การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6273
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10572 รหัสสำเนา 22843
หมวดหมู่ รหัสยทฤษฎี
คำถามอย่างย่อ
ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
คำถาม
ดิฉันต้องการจะทราบเกี่ยวกับอิรฟานภาคปฏิบัติว่า กลุ่มชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? (ดิฉันหมายถึงสำนักอย่างกอดิรียะฮ์, นักชบันดียะฮ์...) ดิฉันทราบเกี่ยวกับแก่นคำสอนของอิรฟานภาคปฏิบัติในระดับหนึ่ง อย่างเช่นคำสอนที่ว่ามนุษย์มีจิตใจที่จะต้องได้รับการขัดเกลาด้วยคำสอนของบรรดาศาสนทูต และหากตาใจของเราเปิด เราก็สามารถจะกล่าวเหมือนอิมามท่านแรกของชีอะฮ์ได้ว่า “ฉันบูชาพระเจ้าเพราะฉันประจักษ์ถึงพระองค์” หรืออย่างน้อยก็สามารถกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงทำให้ข้าฯประจักษ์ถึงพระองค์ด้วยตาใจ” การที่ตาใจเปิดก็เท่ากับได้ประจักษ์ “วะฮ์ดะฮ์”(เอกะ)อย่างแท้จริง ดังที่กล่าวกันว่า لیس فی الدار غیره دیار หากความมหัศจรรย์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นในโลกได้ตามความคิดของชีอะฮ์ ก็แสดงว่าสามารถจะจาริกในหนทางดังกล่าวในประเทศอุซเบกิสถานได้ เราชาวอุซเบกิสถานจะมีโอกาสได้บรรลุถึงอิรฟานระดับต่างๆทั้งที่ยังใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน (ซึ่งขาดแคลนคุณธรรมและคละคลุ้งด้วยความเสื่อมทรามในระดับที่หยั่งรากลึกในประสาทสัมผัสและเลือดเนื้อของเราแล้ว) หากเป็นไปได้ เราจะต้องเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
คำตอบโดยสังเขป

มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง
ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิรฟานและชีอะฮ์
มีเหตุผลมากมายที่บ่งชี้ว่าอิรฟานที่แท้จริงมีความเชื่อมโยงกับสำนักคิดชีอะฮ์อย่างชัดเจน อาริฟหลายท่านเชื่อว่าโดยแก่นแท้แล้ว สองแนวคิดข้างต้นนี้ก็คือสิ่งเดียวกัน ท่านซัยยิดฮัยดัร ออโมลี ซึ่งเป็นอาริฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า:
“ชีอะฮ์และอิรฟานมีต้นกำเนิดเดียวกัน และดำเนินสู่แก่นธรรมเดียวกัน เนื่องจากแหล่งอ้างอิงของศาสตร์ทุกแขนงของชีอะฮ์ก็คือท่านอิมามอลี(อ.)และวงศ์วานของท่าน ส่วนกรณีของอาริฟ(ตะศ็อววุฟที่แท้จริง)ก็เช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากพวกเขาจะไม่อ้างอิงคำสอนจากผู้ใดนอกจากอิมามอลีและวงศ์วานของท่าน บางคนถือว่าแนวอิรฟานและสำนักอิรฟานต่างๆมีต้นกำเนิดมาจากกุเมล บิน ซิยาด นะเคาะอี ซึ่งเป็นสาวกพิเศษของอิมามอลี บางคนเชื่อว่าแนวทางนี้ได้มาจากฮะซัน บัศรี ซึ่งก็เป็นผู้ที่เลื่อมใสในตัวท่านเช่นกัน บางคนถือว่าได้มาจากอิมามญะฟัร ศอดิก(อ.) ซึ่งเป็นลูกหลานของท่านและมีหลักฐานยืนยันถึงความเป็นอิมาม ... ฉะนั้น บรรดาอิมามของชีอะฮ์จึงเป็นทั้งประมุขด้านชะรีอัต และเป็นผู้นำฝ่ายเฏาะรีกัต และยังเป็นแกนและเสาหลักของฮะกีกัต”[1]

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชีอะฮ์และอิรฟานเป็นประเด็นที่กว้างเกินกว่าจะกล่าวถึงในบทความสั้นๆ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และเนื้อหา อย่างไรก็ดี  คำสอนของอิรฟานไม่ว่าจะภาคทฤษฎีหรือในแง่วัตถุวิสัยล้วนรณรงค์สู่การเป็น “มนุษย์ผู้สมบูรณ์”ในฐานะที่เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าในหมู่ประชาชนทั้งสิ้น และแน่นอนว่าบรรดาอิมามก็คือบุคคลเหล่านี้ โดยในยุคแห่งการเร้นกายอันเป็นยุคสุดท้ายนั้น ท่านอิมามมะฮ์ดี (อิมามท่านที่สิบสอง) ก็คือกุฏบ์ (แกน) ของเหล่าอาริฟ โดยมีนบีคิเฎรและนบีอีซา ฯลฯ คอยเป็นเสนาบดีและผู้ช่วยของท่าน

