การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6386
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1444 รหัสสำเนา 16136
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด ทรงปรีชาญาณ ทรงมีเจตน์จำนง และปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ แต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมาย อีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจ
เมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้า ก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอน เนื่องจาก:
พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆ โดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัว และสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบ พลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้
1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ
2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด
3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ
4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้
แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ ไม่มีแหล่งกำเนิด ไม่มีข้อจำกัด และไม่เปลี่ยนรูปแบบ กุรอานก็กล่าวถึงอัลลอฮ์ว่าพระองค์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด และปราศจากข้อบกพร่องและข้อจำกัดทุกประการ
จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะทำให้เข้าใจอย่างง่ายดายว่าพระเจ้ามิไช่พลังงาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

เบื้องต้นเราจะนิยามความหมายของพลังงาน พร้อมทั้งอธิบายถึงคุณสมบัติเฉพาะของพลังงาน แล้วจึงเปรียบเทียบคุณสมบัติดังกล่าวกับคุณลักษณะของพระเจ้า (โดยอาศัยข้อมูลเชิงวิชาการจากวิชาฟิสิกข์ โองการกุรอาน และเหตุผลทางสติปัญญาจากวิชาเทววิทยา) ท้ายที่สุดก็จะนำเสนอข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นนี้

นิยามของพลังงาน
พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงาน (Work) พลังงานมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว และสามารถเปลี่ยนรูปจากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบอื่นได้[1]

คุณสมบัติเฉพาะของพลังงาน
เมื่อพิจารณาถึงคำนิยามข้างต้น รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่แหล่งอ้างอิงทางวิชาการระบุไว้[2] ทำให้ทราบได้ว่าพลังงานมีคุณสมบัติเฉพาะดังต่อไปนี้
1. พลังงานต้องมีแหล่งกำเนิด (source) และเกิดจากกระบวนการทางฟิสิกข์หรือเคมีเสมอ
2. พลังงานได้รับอิทธิพลจากวัตถุ (อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยเข้าใจกันว่าไม่ได้เกิดจากวัตถุ แต่ในความเป็นจริงก็เกิดจากปฏิกริยาทางเคมีระหว่างองค์ประกอบต่างๆ)[3]
3. พลังงานสามารถแปรเป็นค่าได้ พลังงานทุกประเภทเมื่อพิจารณาถึงแหล่งกำเนิด จะมีขนาด(ความใหญ่)และมาตรวัด (Dimension)เฉพาะตัว
4. พลังงานยังมีข้อจำกัดบางประการอยู่ (อย่างเช่นพลังงานแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงเท่านั้น และไม่สามารถส่องผ่านวัตถุทึบแสงได้)
5. พลังงานสามารถเปลี่ยนแปลงรูปได้ (อย่างเช่นพลังงานศักย์ของสปริงที่ถูกกดไว้จะกลายเป็นพลังงานจลน์เมื่อปล่อยอิสระ หรือพลังงานศักย์ของน้ำในเขื่อนที่จะก่อให้เกิดพลังงานจลน์ขับเคลื่อนไดนาโม) นักฟิสิกข์ชั้นนำอย่างไอนสไตน์ก็พิสูจน์แล้วว่าวัตถุสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงาน และพลังงานก็เปลี่ยนเป็นวัตถุได้[4]

เปรียบเทียบคุณสมบัติพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้า
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติข้างต้น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ดังที่กุรอานและตำราหลักศรัทธาที่มีชื่อเสียงกล่าวไว้[5] เราจะพบว่าคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของอัลลอฮ์ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด ทรงปรีชาญาณ ทรงมีเจตน์จำนง และบริสุทธิ์ปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ แต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมาย อีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจ
ฉะนั้น พระเจ้าจึงไม่ได้รับอิทธิพลจากวัตถุ ไม่มีแหล่งกำเนิด(source) ไม่สามารถคำนวนเป็นค่าเชิงปริมาณ และไม่เปลี่ยนรูปแบบ

