การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7280
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1959 รหัสสำเนา 14708
คำถามอย่างย่อ
คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
คำถาม
คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
อีกนัยหนึ่ง, ทุกถ้อยคำที่ออกมาจากปากของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ผู้จำเริญยิ่ง และสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ ทุกการกระทำที่ได้กระทำโดยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ), ทั้งหมดเป็นการอบรมสั่งสอนของพระเจ้า โดยเผยแผ่ผ่านขบวนการของวะฮฺยูแก่ท่าน, หรือว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้พูดเองซึ่งถ้อยคำเหล่านั้นนอกเหนือไปจากวะฮฺยูของพระเจ้า หรือว่าต้องแยกแยะและให้ความแตกต่าง ระหว่างถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและบทบัญญัติ กับถ้อยคำพูดประจำวันของท่านศาสดาอันเป็นคำพูดสามัญทั่วไป ?
คำตอบโดยสังเขป

มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกัน

บางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอาน บทนัจมฺ[i] ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อล ) ตลอดจนการกระทำต่างๆ ของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้น

บางคนเชื่อว่า โองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึง อัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆ ที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตาม ซึ่งคำพูด การกระทำ และการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอน

สิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือ สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อล ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอน ดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วย แม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวัน คำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ) ก็ตาม สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาด ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด



[i] อัลกุรอาน บทน้จมฺ โองการ 3-4 กล่าวว่า : "و ما ینطق عن الهوی ان هو الا وحی یوحی".

และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์ สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบรรดาศาสดา แห่งพระเจ้านั้นมีการติดต่ออันเฉพาะเจาะจงพิเศษกับอัลลอฮฺ (ซบ.) และจากการติดต่อนั้นเองท่านศาสดาจึงได้รับ,บทบัญญัติ, กฎเกณฑ์ต่างๆ และคำสอนของพระเจ้า เพื่อนำไปประกาศสอนแก่ประชาชน

แก่นแท้ความจริงของการติดต่อสัมพันธ์กันนี้เอง, เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนและเกินกำลังสามารถที่จะเข้าใจได้, แน่นอน สิ่งนี้มิได้หมายถึงความไม่รู้หรือความโง่เขลาของมนุษย์ที่มีต่อประเด็นดังกล่าว, อีกนัยหนึ่งปัญหาเรื่องวะฮฺยูมิใช่ประเด็นที่ว่ามนุษย์ไร้ความสามารถในการรู้จักรากที่มาหรือแก่นแท้ของวะฮฺยู, ดังนั้นต้องปล่อยสิ่งเหล่านี้ไปเสีย, ทว่าสามารถกล่าวได้ว่าด้วยอำนาจของสติปัญญาที่เปี่ยมด้วยศักยภาพนี้เอง, ทำให้มนุษย์มีความกระตือรือร้นที่ยากจะรับรู้ และเข้าใจถึงแก่นแท้ของวะฮฺยูหรือพระดำรัสของพระเจ้า

วะฮฺยู ความหมายในสารานุกรมหมายถึง : วิวรณ์อันเป็นแก่นและกฎเกณฑ์อันเป็นสื่อนำความรู้และนอกเหนือจากนั้น, คุณลักษณะพิเศษของวะฮฺยูคือ : การบ่งชี้ให้บันทึกโดยด่วนและเผยแผ่ บางครั้งก็ประกาศเป็นรหัสและความเร้นลับ, บางครั้งประกาศในฐานะเป็นเหตุผลประกอบที่ผสมผสาน, บางครั้งบ่งชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบและกาลเวลาของการดลใจและคำพูดที่ซ่อนเร้นปิดบัง. ด้วยเหตุนี้ ,การซ่อนเร้น, การรีบเร่งและเป็นรหัสยะถือเป็นองค์ประกอบหลักของวะฮฺยู[1]

สารัตถะของวะฮฺยู : โดยปกติวะฮฺยูมาจากความรู้และการรับรู้, มิได้มาจากสนับสนุนและการกระทำ, แม้ว่ามนุษย์ขณะกระทำการใดจะได้รับความช่วยเหลือจากความคิดและสติปัญญาก็ตาม,ซึ่งความรู้และสติปัญญามีลักษณะอันเฉพาะที่ปราศจากองค์รูป

