การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7994
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2208 รหัสสำเนา 12550
คำถามอย่างย่อ
ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
คำถาม
ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
คำตอบโดยสังเขป

 คำว่าอิบาดะฮฺ นักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึง ขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่า ดังนั้น จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง เว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ ความสมบูรณ์ และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมา ฉะนั้น การแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้ว ถือเป็นชิริกทั้งสิ้น เนื่องจากไม่มีความบริสุทธิ์ใจอยู่ในการอิบาดะฮฺนั้น

คำว่าปวงบ่าวอาจกล่าวสรุปได้ใน 3 ประการดังนี้

ประการที่ 1 สิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแก่ปวงบ่าวไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ตนต้องไม่แสดงความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง พึงรู้ไว้เถิดว่าปวงบ่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของพระเจ้า และจงนำเอาสิ่งนั้นไปวางไว้ในที่ๆ พระองค์ทรงบัญชาไว้

ประการที่ 2 ปวงบ่าวไม่มีสิทธิที่จะคิดสิ่งใดเพื่อตนหรือเพื่อความเหมาะสมสำหรับตน และบริหารสิ่งนั้นเพียงลำพังฝ่ายเดียว

ประการที่ 3 ภาระหน้าที่ทั้งหมดของปวงบ่าวจำกัดอยู่ที่ พระบัญชาของพระเจ้าที่ทรงกำหนดใช้ หรือกำหนดห้ามแก่เขา จากคำอธิบายดังกล่าวนี้จะทำให้เห็นภาพของการเป็นปวงบ่าวที่แท้จริงชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังได้เห็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความเป็นบ่าวชัดเจนขึ้นด้วยเช่นกัน คำว่าบ่าวคือกุญแจแห่งวิลายะฮฺ ส่วนชื่อของบ่าวถือเป็นชื่อที่ดีที่สุดในกระบวนชื่อทั้งหลาย มนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์คือ บ่าวของอัลลอฮฺ เขาสูญสลาย  เบื้องพระพักตร์ของพระองค์และปราชัยต่อพระอันไพจิตรของพระองค์ 

ดังนั้น ปวงบ่าวของพระเจ้าคือบุคคลที่แสดงความเคารพภักดีและเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์ เขามีความสุขใจเมื่อได้รักพระเจ้า เขาได้นำเอาความต้องการของพระองค์ไปเสนอต่อพระเจ้า และกล่าวกับพระองค์ว่า ข้าพระองค์เชื่อมั่นและไว้วางใจในพระองค์

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า อิบาดะฮฺ ตามหลักภาษาหมายถึง ที่สุดของการมีสมาธิและความต่ำต้อย เนื่องจากอิบาดะฮฺคือขั้นสูงสุดของการมีสมาธิ ดังนั้น ไม่มีความเหมาะสมแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าบุคคลหนึ่งมีฐานันดรสูงส่ง มีความสมบูรณ์ มีความยิ่งใหญ่ มีความโปรดปรานอนันต์ และมีความดีสูงสุด ดังนั้น การแสดงความเคารพภักดีสิ่งอื่นที่นอกเหนือไปจากพระองค์ จึงถือเป็นชิริก[1]

อิบาดะฮฺ แบ่งออกเป็น 3 ระดับกล่าวคือ บางคนได้แสดงความเคารพภักดีโดยมีหวังว่า จะได้รับผลบุญในวันแห่งการฟื้นคืนชีพเป็นการตอบแทน หรือมีความหวาดกลัวต่อการลงโทษในวันแห่งปรโลก[2] ซึ่งเป็นอิบาดะฮฺของผู้ศรัทธาโดยทั่วไป บางคนได้อิบาดะฮฺอัลลอฮฺ เนื่องจากพระองค์คู่ควรแก่การแสดงความเคารพภักดี ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงถือว่าพวกเขาเป็นบ่าวของพระองค์ บางคนได้อิบาดะฮฺอัลลอฮฺ เนื่องจากความสูงส่งและความรักที่มีต่อพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นอิบาดะฮฺขั้นสูงส่งที่สุด[3]

ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า คำว่า อับด์ ประกอบด้วยอักษร 3 ตัว กล่าวคือ อัยน์ บาอ์ และดาล อักษร อัยน์ หมายถึงความรู้และความเชื่อมั่นของปวงบ่าวเมื่อสัมพันธ์ไปยังพระเจ้า อักษร บาอ์ บ่งชี้ให้เห็นถึงความห่างไกล หรือการแยกออกจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ ส่วนอักษร ดาล บ่งชี้ให้เห็นถึงความใกล้ชิดของปวงบ่าวไปยังพระเจ้าของเขา โดยปราศจากม่านปิดบังและสิ่งกีดขวางใดๆ ทั้งสิ้น[4]

คำว่า อับด์ ในแง่ของการมีอยู่และความสมบูรณ์ทั้งหมดถือว่าเป็นหนี้บุญคุณ ผู้เป็นเจ้านาย ด้วยเหตุนี้ การยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์จึงหมายถึง การไม่ให้ความสำคัญต่อตัวเอง และอำนาจฝ่ายต่ำ เขาได้ย้อมสีตัวเองด้วยสีสันแห่งความสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) กล่าวว่า ปวงบ่าวที่แท้จริงของพระเจ้าหมายถึงบุคคลที่มีความสุขต่อการได้ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ มีความปลื้มปิติที่ได้รักพระองค์ และได้นำเสนอความต้องการของตนต่อพระองค์ พร้อมกับกล่าวกับพระองค์ว่า ข้าพระองค์มีความเชื่อมั่นในพระองค์และมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์[5] 

ความเป็นบ่าวคืออะไร?

ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (.) กล่าวว่า แก่นแท้ของการแสดงความเคารพภักดีหรือการแสดงความเป็นบ่าวนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ ประการแรก : ปวงบ่าวจะไม่คิดว่าทุกสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานให้มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน หรือเป็นของตนเท่านั้น เนื่องจากปวงบ่าวมิได้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของสิ่งใดทั้งสิ้น ทรัพย์สินที่ตนมีเป็นกรรมสิทิ์ของอัลลอฮฺ ดังนั้น จงมอบไว้ในสถานที่ๆ มีความเหมาะสมเถิด ประการที่สอง : ปวงบ่าวจะไม่คิดแยกตัวอิสระและบริบาลทุกสิ่งตามความเหมาะสมของตัวเอง ประการที่สาม : ภาระหน้าที่ของเขาขึ้นอยู่กับคำสั่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้มา ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งใช้หรือคำสั่งห้ามก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากบ่าวคนหนึ่งไม่มองว่าสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้มาเป็นของเขา เขาก็จะจำหน่ายจ่ายแจกมันออกไปอย่างง่ายดายแก่สังคม และผู้มีความเดือดร้อน บ่าวของพระองค์จะครั้นเมื่อเขาบริหารภารกิจการงาน เขาก็จะมอบหมายความไว้วางใจแก่พระองค์ ครั้นเมื่อความทุกข์ยากและอุปสรรคปัญหาได้พานพบแก่เขาทุกอย่างก็จะแก้ไขได้อย่างง่ายดาย ครั้นเมื่อพระองค์ได้มีคำสั่งใช้หรือคำสั่งห้ามแก่เขา เขาก็จะปฏิบัติด้วยความเคร่งครัดและมีความมั่นคง โดยที่เขาจะไม่ปล่อยเวลาให้สูญเสียไป

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้เกียรติปวงบ่าวของพระองค์ใน 3 สิ่งด้วยกัน กล่าวคือ ขณะมีชีวิตบนโลกนี้เขาไม่ตกเป็นทาสของซาตานมารร้ายและดำรงชีวิตด้วยความเรียบง่าย เขาไม่คิดที่จะใฝ่หาบารมี เกียรติยศ และความยิ่งใหญ่กับประชาชนโดยที่เขาจะไม่คิดแย่งชิงทรัพย์สินในมือของประชาชนมาเป็นของตน พวกเขาจะไม่เรียกร้องเกียรติยศหรือตำแหน่งให้แก่ตัวเอง และเขาจะไม่ปล่อยตัวเองให้หลงระเริงไปกับความไร้สาระในแต่ละวัน[6]

