การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7451
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/24
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1473 รหัสสำเนา 19085
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
คำถาม
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท
.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้ แข็งแรงและเศาะฮี้ห์
 กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ อ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.
ฮะดีษที่ยกมานั้น หนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บ ของอิบนิ ชะฮ์รอชู้บ แต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจน จึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ
แต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์ เราสามารถชี้แจงความไม่เหมาะสมของเนื้อหาได้ดังนี้
1.  ต้องคำนึงว่าท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ล้วนมีฐานะภาพที่สูงส่งและปราศจากราคะมลทิน ดังที่กุรอานก็กล่าวยืนยันความบริสุทธิของท่านเหล่านี้ไว้ในโองการ"ตัฏฮี้ร"
2.
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีคุณลักษณะเด่นที่แตกต่างจากบุตรีท่านอื่นๆของนบี(..) เนื่องจากท่านหญิงถือกำเนิดจากเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นกับท่านนบี(..)
3.
สัมผัสที่เปี่ยมด้วยความรักและความเอื้ออาทรเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในครอบครัวทั่วไป ดังจะเห็นว่าลูกชายจะโอบกอดแม่ พ่อจะจุมพิตบุตรสาวหลังจากกลับมาจากการเดินทาง สัมผัสเหล่านี้ล้วนเกิดจากความความรู้สึกห่วงหา มิไช่กามารมณ์
4.
สันนิษฐานว่าอคติดังกล่าวเกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าท่านนบี(..)จุมพิตบริเวณที่กล่าวถึงโดยไม่มีอาภรณ์ปกปิด กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากปุถุชนคนทั่วไปก็รักษามารยาทและขอบเขตดังกล่าวตามปกติ การไม่ปกปิดบริเวณดังกล่าวย่อมเป็นเรื่องไม่เหมาะสมในแง่มารยาทขั้นพื้นฐานของครอบครัว เมื่อทราบดังนี้ ไฉนเราจึงจะมองปูชณียบุคคลอย่างอะฮ์ลุลบัยต์ในแง่ลบเช่นนั้น
สรุปก็คือ ในเมื่อสัมผัสอันเปี่ยมด้วยความรักและความเอ็นดูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกครัวเรือนตามปกติ ฉะนั้นหากท่านนบี(..)จะปฏิบัติกับบุตรีของตน (ตลอดจนกรณีอะฮ์ลุลบัยต์ท่านอื่นๆ) ก็มิไช่เรื่องแปลกประหลาด โดยเฉพาะเมื่อตระหนักว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ละซึ่งบาปกรรมทุกประการ

คำตอบเชิงรายละเอียด

โดยทั่วไป ฮะดีษจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือฮะดีษที่น่าเชื่อถือเนื่องจากมีสายรายงานชัดเจน ซึ่งจะใช้สำนวนเช่น เศาะฮี้ห์, แข็งแรง ...ฯลฯ ส่วนอีกประเภทคือฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยจะใช้สำนวนเช่น ฎ่ออี้ฟ (อ่อน), มัจฮู้ล (ไม่ทราบที่มา) ...ฯลฯ
ก่อนที่บรรดาอุละมาอ์จะนำฮะดีษใดมาศึกษา จะต้องวิเคราะห์สายรายงานเสียก่อน เพื่อที่จะทราบสถานะของผู้รายงานว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ หากพบว่าสายรายงานน่าเชื่อถือพอ ก็จะคัดเลือกและนำไปศึกษาเชิงเนื้อหา เพื่อใช้วินิจฉัยปัญหาศาสนาต่อไป แต่หากฮะดีษใดมีสายรายงานที่ไม่ต่อเนื่อง หรือมีสายรายงานที่อ่อนแอ ถือว่าฮะดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ และอุละมาอ์จะไม่นำมาใช้อ้างอิงใดๆทั้งสิ้น

ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือบิฮารุลอันว้าร ซึ่งรายงานจากหนังสือมะนากิ๊บ อาลิอบีฏอลิบ ประพันธ์โดยอิบนิ ชะฮ์รอชู้บ

ตัวบทฮะดีษมีดังนี้

 "انه کان النبی (ص) لاینام حتی یقبل عرض وجه فاطمة و یضع وجهه بین ثدیی فاطمة و یدعولها، و فی روایة: حتی یقبل عرض وجنة فاطمة او بین ثدییها"