กุรอานอธิบายว่า อัลลอฮ์ทรงไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด ปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการ
จะเห็นได้จากการที่กุรอานใช้คำว่าอัลลอฮุศศ่อมัด[6] ซึ่งแปลว่าอัลลอฮ์ผู้ไม่ทรงต้องพึ่งพาสิ่งใด แสดงว่าพระองค์ไม่มีแหล่งสถิต เพราะการมีแหล่งสถิตหมายถึงจะต้องพึ่งพาสถานที่นั้นๆ
โองการข้างต้นยังชี้ให้เห็นอีกว่าพระองค์มิได้เป็นผลของเหตุใดๆ และไม่จำเป็นต้องมีแหล่งกำเนิด แต่ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลต่างหากที่ต้องพึ่งพาพระองค์ พระองค์คือปฐมเหตุ ดังที่อิมามอลี(.)ได้อรรถาธิบายคำว่าเศาะมัดไว้ว่าหมายถึงพระองค์ไม่ไช่ทั้งนามและรูป ไม่มีสิ่งใดเทียบเคียงและเสมอเหมือนพระองค์ ไม่มีรูปลักษณ์และเรือนร่าง ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ ไม่ไช่พลังงานแสงหรือความมืด ไม่ไช่วิญญาณหรือจิต และไม่มีปริมาตรใดจะจุพระองค์ไว้ได้[7]

โองการและฮะดีษที่นำเสนอข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างพระเจ้ากับพลังงาน และสนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาที่กล่าวไปแล้ว
กุรอานกล่าวไว้ว่าพระองค์มีอำนาจครอบคลุมทุกสิ่ง[8] ฉะนั้นจึงไม่มีอุปกรณ์ใดสามารถที่จะคำนวนค่าเชิงปริมาณแก่พระองค์ได้ เพราะพระองค์ทรงเหนือกว่าทุกอุปกรณ์
อีกโองการหนึ่งกล่าวว่าพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง[9] ซึ่งพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่มีข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น
อีกโองการหนึ่งระบุไว้ว่าสูเจ้าไม่อาจพบความผันแปรในจารีตของพระองค์พิสูจน์ได้ว่าพระองค์ไม่มีความผันแปร เนื่องจากผู้ที่ไม่ผันแปรเท่านั้นที่จะมีจารีตอันมั่นคง

ข้อพึงสังเกตุ
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าแสงถือเป็นรูปหนึ่งของพลังงาน บางคนจึงนำไปเทียบกับอัลลอฮ์ เนื่องจากอัลกุรอานกล่าวว่าพระองค์เปรียบประดุจรัศมี[10] จึงต้องศึกษานัยยะของโองการที่กล่าวเช่นนี้จากตำราอรรถาธิบายกุรอาน
ตัฟซี้รอัลมีซานกล่าวว่า รัศมีในที่นี้ หมายถึงผู้สร้างสากลจักรวาลรัศมีของอัลลอฮ์หมายถึง การที่ทุกแสงสีที่มีอยู่บังเกิดขึ้นโดยพระองค์ และนี่ก็คือความเมตตาในระดับสาธารณะและครอบคลุมทุกสิ่ง[11]
ส่วนตัฟซี้รนู้รกล่าวว่า รัศมีที่กล่าวในกุรอาน หมายถึงการชี้นำและแจ้งเตือน เนื่องจากอัลลอฮ์เสมือนรัศมีอันนิรันดร์ที่ชี้นำอย่างชัดแจ้งสำหรับโลกนี้ ดังที่กล่าวว่าیهدی الله بنوره ...”(อัลลอฮ์ทรงชี้นำโดยรัศมีของพระองค์)[12]
อีกคำอธิบายหนึ่งก็คือ การมีอยู่ของอัลลอฮ์เปรียบเสมือนรัศมีสาดส่องให้ชั้นฟ้าและผืนดินมีชีวิตชีวา เนื่องจากว่า หากพระองค์ทรงระงับความการุณย์ของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและจักรวาลจะดับสูญลงทันที
หรือหากจะอิงนิยามหนึ่งของแสงที่ว่า แสงคือสิ่งที่ชัดเจนด้วยตัวเอง และเผยให้เห็นสิ่งรอบข้าง ก็สามารถเปรียบได้กับคุณลักษณะของพระองค์ที่ทรงมีอยู่โดยพระองค์เอง และสร้างสากลจักรวาลให้มีอยู่[13]
ผลลัพท์ที่ได้จากการเปรียบเทียบระหว่างพลังงานกับพระเจ้าก็คือ ทั้งสองมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ทำให้ไม่อาจจะถือว่าพระเจ้าเป็นพลังงานเนื่องจากพลังงานยังมีข้อจำกัดหลายประการ ขณะที่อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสมบูรณ์แบบทั้งด้านปรีชาญาณ พลานุภาพ ฯลฯ แต่พลังงานไม่ว่าจะประเภทใดล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น และไม่อาจนำมาเปรียบกับพระองค์ได้เลย อย่างไรก็ดี หากพบการเทิดไท้พระองค์ในฐานะรัศมี ก็จำเป็นต้องได้รับการตีความดังที่ได้กล่าวไปแล้ว