การแสดงความเคารพภักดีคือกุญแจแห่งวิลายะฮฺ[7] นามว่าบ่าวคือนามที่ดีที่สุดในบรรดานามทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดา (ซ็อล ) จึงเป็น อับดุลลอฮฺ ในค่ำคืนของการขึ้นมิอ์รอจญ์ท่านได้วอนขอความเป็นบ่าวจากอัลลอฮฺว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดเพิ่มพูนแก่ข้าพระองค์ ซึ่งความเป็นบ่าว  พระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน

อบูบะซีร เล่าว่า ท่านอิมามบากิร (.) กล่าวว่า ท่านอิมามอะลี (.) ได้กล่าวไว้ในดุอาอ์บทหนึ่งว่า โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ความยิ่งใหญ่เท่านี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับข้าฯ การที่ข้าฯได้เป็นบ่าวของพระองค์ เกียรติยศเท่านี้สำหรับข้าฯ ก็เพียงพอแล้วเนื่องจากการที่พระองค์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของข้าฯ โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดังที่ข้าพระองค์ได้รักพระองค์ เนื่องจากข้าฯมาจากพระองค์ ฉะนั้น โปรดทำให้ข้าฯประสบความสำเร็จในสิ่งที่พระองค์ทรงรักด้วยเถิด[8]

มนุษย์ผู้สมบูรณ์คือ บ่าวของอัลลอฮฺ ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบคลุมด้วยพระนามอันไพจิตรของพระองค์ สูญสลาย  เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ และปราชัยต่อพระนามของพระองค์ ช่างเป็นความสวยงามเสียนี่กระไร ดังคำพูดของคอญิอ์ อับดุลลอฮฺ อันซอรีย์ที่กล่าวว่า โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เพียงพอแล้วสำหรับข้าพระองค์ การที่พระองค์กล่าวเรียกข้าฯว่า โอ้ บ่าวของข้า

ฮะดีซ กุดซีย์ บทหนึ่ง โอ้ ปวงบ่าวของข้า จงเคารพภักดีข้าเถิด เพื่อว่าเจ้าจะได้เหมือน หรือคล้ายคลึงเยี่ยงข้า เพราะเมื่อข้าประกาศิตว่าจงเป็น สิ่งนั้นก็จะเป็น เมื่อเจ้าบอกกับสิ่งหนึ่งว่าจงเป็น สิ่งนั้นก็จะเป็น[9] ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามซอดิก (.) ความเป็นบ่าวหรือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าถือว่าเป็นหนึ่งในธาตุแห่งความจริง ซึ่งภายในและแก่นแท้ของมันคือพระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร[10]

