การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9959
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2974 รหัสสำเนา 17838
คำถามอย่างย่อ
อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
คำถาม
อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วย

สรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกัน

อัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง หนึ่ง : บุคคลผู้นั้นต้องมีศักยภาพของผู้รับชะฟาอะฮฺเสียก่อน สอง : อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงอนุญาตให้พวกเขาให้ชะฟาอะฮฺ อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่มีสิทธิได้รับชะฟาอะฮฺในวันนั้น ความศรัทธาของพวกเขาต้องได้รับความพึงพอพระทัยและเป็นที่ยอมรับของอัลลอฮฺเสียก่อน, ทว่าการกระทำของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญทำให้พวกเขาตกต่ำ และกลายเป็นผู้ถวิลหาชะฟาอะฮฺ, ขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธามิใช่ผู้ศรัทธา และมิใช่ผู้ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ พวกเขาจึงไม่มีสิทธิ์ได้ชะฟาอะฮฺ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลผู้ซึ่งมีความพิเศษดังต่อไปนี้ :

1. เป็นผู้มีศรัทธาและปฏิบัติคุณงามความดี

2. เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล (ซ็อล ฯ) และอูลิลอัมริมินกุม (อ.) โดยปราศจากคำถามและข้อเคลือบแคลงใจ

3. ออกห่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างแท้จริง เกลียดชังผู้ตั้งภาคีต่อพระเจ้า และบรรดาผู้กลับกลอกทั้งหลาย

4. รักษาคำมั่นสัญญา ที่ได้สัญญาต่อพระเจ้า หรือเราะซูล (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) หรือสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชน

5. มีความซื่อสัตย์สุจริต

6. เป็นพลีชีพในหนทางของอัลลอฮฺ

7. มีความเสียสละทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศในหนทางของศาสนาแห่งพระเจ้า

8. มอบหมายความไว้วางใจในภารกิจการงานต่างๆ ต่ออัลลอฮฺ

9. มีความอดทนอดกลั้นในการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และการละเว้นการทำความผิดบาป อีกทั้งอดทนต่อความทุกข์และอุปสรรคปัญหาต่างๆ ที่ได้ประสบ

10. ไม่หวาดกลัวศัตรูของศาสนาแห่งพระเจ้า[1]

แต่ว่าทุกคนที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพอพระทัยเขาจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์กระนั้นหรือ? ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อบุคคลนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความอ่อนแอของความศรัทธาของแต่ละคน รวมทั้งคุณภาพ และปริมาณของการประกอบความดีงาม อีกทั้งรวมไปถึงความมั่นคงและความหวั่นไหวของพวกเขาที่ดำเนินไปบนหนทางดังกล่าว, บุคคลที่ใช้ประโยชน์จากพลังความศรัทธาของตนได้ดีที่สุด โดยไม่เกิดความสั่นคอนในความศรัทธาตลอดอายุขัยตน, เช่น บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและหมู่มิตรของพระองค์, ในโลกนี้พวกเขาได้รับตำแหน่งอันเป็นตำแหน่งสูงสุดของความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺแล้ว ในปรโลกยังจะได้เข้าสรวงสวรรค์ชั้นริฎวานอีกต่างหาก, สำหรับกลุ่มชนที่มีความสั่นคอนในความเชื่อศรัทธาตลอดการดำรงชีพของตน พวกเขาเพียงแค่รักษาระดับความใกล้ชิดของตนในระดับชั้นต่อไปเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับสวรรค์ชั้นริฏวาน

คำอธิบาย เนื่องจากความโปรดปรานแห่งสวรรค์ ที่ปรากฏเป็นรูปร่างทางความคิด สภาพ และการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย ขณะที่มนุษย์นั้นมีระดับความศรัทธาและการปฏิบัติคุณงามความดีแตกต่างกัน สวรรค์ก็มีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไปด้วย

โองการอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงความแตกต่างเหล่านั้นไว้เป็นประเด็นต่างๆ เช่น กล่าวว่า : ญันนะตุลลิกอ[2] ญันนะตุลริฎวาน[3]ญันนะตุลนะอีม[4] ดารุลสลาม[5] ญันนาตุนอัดนิน[6] ญันนาตุนฟิรเดาซ์[7] ญันนะตุลคุลด์[8] ญันนะตุลมะอฺวา[9] มักอะดิซิดกิน[10] ซึ่งชั้นสวรรค์เหล่านี้ได้รับการแนะนำไว้[11]รายงานบางบทกล่าวว่า สวรรค์ นั้นแบ่งออกเป็น 100 ระดับด้วยกัน[12] ซึ่งระดับชั้นเหล่านั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและความอ่อนแอของความศรัทธาของแต่ละคน ประกอบกับความประพฤติปฏิบัติของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ สวรรค์จึงได้ถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธาและความประพฤติของบุคคล. ดังนั้น ในหมู่พวกเขาจึงมีกลุ่มชนที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ อย่างแท้จริง แต่บางครั้งบุคคลนั้นก็เป็นกัลญาณชน บางครั้งก็เป็นคนบาป ด้วยเหตุนี้การเข้าสู่สวรรค์ของเขาไม่แน่นอน[13] และมีผู้คนไม่น้อยที่การเข้าสวรรค์ของเขาต้องอาศัย ชะฟาอะฮฺ, วัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า “มะนิรตะฎอ” ในโองการที่ 28 บทอันบิยาอฺ หมายถึงกลุ่มชนที่มิใช่เจ้าของสวรรค์ริฎวาน, เนื่องจากเจ้าของสวรรค์ชั้นริฎวาน พวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และเป็นพยานในวันสอบสวนและตอบแทนผลรางวัลหรือการลงโทษ พวกเขาไม่ต้องการชะฟาอะฮฺ, ด้วยเหตุนี้ จึงมีช่องให้ถามว่า : สาเหตุของการลงโองการนี้คืออะไร?

บรรดาผู้ตั้งภาคีชาวมักกะฮฺได้สักการบูชารูปปั้นและยกย่องให้เกียรติ, ซึ่งพวกเขาก็คิดถึงการให้ชะฟาอะฮฺ เหมือนกันโดยกล่าวว่า “พวกเราทั้งหมดเคารพรูปปั้นบูชา เพื่อว่าฐานันนดรของพวกเราจะได้ใกล้ชิดต่อพระเจ้า”[14] เนื่องจากเทวรูปเหล่านี้คือผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเราทำให้พวกเราใกล้ชิดพระเจ้า[15] ทว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงทำลายความคิดของพวกเขา โดยปฏิเสธความเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ของรูปปั้นและอันตรายที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น เนื่องจากเทวรูปเหล่านั้นมิได้มีบทบาทหน้าที่อันใด อีกทั้งไม่สามารถให้คุณหรือให้โทษอันใดแก่ตัวเอง และแก่ผู้อื่นได้อีกต่างหาก แล้วจะนับประสาอันใดกับการก่อประโยชน์ให้แก่มนุษย์ หรือในวันฟื้นคืนชีพจะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแด่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่โง่เขลาทั้งหลาย

อีกด้านหนึ่งบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลายต่างคิดว่า, มวลมลาอิกะฮฺคือบุตรีของพระเจ้าพวกเขาจึงเคารพและให้เกียรติ และคิดว่าในวันฟื้นคืนชีพมลาอิกะฮฺเหล่านี้จะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา. ความคิดผิดพลาดอย่างรุนแรงของพวกเขา ได้ถูกปฏิเสธด้วยการลงโองการที่ 28 บทอันบิยาอฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการนี้ว่า : และพวกเขากล่าวว่า พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงยึดมลาอิกะฮฺเป็นบุตรี พระพิสุทธิคุณแห่งพระองค์ ทว่าพวกเขาเป็นบ่าวผู้มีเกียรติต่างหาก พวกเขาจะมิชิงกล่าวคําพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย และพวกเขาสั่นสะท้านด้วยความหวาดกลัวต่อพระองค์”[16] ด้วยเหตุนี้เอง พวกเขาจึงไม่กระทำสิ่งใดที่นอกเหนือไปจากพระบัญชาของพระองค์ หรือจะไม่กระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับความพึงพอพระทัยของพระองค์ ดังนั้น มลาอิกะฮฺจึงมิใช่ผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขาอย่างแน่นอน