ด้วยเหตุนี้จึงมีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าแก่นคำสอนของหลักอิมามะฮ์และวิลายะฮ์ที่ปรากฏในแนวทางชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง หรือที่เรียกกันว่า “วิลายะฮ์ตั้กวีนี”และระดับขั้นทางใจ ในมุมมองของอิรฟานนั้น อิมามก็คือหัวใจและแกนของโลกทั้งผอง และเป็นภาพลักษณ์ของคุณลักษณะและพระนามของพระองค์ทั้งหมด

สำนักตะศ็อววุฟ
ประเด็นการสืบทอดหรือการเข้าร่วมสำนักอิรฟานนั้น มักได้รับอิทธิพลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างครูอิรฟานและสานุศิษย์ ดังกรณีความสนิทสนมระหว่างชัมส์ ตับรีซี กับ เมาละวี อย่างไรก็ดี มิไช่ว่าศิษย์ทุกคนที่เรียนรู้จากครูบาจะสามารถบรรลุอิรฟานขั้นสูงเสมอไป มีบางคนที่สามารถเข้าถึงแก่นของอิรฟานได้ด้วยเบื้องลึกของตน (ซึ่งตามทัศนะชีอะฮ์แล้ว จะเกิดขึ้นโดยผ่านแก่นแห่งอิมามะฮ์เท่านั้น) ฉะนั้นจึงมีอาริฟหลายคนที่แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากเหล่าอาริฟท่านอื่นให้สามารถสอนแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ถือว่าตนเองสังกัดในสำนักใดสำหนักหนึ่งของอิรฟาน อาทิเช่น อิบนิ อะเราะบี ซึ่งถือว่านบีคิเฎรคือครูของตน

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่อาริฟที่มีชื่อเสียงล่วงลับไป ก็มักจะมีการถ่ายทอด “เฏาะรีกัต”(แนววิธี)กันในหมู่ลูกศิษย์รุ่นต่อรุ่น ซึ่งอาจมีการสังคายนาหรือบิดเบือนไปตามกาลเวลา ทำให้บางครั้งไม่อาจจะถือว่าการสังกัดสำนักอิรฟานหรือการสืบเชื้อสายถึงอาริฟท่านใดท่านหนึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าแนวทางนั้นคือสำนักอิรฟานที่ถูกต้องเสมอไป

เป็นที่ทราบกันว่าเหล่าอาริฟผู้สมบูรณ์มักใช้ชีวิตปะปนอยู่ในสังคมทั่วไปทุกยุคสมัย โดยอาจจะอยู่ในเครื่องแบบหรืออาชีพใดก็ได้เพื่อจะให้การช่วยเหลือผู้แสวงหาการจาริกอิรฟาน ทั้งนี้ก็เพราะอัลลอฮ์ทรงไม่ประสงค์ที่จะปิดกั้นโอกาส และหากพบว่ามีมุอ์มินที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจในหนทางนี้ พระองค์ก็จะทรงบันดาลให้มีครูบาอาจารย์เข้ามาชี้แนะหนทางอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจำกัดนัยยะของอิรฟานไว้แค่สำนักอิรฟานที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะบางครั้งก็ไม่สามารถจะพบอิรฟานได้ในสำนักต่างๆโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน และก็ไม่อาจจะเชื่อได้เสมอไปว่า ผู้ที่ได้รับเสื้อผ้าซูฟีหรือเข้าสังกัดสำนักต่างๆจะเป็นผู้ที่คงไว้ซึ่งอิรฟานที่แท้จริงแห่งอัลลอฮ์ อันเป็นแก่นแท้ของมัซฮับและชะรีอัตของเหล่าศาสนทูตของพระองค์ ดังวจนะของนักกวีนามฮาฟิซที่ว่า:

