆหากจะคบคนฉลาดหลักแหลม เพราะแม้ว่าเธออาจจะไม่ได้ประโยชน์จากศีลธรรมของเขา แต่จงใช้ประโยชน์จากปัญญาของเขาทว่าพึงหลีกห่างมารยาทอันไม่พึงประสงค์ที่เขามี และจงคบกับผู้มีไมตรีจิตแม้ว่าเธออาจไม่ได้รับประโยชน์จากปัญญาของเขา แต่จงใช้ปัญญาของเธอเรียนรู้ไมตรีจิตจากเขา และจงออกห่างผู้ต่ำต้อยที่ไร้ความคิด”[3]

ท่าน(อ.)ยังได้กล่าวอีกว่า “การคบหาคนฉลาดจะช่วยให้วิญญาณมีชีวิตชีวา”[4]
ทว่าเพื่อนที่เบาปัญญาเปรียบดั่งยาพิษที่บ่อนทำลายสุขภาพจิตทุกเมื่อเชื่อวัน

อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ยังสานสัมพันธ์กับคนเขลาย่อมจะได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมเบาปัญญา อันจะทำให้เขาค่อยๆมีลักษณะนิสัยเช่นนั้น”[5]

3. เพื่อนแท้คือผู้ที่มอบข้อบกพร่องของเราเป็นของขวัญแก่เราเอง: อิสลามถือว่ามิตรภาพที่มีคุณค่าต้องเป็นดั่งน้ำทิพย์ชโลมชีวิตส่วนตัวและสังคมของเราได้ ฉะนั้น ผู้ที่พบเห็นข้อบกพร่องของเราแต่ไม่เตือนให้ทราบ ย่อมไม่ไช่เพื่อนแท้ เพราะจากมุมมองของฮะดีษแล้ว เพื่อนที่แท้จริงเปรียบดุจกระจกเงาที่สะท้อนข้อบกพร่องแก่เราเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้เนื่องจากหวังดีและอยากเห็นเพื่อนประสบความผาสุก จึงได้แจ้งให้ทราบถึงข้อบกพร่องบางประการเพื่อจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

กุรอานกล่าวว่า “ปวงบุรุษและสตรีล้วนเป็นกัลญาณมิตรกันและกัน ตักเตือนสู่ความดีและห้ามปรามกันในความชั่ว ดำรงนมาซและชำระซะกาต และภักดีต่ออัลลอฮ์และศาสนทูต ไม่ช้าพระองค์จะทรงประทานเมตตาธรรมแก่พวกเขา พระองค์ทรงยิ่งด้วยพระปรีชาและวิทยปัญญา”[6]
อิมามศอดิกกล่าวว่า “มิตรที่ดีที่สุดของฉันก็คือผู้ที่มอบคำตักเตือนเกี่ยวกับข้อบกพร่องของฉัน”[7]

4. มิตรแท้คือผู้ที่มีจิตดำริในการบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในด้านทรัพย์สินและจิตใจเท่าที่สามารถจะกระทำได้
อิมามฮะซัน(อ.)ให้โอวาทเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
“จงเลือกคบผู้ที่เป็นดั่งเครื่องประดับยามคบหา
ผู้ที่รักษาเกียรติของเธอยามเธอที่ช่วยเหลือ
ผู้ที่ยื่นมือเข้าช่วยยามที่เธอต้องการ
ผู้ที่รับรองคำพูด(ที่ถูกต้อง)ของเธอ
ผู้ที่จะสนับสนุนเธอยามที่เธอต่อสู้กับศัตรู
ผู้ที่จะเกื้อหนุนเธอยามที่เธอกระทำความดี
ผู้ที่จะช่วยเติมเต็มให้ยามที่ชีวิตของเธอมีจุดบอด
ผู้ที่รู้คุณเธอยามที่เธอปฏิบัติดีด้วย
ผู้ที่จะหยิบยื่นเสมอเมื่อเธอขอร้อง
และผู้ที่จะเอ่ยปากช่วยเหลือเธอแม้ยามที่เธอเงียบ”[8]

เหล่านี้ถือเป็นคุณสมบัติส่วนบุคคลที่มิตรแท้ควรมี นอกจากนี้ยังควรพิจารณาคุณสมบัติทางสังคม กล่าวคือควรถือวิถีประชาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสานสัมพันธ์ฉันเพื่อนฝูงด้วย ซึ่งขอนำเสนอโดยสังเขปดังนี้

  1. อายุ: ควรพิจารณาสองข้อคิดต่อไปนี้
    ก. ในกรณีที่ผู้ที่เราต้องการคบเป็นเพื่อนมีอายุมากกว่า สามารถที่จะศึกษาประสบการณ์จากเขาในฐานะพี่น้องทางศาสนาหรือเพื่อนรุ่นพี่ได้ โดยควรให้เกียรติและระมัดระวังไม่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยเดียวกัน และไม่ควรแสดงอากัปกริยาอันจะทำให้ผู้คนในสังคมตำหนิได้
    ข. สิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้นสามารถใช้กับเพื่อนที่มีอายุเท่ากันได้ นั่นเป็นเพราะสถานภาพทางสังคมของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่พึงให้เกียรติ
  2. ควรคำนึงถึงภูมิหลังทางสังคมของบุคคลที่ต้องการจะคบค้าสมาคมเสมอ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นที่ยอมรับในสังคมไม่ควรคบหากับบุคคลที่มีบุคลิกภาพเชิงลบในแง่สังคม เพราะถึงแม้ว่าควรจะมีไมตรีกับผู้ที่เราจะตักเตือน แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องคบหาบุคคลดังกล่าวเป็นมิตรสหายใกล้ชิด
  3. ในกรณีที่บุคคลสองคนสนิทสนมแน่นแฟ้นในลักษณะที่จะทำให้สังคมติฉินนินทาได้ก็ควรระมัดระวังพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดข้อครหาขึ้น ดังที่ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “พึงหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่จะทำให้ผู้คนกล่าวหาได้ เพราะมิตรชั่วจะหลอกลวงเสมอ”[9]