คำอธิบาย เกี่ยวกับชะฟาอะฮฺ และผู้ให้ชะฟาอะฮฺมี 3 กลุ่มด้วยกัน : 1. เป็นการเพิ่มฐานันดรของชาวสวรรค์ในสวรรค์. 2.เป็นการช่วยเหลือชาวนรกก่อนที่จะถูกนำตัวไปนรก. 3. เป็นการช่วยเหลือเบาบางการลงโทษในนรกให้ลดน้อยลง, ดังนั้น หลังจากได้เข้าไปสู่นรกแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่าผลที่จะเกิดขึ้นและความแตกต่างของพวกเขา ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความศรัทธา และความประพฤติซึ่งล้วนมีผลเกี่ยวข้องกับชะฟาอะฮฺ[17] ดังนั้น สำหรับการรอดพ้นการลงโทษโดยขบวนการชะฟาอะฮฺ จะครอบคลุมบุคคลที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ไม่มีบุคคลใดมีสิทธิให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลอื่น โดยปราศจากการอนุญาตของอัลลอฮฺ, เนื่องจากในวันสอบสวนผู้พิพากษาและเป็นเจ้าแห่งการตัดสินแต่เพียงผู้เดียวคือ อัลลอฮฺ เท่านั้น และชะฟาอะฮฺเป็นเพียงภาพแห่งความกรุณาที่มีเหนือความกริ้วโกรธของพระองค์

2. บรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮฺได้แก่ผู้ซึ่ง :

ก. ตนจะต้องไม่ใช่ผู้มีความต้องการในชะฟาอะฮฺ และต้องเป็นผู้มีอีมานและความประพฤติดีงามขั้นสูงสุด

ข. มีความรอบรู้ถึงสิทธิของการชะฟาอะฮฺ ว่าผู้ใดมีสิทธิได้รับ

ค. ต้องได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ

3. การครอบคลุมของชะฟาอะฮฺมีสำหรับบุคคลที่ :

ก. ต้องเป็นผู้มีความต้องการในชะฟาอะฮฺ

ข. มีสิทธิรับชะฟาอะฮฺและมีศักยภาพเพียงพอในการรับ แน่นอน ต้องเป็นผู้ได้รับความเมตตาที่แท้จริงจากพระองค์ และจากการให้ชะฟาอะฮฺของผู้ให้นั้นเอง ทำให้เขารอดพ้นการลงโทษ

ค. ต้องไม่มีอุปสรรคสำหรับการรับชะฟาอะฮฺ เช่น การปฏิเสธศรัทธา การฝ่าฝืน การกลับกลอก การตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า หรือปฏิเสธชะฟาอะฮฺ และรวมไปถึงความไม่ใสใจต่อนมาซ