อีกนัยหนึ่ง, คำว่าวะฮฺยูเป็นความเข้าใจหนึ่งที่ได้รับมาจากการมีอยู่ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีองค์รูป จึงไม่สามารถตีความวะฮฺยูว่าเป็น ประเภท ชนิด มีรูปลักษณ์และอื่นๆ ได้ ดังนั้น วะฮฺยูบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด และอยู่ภายใต้ความเข้าใจของนามธรรม ความเข้าใจเกี่ยวกับ วะฮฺยู เหมือนกับความหมายของ พระเจ้า ซึ่งเป็นนามธรรม และนามธรรมนั้นมีระดับชั้นต่างๆ ทีแตกต่างกันออกไป[2]

ด้วยเหตุนี้ คำจำกัดความที่ได้กล่าวถึงวะฮฺยู, เป็นคำจำกัดความที่อธิบายนาม มิใช่สารัตถะของวะฮฺยู. นอกจากนั้นแล้ววะฮฺยู ยังมิใช่ความสัมพันธ์ติดต่อกันแบบธรรมดา, เพื่อว่าความเข้าใจจะมีความเป็นไปได้สำหรับทุกคน

คำจำกัดความวะฮฺยู

ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวถึงวะฮฺยูว่า : วะฮฺยูคือความรู้สึกและความเข้าใจพิเศษจากด้านในของท่านบรรดาศาสดา (.) แน่นอนว่าความเข้าใจและการรับรู้ถึงสิ่งนั้น นอกจากบุคคลที่ได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้าแล้ว ไม่มีใครสามารถรับรู้ได้[3]

ในอีกที่หนึ่งท่านอัลลามะฮฺกล่าวว่า : วะฮียฺ หมายถึงพระบัญชาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ เป็นการรับรู้ด้วยญาณด้านใน, เป็นความรู้สึกและความเข้าใจอันเป็นรหัสยซึ่งถูกปกปิดจากภายนอก[4]

คำตอบสำหรับคำถามที่กล่าวอธิบายข้างต้น :

นักวิชาการอิสลามอาศัยรายงานและโองการต่างๆ ได้นำเสนอทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้ :

อับดุร เราะซาก ลอฮิญียฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งคิดว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้ปฏิบัติภารกิจหนึ่ง, ด้วยอารมณ์ตนเองโดยไม่ได้รอวะฮียฺจากพระเจ้า, ทุกนิกายถ้าบั้นปลายสุดท้ายไม่อาจเข้าถึงสภาวะการเป็นนบี และยังโง่เขลากับแก่นแท้ของการเป็นนบีอยู่ ดังนั้น บุคคลเช่นนี้ในแง่ของสติปัญญาถือว่าสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปกป้องรักษาศาสนาต่อไปได้ รูปลักษณ์นี้ขัดแย้งกับอัลกุรอาน (“และเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์[5] สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมา[6]) โดยสิ้นเชิง แน่นอน การจะละเว้นบางสิ่งด้วยภารกิจบางอย่าง ที่สุดแล้วก็จะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น, ภารกิจทั้งหลายเกี่ยวข้องกับศาสนา ทุกความต้องการได้วอนขออนุญาตจากอัลลอฮฺและรอวะฮียฺของพระองค์, ในทางกลับกันถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อล ) มิทำสิ่งใดตามอารมณ์ของตน แล้วคนอื่นจะกล้าแปลกแยกไปได้อย่างไร[7]

กระจกสิ้นสุดของคำทำนายและผู้เผยพระวจนะและคนที่จะไม่รู้ในภูมิปัญญาของการรักษาศาสนาออกคำสั่งของมัน Aqrb