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ระเบียนต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้ศรัทธา,คำถามที่ 2534 (ลำดับในเว็บไซต์ 2671)
ยามที่ผู้ศรัทธาพบปะกันและกัน,คำถามที่11824 (ลำดับในเว็บไซต์ 13365 )
วิธีคบหาผู้อื่น,คำถามที่8795 (ลำดับในเว็บไซต์ 8752)
ชีวิตปัจเจกและชีวิตสังคม,คำถามที่ 8351(ลำดับในเว็บไซต์ 8370)

 

 


[1] ตะมีมี อามิดี,อับดุลวาฮิด บิน มุฮัมมัด, ฆุเราะรุ้ลฮิกัม,หน้า 423,สำนักงานเผยแพร่อิสลาม,กุม,ปี1366

[2] อาลิ อิมรอน,28

[3] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ,อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 638,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1365

[4] ฆุเราะรุ้ลฮิกัม,หน้า429,ฮะดีษที่ 9771

[5] มุฮัดดิษ นูรี,มุสตัดร้อก อัลวะซาอิ้ล,เล่ม 8,หน้า 336,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),กุม,ฮ.ศ.1408

[6] เตาบะฮ์,71

[7] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 639

[8] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 139,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404

[9] อามิลี,เชคฮุร,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 12,หน้า 36,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),กุม,ฮ.ศ.1409

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    5713 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    6938 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • ถ้าหากมุมหนึ่งของพรหมเปื้อนนะญิส, การนมาซบนพรหมนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ หรือเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิสเท่านั้นมีปัญหา? เสื้อเปื้อนเลือดและหลังจากซักออกแล้ว,ยังมีคราบสีเลือดตกค้างอยู่, สามารถใส่นมาซได้หรือไม่?
    17195 เฏาะฮาเราะฮ์ 2555/05/17
    1. หนึ่งในเงื่อนไขของสถานที่นมาซคือ ถ้าหากสถานที่นมาซนะญิส ในลักษณะที่ว่าความเปียกชื้นนั้นไม่ซึมเปียกเสื้อผ้า หรือร่างกาย, แต่บริเวณที่เอาหน้าผากลงซัจญฺดะฮฺนั้น, ถ้าหากนะญิสและถึงแม้ว่าจะแห้ง นมาซบาฏิล และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับ สถานที่นมาซจะต้องไม่เปรอะเปื้อนนะญิส[1] ด้วยเหตุนี้, การนมาซบนพรหมที่เปื้อนนะญิสด้วยเงื่อนไขตามกล่าวมา จึงถือว่า ไม่เป็นไร. 2.ทุกสิ่งที่เปื้อนนะญิส ตราบที่นะญิสยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปถือว่าไม่สะอาด. แต่ถ้ายังมีกลิ่น หรือสีนะญิสตกค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร. ฉะนั้น ถ้าหากซักรอยเลือดออกจากเสื้อแล้ว ตามขบวนการกำจัดนะญิส แต่ยังมีคราบสีเลือดหลงเหลืออยู่, ถือว่าสะอาด[2] ฉะนั้น, ถ้าเสื้อนะญิสเนื่องจากเปื้อนเลือด, และได้ซักแล้วตามขั้นตอน, แต่ยังมีคราบสีเลือดค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร และสามารถใส่เสื้อนั้นนมาซได้
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    7770 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    4787 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6184 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • จงอธิบายทฤษฎีของพหุนิยมทางศาสนาและการตีความที่แตกต่างกันของศาสนา และระบุความแตกต่างของพวกเขา?
    16836 เทววิทยาใหม่ 2555/04/07
    1.พหุนิยมหมายถึง ความมากมายในหลายชนิด ทั้งในทางปรัชญาของศาสนา, ปรัชญาจริยธรรม, กฎหมาย และการเมืองและว่า ... ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรู้ทั้งหมดเหล่านี้อย่างเป็นทางการในนามของการรู้จักในความหลากหลาย ในทางตรงกันข้ามกับความเป็นหนึ่งเดียว หรือความจำกัดในความเป็นหนึ่งเดียว พหุนิยมทางศาสนา หมายถึงการไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้ในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเฉพาะพิเศษ การได้รับผลประโยชน์ของทุกศาสนาจากความจริงและการช่วยเหลือให้รอด 2. พหุนิยม อาจได้รับการพิจารณาในหมู่ศาสนาต่างๆ หรือระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาที่มีอยู่ก็ได้ 3. ในความคิดของเราชาวมุสลิมทั้งหลาย พหุนิยมถูกปฏิเสธก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในศาสนาอิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุความถูกต้องของศาสนาอิสลาม ในลักษณะที่ว่าในศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องพอเหมือนกับศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ คัมภีร์แห่งฟากฟ้า (อัลกุรอาน) ยังไม่มีการบิดเบือนหรือสังคายนาใดๆ ทั้งสิ้น และความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามก็เท่ากับว่าได้ยกเลิกคำสอนของศาสนาอื่นไปโดยปริยาย 4. การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งในหลักการพื้นฐานของสิ่งนั้นคือ อรรถปริวรรตศาสตร์ และอีกประการหนึ่งคือการรู้จักต่างๆ ในศาสนาและการวิจัย ...
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6220 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    5498 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    7960 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57371 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55108 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40379 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37428 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36093 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32399 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26682 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26139 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25969 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24137 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...