เนื่องจากการแสดงความเคารพภักดีนั่นเอง จิตใจของมนุษย์จึงมีความสงบมั่น มีศักยภาพในการเปล่งรัศมีอันเรืองรองแก่โลก และยิ่งมีความสะอาดบริสุทธิ์มากเท่าใดความสงบก็จะมีมากขึ้น การเปล่งรัศมีของเขาก็จะทวีคูณขึ้นไป ภาพลักษณ์ของพระเจ้าในตัวเขาก็จะฉายส่องและปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งว่าตำแหน่งคิลาฟะฮฺโดยศักยภาพและโดยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาจากศักยภาพ การปรากฏเป็นภาวะจริง เคาะลีฟะตุลลอฮฺ มีอยู่ทุกที่ทั่วไปบนโลกนี้ อันเป็นเกียรติยศและเป็นภาพที่แท้จริงของชีวิต และสิ่งที่จำเป็นต้องรู้คือ สิ่งนี้มิใช่ความคู่ควรในการแสดงความเคารพภักดี ทว่าเป็นเพียงคิลาฟะฮฺและตัวแทนของพระองค์ ซึ่งเป็นผลอันแท้จริงของความคู่ควรที่ได้ปรากฏออกมา สิ่งจำเป็นต้องกล่าวต่อไป เคาะลีฟะตุลลอฮฺ จะไม่ปฏิบัติภารกิจของอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺจะปฏิบัติภารกิจของพระองค์โดยผ่านมือของพวกเขา จิตวิญญาณของพวกเขาจะเป็นที่เผยโฉมพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ฉะนั้น บุคคลเหล่านี้จึงอยู่ในฐานะของ อาริฟบิลลาฮฺ เป็นกระจกที่ฉายส่องความสูงส่งและความสวยงามทั้งหมดของพระเจ้า ผู้ทรงเป็นอมตะนิรันดรตลอดไป ส่วนปาฏิหาริย์ทุกขั้นตอนของบรรดาศาสดา และกะรอมาตของบรรดาอิมามัต และหมู่มวลมิตรของพระเจ้า ตามความเป็นจริงแล้ว อัลลอฮฺต่างหากที่เป็นผู้กระทำสิ่งนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองแท้จริง บทบาทของตัวแทนของพระเจ้าได้สูญสลายไปแล้ว ซึ่งสิ่งนี้ตามความเป็นจริงแล้วคือตำแหน่งของ อุบูดียะฮฺ นั่นเอง อันเป็นตำแหน่งซึ่งจะคืนกลับมาด้วยการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร[11] บรรดาผู้ขัดเกลาตนเองถ้าหากเปรียบถึงตำแหน่งนี้เขาคือ พระนามแห่งอัลลอฮฺ เครื่องหมายแห่งอัลลอฮฺ และสูญสิ้นเพื่ออัลลอฮฺ และมองสรรพสิ่งอื่นเป็นเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้าเป็นวะลีสมบูรณ์ และเกิดเป็นพระนามอันแท้จริง อีกทั้งสำหรับเขาแล้วสิ่งนั้นเป็นการอิบาดะฮฺสมบูรณ์ ฉะนั้น ตามความเป็นจริงแล้วเขาคือ อับดุลลอฮฺ (บ่าวที่แท้จริงของอัลลอฮฺ) จึงสามารถเรียกเขาว่าเป็นบ่าว (อับด์) อย่างแท้จริงได้ตามที่โองการได้กล่าวเรียกไว้ว่ามหาบริสุทธิ์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน[12] และเพื่อที่ว่าการเดินทางสู่เบื้องบน  เส้นขอบฟ้าสูงสุดยังตำแหน่งแห่งการรู้จัก พร้อมทั้งได้ก้าวไปสู่การอิบาดะฮฺขั้นสูงสุด มีอิสรภาพ ได้ยืนยันในสารของตน ได้ปฏิญาณหลังจากยืนยันในความเป็นบ่าวของตน เนื่องจากการแสดงความเป็นบ่าวนั้นคือสิ่งสำคัญสำหรับการประกาศสาส์น ดังนั้น เราจะเห็นว่านมาซคือสะพานสำหรับมวลผู้ศรัทธา ซึ่งแน่นอนว่าจุดเริ่มต้นแห่งประกายแสงของสะพานนั้น คือ นบูวัต หลังจากม่านแห่งความมืดมิดได้ถูกเปิดออกเราก็จะได้พบกับ มิสมิลลาฮฺ ซึ่งถือว่าเป็นแก่นของการอิบาดะฮฺ ดังนั้น มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่ผู้ที่ได้ให้ท่านศาสดาได้เดินผ่านโดยมีสะพานแห่งการเคารพภักดีเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก และนำเขาไปสู่ก้าวแห่งความเป็นบ่าวที่แท้จริง ซึ่งเขาได้สละทิ้งทุกอย่างอันหน้าสมเพศไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง คำสรรเสริญเยินยอ ประเทศชาติ อำนาจและบารมีต่างๆ ไว้เบื้องหลัง ซึ่งทำให้บรรดาปวงบ่าวที่อยู่เบื้องหลังได้รับแสงสว่างจากแสงนั้นด้วย[13]

บทบาทของเจตนารมณ์ (เนียต) ความบริสุทธิ์ใจในอิบาดะฮฺ

ความตั้งใจหรือเนียตตามหลักทั่วๆ ไปหมายถึง การตัดสินใจเพื่อเชื่อฟังปฏิบัติตามอย่างแน่นอน หรืออาจหมายถึง ความหวาดกลัว หรือความปรารถนาก็ได้[14] ส่วนในทัศนะของนักเดินจิตด้านใน เนียต หมายถึงการตัดสินใจเชื่อฟังปฏิบัติตามในความยิ่งใหญ่ ดังที่กล่าวว่าดังนั้นสูเจ้าจงอิบาดะฮฺ ประหนึ่งว่าสูเจ้ามองเห็นพระองค์ และแม้ว่าสูเจ้ามองไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นสูเจ้าส่วนเนียตในทัศนะของผู้มีความรักในพระองค์หมายถึง การตัดสินใจเพื่อการภักดีต่อพระองค์ ส่วน เนียต ในทัศนะของหมู่มวลมิตรหมายถึง การตัดสินใจเชื้อฟังปฏิบัติตาม อัลลอฮฺ (ซบ.) แต่เพียงผู้เดียว

