การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13470
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/01/24
คำถามอย่างย่อ
กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม เพราะเหตุใดฝ่ายซุนนียฺจึงกล่าวว่า การถอนคิ้วของสตรีเป็นฮะรอม แม้ว่าจะถอนเพื่ออวดสามีก็ตาม การออกคำวินิจฉัยทำนองนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ดังนั้น ดิฉันขอคำตอบที่แข็งแรง เพื่อเป็นข้อหักล้าง ที่สำคัญถูกต้องตรงหลักการของชีอะฮฺ
คำตอบโดยสังเขป
การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น
คำตอบเชิงรายละเอียด
สตรีได้เสริมสวยเพื่ออวดสามีถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าในหลัการอิสลามถือว่เป็น มุสตะฮับด้วยซ้ำไป ในทางกลับกันสตรีที่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยเรื่องการแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าได้รับการตำหนิอย่างยิ่ง[1]คำสั่งลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น แน่นอน อาจมีนักปราชญ์บางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการเสริมสวยของสตรี (ตัวอย่างการถอนขนคิ้ว) นักปราชญ์กลุ่มนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาด (แม้แต่การเสริมสวยเพื่ออวดสามี) ซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้นำหลักฐานฮะดีซบางบท มาเป็นหลักฐานในการออกทัศนะ เช่น รายงานบางบทจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งสตรี 8 จำพวก อันประกอบด้วย :
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า:  «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه»   หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره»  หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله»  หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله»  หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه»  หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه»  หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
 

[1] ญะอฺฟะรียาน เราะซูล,
[2]  อิบนุ บาบูวีเยะฮฺ มุฮัมมัด บิน อะลี, มะอานิลอัคบาร, หน้า 249, แก้ไขและตรวจทานโดย, ฆอฟฟารียฺ อะลีอักบัร, พิมพ์ที่ อินเตะชารอตอิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1403
[3] ญุซรียฺ อิบนุ อะษีร มุบาร็อก บิน มุฮัมมัด, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิลฮะดีซ วัลอะษะเราะ, เล่ม 4 หน้า 51, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, กุม, พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[4] กุลัยนียฺ มุฮัมมัด ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, ตรวจทานและแก้ไขโดย เฆาะฟารียฺ อะลี อักบัร และอาคูนวันดียฺ, มุฮัมมัด เล่ม 5, หน้า 118, หมวดที่ 119, ฮะดีซที่ 3 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 4, เตหะราน ฮ.ศ. 1407
[5] เชรโฮร อามีลียฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 189, ฮะดีซที่ 25390, สำนักพิมพ์ อาลัลบัยตฺ พิมพ์ครั้งแรก กุม ปี ฮ.ศ. 1409
[6] บะฮฺญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ, อิสติฟตาอาต (บะฮฺญัต) เล่ม 4, หน้า 175, คำถามที่ 5201, สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต, กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ 1428
[7] ศึกษาจากหัวข้อที่ 18717 (การเสริมสวยของเด็กสาว)
[8] มัรญิอฺตักลีด เช่น อิมาโคมัยนี ซิสตานี มะการิมชีรอซียฺ นูรีฮัมเมดานี และตับรีซียฺ
[9] อิสติฟตาอาต อายะตุลลอฮฺ ซิสตานียฺ )sistani.org (ส่วนหนึ่งของอิสติฟตาอาต คำว่า เสริมสวย หน้า 17, มะการิมชีรอซียฺ นาซิร อิสติฟตาอาตฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 351, และ 1034, สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บนิ อะบีฏอลิบ (อ.) กุ่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1427, อายะตุลลอฮฺ นูรียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 1 คำถามที่ 491, 542, อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3, หน้า 257 คำถามที่ 33, 34, สำนักพิมพ์ อินเตะชารอตอิสลามี ขึ้นกับญามิอฺมุดัรริซน กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ.1422, ตับรีซียฺ ญะวาด อิสติฟตาอาต ฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 360, คำถามที่ 1490 กุม พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[10] อายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยกานียฺ
[11] อายะตุลลอฮฺ ซอฟยฺ ฆุลภัยกานียฺ
[12] อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ฟาฎิลลันกะรอนียฺ บะฮฺญัต และวาฮีดโครอซานียฺ
[13] ฟัตวาอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ คัดลอกมาจากหัวข้อ 598, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ มุฮัมมัด ญามิอุลมะซาอิล เล่ม 1, หน้า 451, คำถามที่ 1708, อินเตะชารอต อะมีร กะลัม กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, บีทอ, บะญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 4, หน้า 208 คำถามที่ 534 สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1428, อิสติฟตาอาต สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ วะฮีด โคราซานนียฺ
[14] อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3 หน้า 256 สำนักพิมพ์ อินเตะชารอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1422

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7331 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6332 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38333 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6854 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7332 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18233 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6626 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    5736 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7598 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
    6629 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/15
    บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59296 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56745 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41569 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38333 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38291 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33385 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27480 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27143 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27038 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25124 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...