[1] สารานุกรมนานาชาติ encyclopedia international,เล่ม 6,หน้า 432

[2] ดู: ฟิสิกข์ฮอลิดี,หน้า 148-163,การทำงานและพลังงาน

[3] พลังงานที่เกิดจากดวงอาทิตย์ได้มาจากปฏิกริยาหลอมรวมตัวระหว่างอะตอมไฮโดรเจน H ก่อให้เกิดโมเลกุลไฮโดรเจน H2

[4] ตามสูตร (มวล x พลังงาน) C* E=mC.

[5] ดังที่นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ฉบับฟัยฏ์ฯ,หน้า 14, และ อัลอัสฟ้าร,เล่ม 6,หน้า 139, อิมามอลีกล่าวว่า
من قرنه فقد ثناه و من ثناه جز ئه ومن جزئه فقد جهلهผู้ใดเทียบเคียงพระองค์กับสิ่งอื่น เท่ากับถือว่าพระองค์เป็นสอง และหากถือว่าพระองค์เป็นสอง เท่ากับถือว่าพระองค์มีองค์ประกอบ และหากถือว่าพระองค์มีองค์ประกอบ ก็ถือว่าเขาโง่เขลาแต่พลังงานมีทั้งองค์ประกอบและศักยภาพในการผสมผสาน ซึ่งขัดต่อคุณลักษณะของพระองค์โดยสิ้นเชิง ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัลกอวลุสสะดี้ด ฟี ชัรฮิ้ตตัจรี้ด,หน้า 274,เป็นต้นไป

[6] ซูเราะฮ์อิคลาศ, 2

[7] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 3,หน้า 230

[8] وکان الله بکل شیی محیطا ,อัลอัมบิยา,126

[9] ان لله علی کل شیی قدیر, อัตตะห์รีม,8

[10] " الله نور السماوات و الارض ..., นู้ร,35

[11] نوره تعالی من حیث یشرف منه نور العالم الذی یشیر به کل شیی و هو الرحمة العامه, ตัฟซี้รอัลมีซาน,เล่ม 15,หน้า 122.

[12] ตัฟซี้รนู้ร,เล่ม 8,หน้า 185 (ปรับเปลี่ยนเล็กน้อย)

[13] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ฉบับย่อ,เล่ม 3,หน้า 297. อธิบายโองการที่ ซูเราะฮ์ นู้ร.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    6378 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
    7171 เทววิทยาใหม่ 2554/10/22
    แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้ามีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    7026 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?
    10535 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/08
    รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8737 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    8390 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    20908 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8786 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    6071 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11318 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59798 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57153 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41949 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38845 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38652 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33787 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27747 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27602 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27420 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25467 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...