ความบริสุทธิ์ใจในอิบาดะฮฺทั่วไปหมายถึง การทำให้บริสุทธิ์จากการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า ผู้ทรงสูงส่งทั้งภาคีใหญ่ หรือภาคีเล็กก็ตาม เช่น การโอ้อวด อคติ และความกระหยิ่มยิ้มย่องพึงทราบเถิด การอิบาดะฮฺโดยบริสุทธิ์ใจนั้นเป็นของอัลลอฮฺองค์เดียว[15] ส่วนการอิบาดะฮฺของกลุ่มชนเฉพาะคือ การขจัดให้บริสุทธิ์จากความต้องการ ความยากได้ และความกลัว ซึ่งในทัศนะของพวกเขา สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นชิริก ส่วนอิบาดะฮฺ ของเหล่าบรรดาผู้ขัดเกลาตนเองหมายถึง การขจัดให้สะอาดจากเจตนารมณ์ไม่ดีทั้งหลาย ซึ่งในทัศนะของผู้ขัดเกลาตนเอง การตั้งภาคีถือว่ายิ่งใหญ่ ส่วนการปฏิเสธศรัทธานั้นยิ่งใหญ่กว่า กล่าวว่า มารดาแห่งเทวรูปคือจิตวิญญาณของเจ้า สิ่งที่มายากรได้แสดงคือ งูเทียมที่เกิดจากเส้นเชือก

ส่วนอิบาดะฮฺ ที่เป็นตัวเสริมให้สมบูรณ์คือ อิบาดะฮฺที่พาจิตใจให้พบทางสว่างสามารถสัมผัสพระเจ้าได้ด้วยพลังศรัทธา ท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.) กล่าวว่า จิตที่คารวะและยอมจำนนหมายถึงจิตที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺเพืยงพระองค์ ไม่มีสิ่งอื่นใดซ่อนอยู่ในใจของเขาอีก[16]

 



[1]  อิมามโคมัยนี้ อัสรอรุซเซาะลาฮฺ การโบยบินในโลกเร้นลับ เล่ม 2 หน้า 190

[2]  นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ฮิกมะฮฺที่ 237, อุซูลกาฟีย์ เล่ม 2 หน้า 84 ฮะดีซที่ 5

[3] ดามอดดีย ซัยยิดมุฮัมมัด ชัรฮฺมะกอลอดอัรบะอีน หน้า 125

[4]  มิซบาฮุชชะรีอะฮฺ บาบที่ 100

[5]  เชคบะฮาอีย์ มุฮัมมัด อัรบะอีน

[6]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 1 หน้า 224 ฮะดีซที่ 17

[7]  อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอีย์ มุฮัมมั ฮุซัยนฺ ตัฟซีรมีซาน เล่ม 1 หน้า 277

[8]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 74 หน้า 402 อัลฮุกมุลซอฮิเราะฮฺ แปลโดย อันซอรียื หน้า 488 ฮะดี

ที่ 1352

[9]  ชีรอซีย์ ซัยยิดฮุซัยนฺ กิลิมะตุลลอฮฺ หน้า 140 ลำดับที่ 154

[10]  มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 6 รายงานลำดับที่ 11317

[11] ฮุซัยนี เตหะรานี ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน์ อันวารุลมะละกูต เล่ม 1 หน้า 288

[12] อัลกุรอาน บทอัลอิสรอ โองการที่ 1

[13]  อิมามโคมัยนี ซีรุรเซาะลาฮฺ หน้า 89

[14] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ 16

[15] อัลกุรอาน บทซุมัร โองการที่ 3

[16] อิมามโคมัยนี ซีรุรเซาะลาฮฺ หน้า 75

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    7410 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9855 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5723 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28323 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    19148 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    7233 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    15657 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10885 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10972 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
    13031 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/31
    เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใดศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกันเหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดแน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตรเพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะและแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60551 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58141 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40055 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39293 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34410 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28473 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28323 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26247 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...