"รายงานจากอิมามบากิร(.)และอิมามศอดิก(.)ว่า:  ท่านนบี(..)จะไม่นอนจนกว่าจะจุมพิตใบหน้าของฟาฏิมะฮ์(.)และแนบใบหน้าของท่าน  หว่างอกของเธอ จากนั้นจึงดุอาให้เธอ" อีกฮะดีษกล่าวว่า "...จนกว่าจะจุมพิตที่ใบหน้าหรือหว่างอกของเธอ" [1]
ท่านชะฮ์รอชู้บกล่าวไว้ในอารัมภบทของหนังสือมะนากิ๊บว่า "ฉันได้รวบรวมฮะดีษในหนังสือเล่มนี้จากมิตรสหายและจากพี่น้องซุนหนี่" เขาได้ระบุสายรายงานของตำราอ้างอิงต่างๆที่ใช้ในการประพันธ์หนังสือของตน ไม่ว่าจะเป็นตำราซุนหนี่หรือชีอะฮ์

แต่กรณีของฮะดีษนี้ เขาไม่ได้ระบุสายรายงานใดๆ แต่กลับรายงานในลักษณะ"มุรซั้ล"(ข้ามสายรายงาน) ฉะนั้น จึงไม่สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ดี สมมติว่าฮะดีษบทนี้เป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ ก็ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดต่อไปนี้ด้วย
1. ท่านนบี(..)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ล้วนมีสถานภาพอันสูงส่งโดยเฉพาะคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ จึงไม่ควรจะนำไปเปรียบเทียบกับตาสีตาสาทั่วไป กุรอานได้ยืนยันถึงความบริสุทธิผุดผ่องอันไร้เทียมทานของบุคคลเหล่านี้ไว้ในโองการ"ตัฏฮี้ร"ที่ว่า 

انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیراً

"แท้จริงพระองค์ทรงประสงค์ที่จะเปลื้องมลทินจากสูเจ้า โอ้ อะฮ์ลุลบัยต์ และชำระสูเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์" [2]
สำนวน "อินนะมา"ในภาษาอรับ จะใช้เพื่อจำกัดประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงแสดงว่ามหากรุณาธิคุณดังกล่าว(การชำระมลทิน)มีไว้เพื่อวงศ์วานนบี(..)เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ท่านเหล่านี้จึงสังวรตนเองกระทั่งพ้นจากบาปกรรมด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮ์และความยำเกรงที่ตนมี

คำว่า"ริจส์" หมายถึงมลทินทั้งปวง ไม่ว่าจะมลทินในแง่รสนิยมมนุษย์ สติปัญญา หรือบทบัญญัติศาสนาก็ตาม
คำว่า"ตัฏฮี้ร" หมายถึงการชำระให้สะอาด ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการขจัดมลทินนั่นเอง
ส่วนคำว่า"อะฮ์ลุลบัยต์" ตามทัศนะของอุละมาอ์และนักตัฟซี้รทั่วไปหมายถึงวงศ์วานของท่านนบี(..) ซึ่งตำราของทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ล้วนระบุว่าเป็นบุคคลห้าท่านดังต่อไปนี้ : ท่านนบี(..),ท่านอิมามอลี(.), ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.), ท่านอิมามฮะซัน(.) และท่านอิมามฮุเซน(.) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "ค็อมซะฮ์ ฏ็อยยิบะฮ์"(ห้าผู้บริสุทธิ์) และ "อัศฮาบุ้ลกิซาอ์"(ชาวผ้าคลุม)
อายะฮ์ตัฏฮี้รถือเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงสภาวะไร้บาปของท่านนบี(..)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เนื่องจากบาปทุกประเภทจัดอยู่ในประเภทของ"มลทิน"ทั้งสิ้น[3]

ในบทซิยารัตอันเลอค่าอย่าง"ญามิอะฮ์ กะบีเราะฮ์"ระบุว่า 

عصمکم الله من الزلل و آمنکم من الفتن و طهرکم من الدنس و اذهب عنکم الرجس و طهرکم تطهیراً

"อัลลอฮ์ทรงปกปักษ์พวกท่านให้พ้นจากความสั่นคลอนและฟิตนะฮ์ และทรงชำระพวกท่านให้สะอาดจากพฤติกรรมสกปรก และขจัดมลทินจากพวกท่านและชำระให้บริสุทธิ์[4]

2. ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีฐานะภาพที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาบุตรีของท่านนบี(..) ทั้งนี้ก็เนื่องจากเธอมีจุดเด่นทั้งในแง่ของการประสูติและการเลี้ยงดู
มีฮะดีษที่อิบนิ ชะฮ์รอชู้บบันทึกไว้โดยมีสายรายงานหลายสายด้วยกัน กล่าวว่า :
อบูอุบัยดะฮ์ ค็อดดา และท่านอื่นๆรายงานจากท่านอิมามศอดิก(.)ว่า ท่านนบี(..)มักจะจุมพิตฟาฏิมะฮ์เป็นประจำ ภรรยาของท่านบางคนท้วงติงพฤติกรรมดังกล่าวของท่าน ท่านนบี(..)ตอบว่า "เมื่อครั้งที่ฉันขึ้นเมี้ยะรอจ ญิบรออีลได้จูงมือฉันให้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และได้มอบอินทผลัมเม็ดหนึ่งให้ (บางรายงานระบุว่าเป็นผลแอปเปิ้ล) หลังจากที่ฉันรับประทาน มันก็กลายเป็นอสุจิที่อยู่ในไขสันหลังของฉัน เมื่อกลับสู่พื้นดิน ฉันได้ร่วมหลับนอนกับคอดีญะฮ์ นางได้ตั้งครรภ์ฟาฏิมะฮ์ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าฟาฏิมะฮ์คือนางสวรรค์ที่อยู่ท่ามกลางมนุษย์ปุถุชน และเมื่อใดที่ฉันหวลรำลึกถึงกลิ่นอายสรวงสวรรค์ ฉันก็จะหอมลูกสาวของฉัน"[5]

จะเห็นได้ว่าสัมพันธภาพระหว่างท่านนบี(..)และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)แน่นแฟ้นเพียงใด และนี่คือเหตุผลที่ท่านแสดงออกถึงความผูกพันได้เพียงนี้

3. สิ่งที่สัมผัสได้ในวิถีชีวิตของผู้ที่มีวุฒิภาวะทั่วไปก็คือ ความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว อันปราศจากกามารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับต้อง หรือแม้แต่การจุมพิต ตัวอย่างเช่นกรณีการจุมพิตแม่ น้องสาว หรือลูกสาวที่กลับมาจากพิธีฮัจย์หรือเยี่ยมเยียนกุโบร์ของนบี(..) และบรรดาอิมาม(.) แน่นอนว่าการจุมพิตเช่นนี้ย่อมมีจุดประสงค์เพื่อรับบะเราะกัตและผลบุญเท่านั้น
หรือกรณีที่บางคนมีลูกที่หน้าตาน่ารัก มีมารยาทงดงาม หากพ่อแม่จะหอมลูกคนนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าและรู้สึกผูกพันกับลูกคนนี้เป็นพิเศษก็มิไช่เรื่องแปลก เนื่องจากเป็นสัมพันธภาพฉันพ่อแม่ลูกที่พบเห็นได้ทั่วไปในครอบครัวต่างๆ โดยที่ไม่มีใครคิดจะตำหนิพ่อแม่ที่กระทำเช่นนี้กับลูกของตน

4. สันนิษฐานว่าอคติดังกล่าวเกิดจากการเข้าใจผิดคิดว่าท่านนบี(..)จุมพิตบริเวณหว่างอกโดยไม่มีอาภรณ์ปกปิด กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากปุถุชนคนทั่วไปก็มักจะรักษามารยาทและขอบเขตดังกล่าวตามปกติ การไม่ปกปิดบริเวณดังกล่าวย่อมเป็นเรื่องไม่เหมาะสมในแง่มารยาทขั้นพื้นฐานของครอบครัว เมื่อทราบดังนี้ ไฉนเราจึงจะมองปูชณียบุคคลอย่างอะฮ์ลุลบัยต์ในแง่ลบเช่นนั้น
ในเมื่อสัมผัสอันเปี่ยมด้วยความรักและเอ็นดูเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติในครอบครัว ฉะนั้นในกรณีของปูชณียบุคคลผู้ปราศจากบาปอย่างท่านนบี(..) และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ก็มิไช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี หากปูชณียบุคคลผู้ปราศจากบาปเหล่านี้จะมีวัตรปฏิบัติเช่นที่กล่าวมา นั่นก็เป็นเพราะท่านเหล่านั้นมีเหตุผลรองรับ ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลดังกล่าวสามารถชี้แจงฮะดีษที่มีเนื้อหาดังที่ถามมาได้อย่างแน่นอน



[1] อิบนิ ชะฮ์รอชู้บ,อัลมะนากิ๊บ,เล่ม 3,หน้า 334, และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 42

[2] อะห์ซาบ,33

[3] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 17,หน้า 292

[4] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,หน้า 902

[5] อัลมะนากิ๊บ,เล่ม 3,หน้า 334

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11600 بدبینی و بدگمانی 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7070 การบริหารแอโรบิค 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    10223 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6777 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6083 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ในเดือนใดมากที่สุด?
    6919 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้ 1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1] 2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา 3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี) หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้ หนึ่ง. يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ ...
  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5749 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
    8343 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/23
    กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจนโดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขปอาทิเช่นทำลายช่องทางการกู้ยืมเป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อนและเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลนเหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้นส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นเราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้อย่างไรก็ดีเรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้ ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่าอาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมหรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง ...
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    6671 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7022 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59030 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56458 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41354 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37886 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33204 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27308 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26926 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26806 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24894 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...