ด้วยเงื่อนไขข้างต้น, เมื่อพิจารณาโองการอัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่อง ชะฟาอะฮฺ, จะได้บทสรุปว่าบรรดามุอฺมินและมลาอิกะฮฺ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้ชะฟาอะฮฺแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ผู้กลับกลอก และผู้ตั้งภาตีเทียบเคียงทั้งหลายแล้ว, ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดุอาอฺขออภัยในความผิดบาปแก่พวกเขาอีกต่างหาก, อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :“จงอย่าวิงวอนขออภัยให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงและผู้กลับกลอก แม้ว่าสูเจ้าจะวิงวอนขออภัยให้แก่พวกเขาถึง 70 ครั้ง แต่อัลลอฮฺ ก็จะไม่อภัยแก่พวกเขาเด็ดขาด”[18] เพราะว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยต่อการตั้งภาคีขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”[19] ในทางกลับกันเป็นที่ประจักษ์ว่าบรรดาศาสดาและมลาอิกะฮฺจะไม่กระทำสิ่งใดที่ขัดแย้งกับพระบัญชาของพระองค์เด็ดขาด[20] ซึ่งสำหรับบรรดามุชริกแล้วย่อมไม่ชะฟาอะฮฺให้อย่างแน่นอน. สมมุติว่ามุอฺมินได้ชะฟาอะฮฺให้แก่พวกเขา ซึ่งชะฟาอะฮฺของพวกเขาที่มีต่อมุชริก มุนาฟิก และผู้ปฏิเสธศรัทธาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ ณ พระองค์อัลลอฮฺ เนื่องจากผู้ตัดสินคนสุดท้ายคือพระองค์ และที่สำคัญคือกลุ่มชนทั้งสามได้รับการละเว้นไว้เรื่องชะฟาอะฮฺ เนื่องจากพวกเขาไม่มีศักยภาพเพียงพอและได้ปฏิเสธการชะฟาอะฮฺและความเมตตาไปจากพวกเขา พวกเขาไม่มีแม้แต่ความศรัทธา และการสั่งสมความดีงามบันทึกอยู่ในบัญชีการงานของตน เพื่อว่าพวกเขาจะได้กลายเป็นที่พึงพอพระทัยสำหรับอัลลอฮฺ และพระองค์จะได้อนุญาตให้บรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮฺมอบชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, หรือสมมุติว่าการชะฟาอะฮฺได้ออกจากมวลผู้ศรัทธา โดยได้แผ่เมตตาไปยังพวกเขา และยอมรับพวกเขาว่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีสิทธิ์รับชะฟาอะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ความคิดของบรรดาผู้ตั้งภาคีจึงวางอยู่บนพื้นฐานของชะฟาอะฮฺที่จะได้รับจากบรรดารูปปั้นต่างๆ หรือมลาอิกะฮฺ, แน่นอนสิ่งนี้มิมีอะไรเกินเลยไปจากการจินตนาการเท่านั้นเอง และมันจะไม่เกิดขึ้นในวันฟื้นคืนชีพด้วย

ดังนั้น ความพึงพอพระทัยคือความสัมพันธ์หนึ่ง ซึ่งมีระดับชั้นต่างๆ มากมาย และถูกต้องถ้าจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยกับความศรัทธาและความเชื่ออันถูกต้องของปวงบ่าว แต่มิทรงพึงพอพระทัยการกระทำของพวกเขา, หรืออาจกล่าวว่าการกระทำบางอย่างของปวงบ่าวได้รับความพึงพอพระทัย ส่วนการกระทำอีกบางอย่างของเขาไม่ได้รับความพึงพอพระทัย, ด้วยเหตุนี้เอง ไม่มีความแตกต่างกันถ้าหากอัลลอฮฺ จะทรงพึงพอพระทัยในการงานบางอย่างของเขา ขณะที่บ่าวคนนั้นมิได้เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวานแต่อย่างใด, ทว่าสูงไปกว่านั้นบ่าวคนดังกล่าวนั่นเอง (การกระทำบางอย่างของเขาไม่เป็นที่ยอมรับ) และต้องได้รับการลงโทษ

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม :

1.ญะวาดี ออมูลี,อัลดุลลอฮฺ, ซีเระฮฺพียอมบะรอน ดัรกุรอาน (ตัฟซีรเมาฎูอียฺ), เล่ม 6, หน้า 99 – 113, สำนักพิมพ์อัสรอ 2, ปี 1397, กุม

2.ฮะบีบัยยอน, อะฮฺมัด, เบเฮชวะญฮันนัม, หน้า 249 – 151, สำนักพิมพ์ ซอเซมอนตับลีฆอต อีสลามี, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1379 เตหะราน

3.ชีระวอนียฺ, อะลี, มะอาริฟ อิสลามมี ดัรออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรียฺ, หน้า 227 – 254 สำนักพิมพ์ นัชร์มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1376 กุม.