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวไว้เช่นนี้ว่า : คำกล่าวของอัลกุรอานที่ว่า "ان هو الا وحی یوحی"สิ่งที่เขาพูดไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย์ที่ถูกประทานลงมามิใช่เฉพาะเรื่องอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว, ทว่ามีสมมาตรจากโองการที่แล้วครอบคลุมแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ) ด้วย ซึ่งมิใช่เพียงคำพูดของท่านศาสดาเท่านั้น ทว่าได้ครอบคลุมการกระทำและความประพฤติของท่านศาสดาด้วยว่า สิ่งเหล่านั้นดำเนินไปตามวะฮียฺของพระเจ้า, เนื่องจากโองการที่ 3 และ 4 บทอันนัจมุ, ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า, ท่านศาสดาจะไม่พูดสิ่งใดด้วยอารมณ์, ทุกสิ่งที่ท่านพูดคือวะฮฺยู[8]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ อธิบายโองการและเขาไม่ได้พูดตามอารมณ์[9] ว่า : คำว่ายันติกุนั้นสมบูรณ์ซึ่งความสมบูรณ์นี้เองเป็นตัวกำหนดว่า อารมณ์ ได้ถูกปฏิเสธไปจากคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ) โดยสิ้นเชิง, แต่เนื่องจากโองการได้กล่าวว่าซอฮิบิกุม[10] ซึ่งได้กล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา[11] และเนื่องจากสมมาตรในตำแหน่งจึงต้องกล่าวว่า วัถตุประสงค์ของการที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้เชิญชวนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไปสู่ และสิ่งที่ท่านได้อ่านจากอัลกุรอานนั้น ถ้อยคำของท่านไม่มาจากอารมณ์ ทว่าทุกสิ่งที่ท่านศาสดาได้กล่าวในเรื่องนั้นล้วนเป็น วะฮียฺของพระเจ้าทั้งสิ้น ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ท่าน[12]

หมายถึงว่า โองการข้างต้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การเป็นวะฮียฺทุกถ้อยคำศาสนา[13] ของท่านเราะซูลในประเด็นชี้นำทาง โลกทัศน์ของพระเจ้า และการให้คำแนะนำสั่งสอน, มิได้เป็นการพิสูจน์ทุกถ้อยคำที่เป็นรายละเอียดของชีวิตประจำบนโลกนี้[14]

แน่นอน ความเป็นไปได้อย่างเช่นที่ว่า ถ้อยคำสามัญทั่วไปทั้งคำสั่งห้าม และคำสั่งใช้ของท่านศาสดาเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว และครอบครัว, เช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวบางสิ่งแก่ภรรยาของท่าน, ว่าเธอจงไปน้ำมาให้ฉัน 1 แก้ว และ ...อาจเป็นการสั่งด้วยอารมณ์[15] แม้จะเป็นคำพูดลักษณะนี้กระนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ) ก็ยังไม่มีความผิดพลาดในคำพูดของท่าน เนื่องจากท่านเป็นผู้นำผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิดพลาดทั้งปวง[16]ด้วยเหตุนี้ จากคำพูดและการกระทำ[17] ของท่านศาสดาในประเรื่องต่างๆ เหล่านี้, เข้าใจได้ว่าต้องได้รับอนุญาตและไม่ขัดแย้งกับความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ, เนื่องจากถ้าการกระทำเหล่านั้นมีปัญหาแม้เพียงเล็กน้อย ท่านศาสดาจะไม่กระทำมันอย่างแน่นอน

คำแนะนำเพื่อศึกษาเพิ่มเติม : ศึกษาได้จากหนังสือ การใคร่ครวญในวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺ, เล่มแรก,หมวดที่หนึ่ง, มะบาดี ซุดูรซุนนะฮฺ, เกี่ยวข้องกับการเป็นมะอฺซูม, หน้า 34-67, ศาสดาจารย์มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานี



[1]  รอฆิบ เอซฟาฮานี, มุฟรอดาตอัลฟาซกุรอาน, หมวดคำว่า วะฮฺยู

[2]  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมศึกษาได้จาก, หนังสือต่างๆ วะฮฺยูและนะบูวัตในอัลกุรอาน, ญะวาดี ออมูลี, มะบอนียฺ กะลามี อิจติฮาด ดัร บัรดอช อัซ กุรอานกะรีม, ฮาดะวี เตหะรานี, หน้า 77-78

[3]  เฎาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัดฮุซัยนฺ, อัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซี), เล่ม 2, หน้า 159.

[4]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 160,เช่นเดียวกันเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาได้จารย์ศาสดาจารย์ ฮาดะวียฺ เตหะรานี มะบอนียฺ กะลามี อิจติฮาด, หน้า 76-78, โคสโรพะนอ, อับดุลฮุเซน, กะลัมโรดีน, หน้า 117-130, และหัวข้อ, วะฮียฺและกัยฟียัตออน, คำถามที่ 88

[5] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 3

[6] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 4

[7]  ฟัยยอซ ลาฮีญียฺ,อับดุรเราะซาก, กูฮัร มะรอด, หน้า 416

[8]  ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 481.