ค่าของซูฟีมิได้ดูกันเพียงแค่ความสมถะ
บ่อยครั้งอาภรณ์ที่ชุนปะนำพาสู่ไฟนรก

บรรดาอาริฟกำหนดว่า“อานุภาพความรักอัลลอฮ์ที่มีต่อกายและใจของอาริฟ”คือหลักเกณฑ์ที่จะจำแนกอาริฟที่แท้จริงออกจากพวกฉวยโอกาส อาริฟจะสามารถโอนถ่ายอานุภาพดังกล่าวแก่ลูกศิษย์ ซึ่งสามารถสัมผัสได้อย่างยาวนาน ตรงข้ามกับพวกที่แอบอ้างเป็นอาริฟซึ่งถนัดแต่จะใช้คารมรื่นหู เล่ห์เหลี่ยม มายากล และยกคำพูดของอาริฟที่มีชื่อเสียงมาเพื่อระดมคะแนนนิยมและต้มตุ๋นสาวกของตน อุบายเหล่านี้ก็คือสิ่งที่ทำให้ผู้คนในสังคมมีอคติต่อแนวอิรฟานโดยรวม

อิรฟานที่แท้จริงในยุคปัจจุบัน
ในยุคที่เต็มไปด้วยอบายมุขและเทคโนโลยีที่ฉาบด้วยกิเลสและตัณหาอย่างปัจจุบันนี้ อิรฟานสามารถที่จะมีบทบาทอันโดดเด่นในการช่วยเหลือมนุษยชาติ ไม่เพียงแต่จะเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูอิรฟาน หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เพราะการเข้าใจเปลือกนอกของศาสนาอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอต่อการถักทอตักวาในเบื้องลึกของจิตใจ แต่จะเกิดขึ้นได้ด้วยสัมผัสทางจิตวิญญาณเท่านั้น

ในอีกมุมหนึ่ง การประจักษ์ว่าโลกสมัยใหม่ถึงทางตัน โดยที่การเริงโลกีย์ที่แพร่หลายในปัจจุบันไม่สามารถจะบำเรอความกระหายได้อีกต่อไป กระทั่งต้องหันไปพึ่งยาเสพติดและฆ่าตัวตายอย่างแพร่หลาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า มนุษยชาติกำลังก้าวสู่ยุคสุดท้ายในแง่อิรฟาน และมีความกระหายที่จะได้หวลคืนสู่คุณธรรมทางจิตวิญญาณอันเป็นคุณธรรมที่สามารถสัมผัสได้ ณ หัวใจ และรับรู้ได้ในโลกนี้โดยไม่ต้องรอถึงโลกหน้า คุณธรรมที่จะสนองให้มนุษยชาติอิ่มเอม และนำพาให้หลุดพ้นจากความไร้แก่นสารของโลกนี้

อิรฟานภาคปฏิบัติ
เบื้องต้นได้เรียนชี้แจงไปแล้วว่า อิรฟานมิไช่สิ่งที่แปลกแยกจากศาสนา แต่เป็นแก่นและเบื้องลึกของศาสนานั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองที่วิธีปฏิบัติเบื้องต้นของอิรฟานก็มีเพียงชะรีอัตเท่านั้น ต่างกันตรงที่ชะรีอัตที่กระทำด้วยสำนึกแห่งอิรฟานย่อมจะมีความลึกซึ้งมากกว่าปกติ อันจะนำพานักจาริกไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คำว่าชะรีอัตแปลว่าหนทาง ส่วนอิรฟานและการรู้จักพระองค์ถือเป็นเส้นชัยของหนทางนี้ ชะรีอัตอิสลามมิได้เป็นขนบประเพณีของศาสนาที่แพร่หลายในสังคมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นคำสั่งที่จำเป็นต่อการปกปักษ์รักษาอัญมณีอันเลอค่าในตัวมนุษย์ เพื่อจะนำพาสู่การประจักษ์ถึงตนเองและพระเจ้า

หากปฏิบัติตามลำดับของชะรีอัตและตักวา(ซึ่งล้วนเป็นมารยาทของความเป็นมนุษย์)อย่างเคร่งครัดแล้ว เมื่อนั้นหัวใจก็จะมีศักยภาพพอที่จะได้รับอานิสงส์ทางจิตวิญญาณซึ่งเรียกกันว่า“เฏาะรีกัต” และเส้นชัยของหนทางนี้ก็มิไช่อื่นใดนอกจากได้ประจักษ์ถึง“ฮะกีกัต”

เบื้องต้นของการย่างก้าวสู่หนทางจาริกสู่อัลลอฮ์และการมุมานะในหนทางนี้ก็คือการเตาบะฮ์ อันหมายถึงการตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะละทิ้งบาปทั้งมวล เพื่อแผ้วถางหัวใจให้ได้รับการนำทางของพระองค์ การนำทางในที่นี้อาจเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิเช่น การได้มีโอกาสพบมนุษย์ผู้สูงส่งอันถือเป็นการนำทางพิเศษของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักจาริกได้พัฒนาถึงขั้นที่สูงขึ้นนั้น ยิ่งจำเป็นต้องมีครูผู้เพียบพร้อม ฉะนั้น ผู้ที่มีโอกาสได้พบและสานสัมพันธ์กับบุคคลพิเศษเหล่านี้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความผาสุกที่สุดแล้ว