4.เฏาะบาเฏาะบาอี,มุฮัมมัด ฮุเซน, วิเคราะห์อิสลามี, หน้า 355 – 367, ฮิจรัต,กุม.

5.เฏาะบาเฏาะบาอี,มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน, เล่ม 14, หน้า 277, ตอนอธิบาย โองการที่ 28, บทอัมบิยาอ์, ตัฟตัรอินติชอรออรรอต อิสลามี,กุม

6.มิซบาฮฺ ยัซดี,มุฮัมมัด ตะกีย์, ออมูเซซอะกออิด, เล่ม 3, บทเรียนที่ 58 – 60, ซอเซมอนตับลีฆอต อิสลามี, พิมพ์ครั้งที่ 14, ปี 1375,กุม.

7.มิซบาฮฺ ยัซดี,มุฮัมมัด ตะกีย์, มะอาริฟกุรอาน, เล่ม 1 -3, หน้า 66 – 68, อินติชารอต ดัรเราะเฮฮัก, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี 1368, กุม

8.มะการิม ชีรอซียฺ, นาซิร, แนวคิดการเกิดสำนักคิด, หน้า 151 – 177 พิมพ์ครั้งที่ 2, กุม.



[1] อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ, 8, บทฮัชร์, 8, บทฏอฮา, 130, บทมุญาดะฮฺ, 22, บทเตาบะฮฺ, 100, บทมาอิดะฮฺ, 119, บทอาลิอิมรอน, 16, 169-174, บทฟัตฮฺ, 18, 29, บทนิซาอฺ, 64, บทฆอฟิร, 7

[2] อัลกุรอาน บทฟัจรฺ, 30.

[3] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 15.

[4] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 65

[5] อัลกุรอาน บทอันอาม, 127.

[6] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 72

[7] อัลกุรอาน บทกะฮฺฟิ, 107

[8] อัลกุรอาน บทฟุรกอน, 15

[9] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ, 19

[10] อัลกุรอาน บทเกาะมัร,55

[11] ฮะบีบัยยาน,อะฮฺมัด,เบเฮชวะญะฮันนัม, หน้า 25 - 249.

[12] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 117 และ 196.

[13] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 102, 106.

[14] อัลกุรอาน บทอัซซุมัร, 3.

[15] อัลกุรอาน บทยูนุส, 18.

[16] อัลกุรอาน บทอันบิยาอฺ, 26 – 28.

[17] ชีระวอนนี, อะลี, มะอาริฟอิสลามี ดัรออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, หน้า 227 – 254, มะการิมชีรอซีย์, นาซิร, แนวคิดของการเกิดสำนักคิด, หน้า 151, 178. อับดุลลอฮฺ ญะวาดดี ออมูลี, ซีเระพัยยอมบะรอนดัรกุรอาน, เล่ม 6 หน้า 99 – 113, มุฮัมมัด ตะกีย์ มิซบาฮฺ ยัซดี, ออมูเซซอะกออิด, บทเรียนที่ 59, 60

[18] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, โองการ 73, 85, 96, บทฮูด, 37, 46, 76, บทมุนาฟิกูน, 6, มุอฺมินูน, 74, ฮัจญ์, 31

[19] อัลกุรอาน บทนิซาอฺ, 48, 116.

[20] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 6, บทนะฮฺลุ, 50.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6700 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    7248 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11515 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    6572 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
    6389 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ 1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์ 2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์ สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    8302 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    6469 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    19201 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    6376 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6686 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60536 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58128 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42657 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40030 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39277 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28457 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28385 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28307 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26236 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...