[9] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 3-4

[10] อัลกุรอาน บทอันนุจมุ โองการ 2

[11]บรรดาผู้ตั้งภาคีต่างคิดว่าการเชิญชวนของท่านศาสดาและอัลกุรอานที่มีมายังพวกเขาเป็นเพียงการมุสาเท่านั้น

[12]  เฎาะบาเฏาะบาอี, มุฮัมมัดฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซีย์), เล่ม 19,หน้า 42, ฮุซัยนี เตหะรานี, ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, เมฮฺร์ตอบอน, หน้า 212-213

[13] หนึ่งในองค์ประกอบของศาสนา,หมายถึงองค์ประกอบซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อความผาสุกแท้จริงของมนุษย์

[14] ญะวาดี ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ตัฟซีรเมาฎูอาตกุรอาน, ซีเราะฮฺเราะซูล (ซ็อล ) ในอัลกุรอาน,เล่ม 8, หน้า 32

[15]  ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ สูงส่งกว่าคำพูดสามัญทั่วไป ซึ่งบางคนกล่าวว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่า,การมีอยู่ของท่านศาสดา (ซ็อล ) นอกเหนือไปจากความพิเศษด้านริซาละฮฺ และการประทานอัลกุรอานแก่ท่านแล้ว ตัวท่านยังเป็นอริยบุคคล เป็นบุคคลที่มีความประเสริฐและวิเศษในยุคสมัยของท่าน, ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) มีคำพูดอยู่ 2 ลักษณะ กล่าวคือ :

) ถ้อยคำที่เป็นวะฮียฺของพระเจ้า เช่น โองการอัลกุรอาน และฮะดีซกุดซียฺเป็นต้น

) ถ้อยคำที่เปี่ยมไปด้วยวิทยปัญญา ซึ่งถูกถ่อยทอดออกมาจากท่านศาสดาผู้เปี่ยมด้วยวิทยปัญญา และภูมิปัญญาอันดีเลิศ

[16]  แม้ว่าจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นคำสอนศาสนา แต่ทั้งสองคำพูดมีความสัมพันธ์ และเป็นความจำเป็นของกันและกัน, หมายถึงกล่าวได้ว่าความเป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม จะไม่มีวันเลอะเลือน, หรือผิดพลาด, หรือหลงลืม, และพลั้งเผลอเด็ดขาด, ไม่ว่าถ้อยคำหรือความประพฤติดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับหลักการศาสนา หรือสิ่งที่พูดหรือกระทำจะไม่เกี่ยวข้องกับหลักการศาสนาก็ตาม. ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากมะอฺซูมได้อธิบายถึงสิ่งหนึ่ง แต่ไม่มีองค์เกี่ยวข้องกับศาสนาเลย เช่น ท่านได้กล่าวในแง่วิชาการหนึ่ง แน่นอนคำพูดของท่านนั้นถูกต้องและตรงตามความจริง ดังเช่น ท่านได้อธิบายปัญหาศาสนาจะไม่มีความผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้น. การใคร่ครวญในวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺ, เล่มแรก,หมวดที่หนึ่ง, มะบาดี ซุดูรซุนนะฮฺ, เกี่ยวข้องกับการเป็นมะอฺซูม, หน้า 35

[17] จากโองการที่กล่าวว่เขาไม่พูดสิ่งใดด้วยอารมณ์เข้าใจได้ว่าถ้อยคำ การกระทำ และอัตชีวของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งนอกเหนือจากคำพูดแล้ว ท่านศาสดาจะไม่กระทำสิ่งใดโดยปราศจากการอนุญาตของวะฮฺยู แต่ถ้าสมมุติว่าเราไม่สามารถถอดความจากอัลกุรอานโองการนี้ได้ ก็ยังมีโองการอื่นอีก เช่น โองการที่ 50 บทอัลอันอาม และโองการบทอื่นๆ ก็ได้ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้, อายะตุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ตัฟซีรเมาฎูอี กุรอาน, ซีเราะฮฺเราะซูลในอัลกุรอาน,เล่ม 8, หน้า 33

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5333 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7250 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6129 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7106 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6334 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    13699 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5924 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7279 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    17835 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...