การค้นหาขั้นสูง

วรรคหนึ่งของฮะดีษเฆาะดี้รมีอยู่ว่า “...ญิบรออีลลงมาแจ้งแก่ท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อัลลอฮ์ทรงสลามท่าน และทรงตรัสว่า “วาระสุดท้ายของอายุขัยและสถานะศาสนทูตของเจ้าใกล้จะมาถึงแล้ว จงทราบเถิดว่าข้าจะเรียกคืนชีวิตเจ้าโดยปราศจากการบิดพริ้ว ฉะนั้นจงทำสัญญาและสั่งเสียเถิด และจงส่งมอบวิทยปัญญาของเจ้าและศาสนทูตก่อนหน้าเจ้า และศาสตราวุธ และตาบู้ต และสัญลักษณ์แห่งภารกิจของเจ้าให้แก่อลี บิน อบีฏอลิบ ผู้เป็นตัวแทนและข้อพิสูจน์ของข้าบนหน้าแผ่นดิน จงแสดงให้เขาเป็นเสมือนสัญลักษณ์ และจงกำชับพันธะสัญญาที่มีต่อเขา และจงรณรงค์ให้ผู้คนระลึกถึงพันธะสัญญาที่ข้ากระทำต่ออลี บิน อบีฏอลิบในฐานะกัลญาณมิตรของข้า และในฐานะผู้นำของผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชาย...”[1]

ในฮะดีษข้างต้นมีคำว่า “ตาบู้ต” ปรากฏอยู่ ซึ่งกุรอานก็ได้กล่าวถึงไว้ว่า

وَ قالَ لَهُمْ نَبِيُّهُمْ إِنَّ آيَةَ مُلْكِهِ أَنْ يَأْتِيَكُمُ التَّابُوتُ فيهِ سَكينَةٌ مِنْ رَبِّكُمْ وَ بَقِيَّةٌ مِمَّا تَرَكَ آلُ مُوسى‏ وَ آلُ هارُونَ تَحْمِلُهُ الْمَلائِكَةُ إِنَّ في‏ ذلِكَ لَآيَةً لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ مُؤْمِنينَ[2]

“และนบีของพวกเขาได้กล่าวแก่พวกเขาว่า สัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือ การที่เขาจะมายังสูเจ้าพร้อมกับหีบแห่งพันธะสัญญา ซึ่งในนั้นมีความสงบสุขจากพระผู้อภิบาลของสูเจ้า และที่ระลึกจากวงศ์วานของมูซาและฮารูน โดยมีมลาอิกะฮ์เป็นผู้แบกหามมา สิ่งนี้คือสัญลักษณ์สำหรับสูเจ้า หากสูเจ้าเป็นผู้ศรัทธา”

ตาบู้ต มาจากคำว่า ตู้บ ในภาษาอรับ ซึ่งแปลว่าการย้อนกลับ[3] และยังหมายถึงหีบไม้ ทำให้ชาวอรับมักจะเรียกโลงศพว่าตาบู้ต แต่ความหมายเดิมของตาบู้ตไม่จำกัดเฉพาะหีบสำหรับผู้ตาย แต่หมายถึงหีบไม้ทั่วไป[4]

ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีล คืออะไร ใครเป็นคนสร้างขึ้น และบรรจุสิ่งใดบ้างนั้น มีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษ ตัฟซี้ร และบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์ และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์  และคงเป็นเพราะการที่หีบไม้นี้ช่วยให้นบีมูซา(อ.)ได้กลับคืนสู่อ้อมอกแม่อีกครั้ง จึงเรียกกันว่า“ตาบู้ต”[5]

อลี บิน อิบรอฮีม กุมี เล่าว่าท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร(อ.) กล่าวไว้ว่า “ตาบู้ตก็คือหีบที่อัลลอฮ์ประทานแก่มารดานบีมูซาและบัญชาให้วางทารกน้อยในนั้น แล้วจึงปล่อยไห้ลอยไปในทะเล หีบตาบู้ตนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนีอิสรออีลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และมักจะเป็นเครื่องแสวงหาบะเราะกัต”[6]

โองการที่ยกมาในตอนต้นต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์ แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจน ศาสนทูตจึงกล่าวว่า สัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือ เขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)[7]

สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงตาบู้ตให้เห็น กับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้ร โดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้าย และอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์[8]

 

 

[1] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 37,หน้า 202,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404 และ เฏาะบัรซี,อะห์มัด บิน อลี,อัลอิห์ติญ้าจ อะลา อะฮ์ลิลลุญ้าจ,เล่ม 1,หน้า 56,มุรตะฎอ,มัชฮัด,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1403

[2] อัลบะเกาะเราะฮ์,248

[3] กุรชี, ซัยยิดอลีอักบัร,กอมู้สกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 260,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่ 6, และ เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน,อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 2,หน้า 289,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันศาสนากุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,ฮ.ศ.1417

[4] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 239,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1374

[5] ฮุซัยนี ฮะมะดอนี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, รัศมีอันเจิดจรัส,ค้นคว้าเพิ่มเติม: เบะฮ์บูดี,มุฮัมมัด บากิร,เล่ม 2,หน้า 267, ร้านหนังสือลุฏฟี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1404 และ มุศเฏาะฟะวี,ฮะซัน, อัตตะห์กี้ก ฟีกะลิมาติ้ลกุรอานิลกะรีม,เล่ม 1,หน้า 372,ศูนย์แปลและจัดพิมพ์หนังสือ,เตหราน,1360 และ ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 339,340

[6] เฏาะบัรซี,ฟัฎล์ บิน ฮะซัน,มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริ้ลกุรอาน,ค้นคว้าเพิ่มเติม: พร้อมบทนำจากบะลาฆี,มุฮัมมัด ญะว้าด,เล่ม 2,หน้า 614,สำนักพิมพ์นาศิรโคสโร,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สาม,1372

[7] มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 2,หน้า 614 และ ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 239

[8] ดู: บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 53,หน้า 85

 

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...