หากนักจาริกมีความมุ่งมันพากเพียรในหนทางอิรฟานอย่างแท้จริง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดในโลก อัลลอฮ์จะทรงประทานการนำทางพิเศษแก่เขาอย่างแน่นอน เมื่อศึกษาอัตชีวประวัติของนักจาริกที่ยิ่งใหญ่ก็จะพบว่าพวกเขาได้รับโอกาสที่จะพบอาริฟที่สูงส่งได้โดยที่ตนเองก็ไม่เคยคาดฝันมาก่อน ฉะนั้นจึงควรทราบว่า พลานุภาพของพระองค์ในการนำทางนั้น มิได้จำกัดไว้เพียงยุคใดยุคหนึ่ง ดังที่เหล่าอาริฟมีความกระหายที่จะนำทางลูกศิษย์มากกว่าที่ลูกศิษย์แสวงหาอาริฟเสียอีก ฉะนั้น หากมีความบริสุทธิ์ใจในการแสวงหา ย่อมจะมีปฏิกิริยาจากพระองค์อย่างแน่นอน สิ่งที่เราขาดแคลนในยุคปัจจุบันก็คือความมุ่งมั่นที่จะปลดแอกแห่งโลกิยะ หาไม่แล้ว การนำทางพิเศษของอัลลอฮ์มีพร้อมไว้ให้ปวงบ่าวของพระองค์ได้ตักตวงเสมอ

อนึ่ง โลกชีอะฮ์มีอาริฟที่ยิ่งใหญ่เสมอมา ในยุคร่วมสมัยก็มีอาริฟหลายท่านที่ให้การช่วยเหลือและอบรมนักจาริกมากมาย อาทิเช่น อายะตุลลอฮ์ มีรซอ อลี ออฆอ กอฎี, มุลลอ ฮุเซนกะลี ฮะมะดอนี, อายะตุลลอฮ์ อันศอรี ฮะมะดอนี และอีกหลายท่านที่เพียรพยายามอบรมลูกศิษย์มากมายทั้งในแง่วิชาการและอิรฟาน ปัจจุบันลูกศิษย์เหล่านี้ทั้งผู้ที่มีชื่อเสียงและผู้ไม่ประสงค์จะเป็นที่รู้จัก ต่างก็ช่วยกันผดุงไว้ซึ่งแวดวงอิรฟานสืบไป

ท้ายนี้ ขอแนะนำหนังสือ “มะกอล้าต”ประพันธ์โดยอายะตุลลอฮ์ มุฮัมมัด ชะญาอี แก่ผู้สนใจแวดวงจาริกทางอิรฟาน หนังสือดังกล่าวมีสามเล่ม[2] และนำเสนอขั้นตอนการจาริกไว้ดังนี้
1.“ยักเซาะฮ์”หรือแรงจูงใจจากอัลลอฮ์  2.เตาบะฮ์(การหวลสู่พระองค์)  3.ขัดเกลาจิตใจ(เตาบะฮ์ให้พ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์)  4.ปรารถนาและมุ่งมั่น   5.การระมัดระวังขั้นแรก   6.การระมัดระวังขั้นที่สอง

อ่านเพิ่มเติมได้จากระเบียนต่อไปนี้
7709 (ลำดับในเว็บไซต์ 7855), 9043 (ลำดับในเว็บไซต์ 9018)

 

 


[1] ออโมลี,ซัยยิดฮัยดัร,ญามิอุ้ลอัสร้อร วะมันบะอุ้ลอันว้าร,หน้า 4,สำนักพิมพ์อิลมีฟัรฮังฆี,ปี 1368

[2] เล่ม1 พื้นฐานภาคทฤษฎีของการขัดเกลา
เล่ม2 การขัดเกลาภาคปฏิบัติ(1)
เล่ม3 การขัดเกลาภาคปฏิบัติ(2)
งานประพันธ์เล่มนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โซรู้ช.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    7410 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9855 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5723 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28323 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    19148 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    7233 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    15657 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10885 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10972 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
    13031 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/31
    เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใดศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกันเหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดแน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตรเพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะและแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60551 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58141 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42671 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40055 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39293 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34410 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28473 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28323 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26247 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...