การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12334
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/21
คำถามอย่างย่อ
การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
คำถาม
อัลกุรอาน ถูกรวบรวมขึ้นด้วยความเห็นชอบของเหล่าเซาะฮาบะฮฺ หรือว่าถูกรวบรวมขึ้นตามความเห็นชอบ โดยสมบูรณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอุษมาน มิได้ใช้สถานภาพทางการเมือง นำเอาโองการที่มีความขัดแย้งกัน รวบรวมไว้ในโองการที่ว่าด้วยเรื่องหลักปฏิบัติดอกหรือ? การจัดพิมพ์อัลกุรอานไปตามการประทานลงมา ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่? ถ้าไม่เป็นบิดอะฮฺ แล้วเป็นเพราะสาเหตุอันใดสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านจึงไม่จัดพิมพ์อัลกุรอาน ไปตามการประทานลงมาอย่างถูกต้อง? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ ทั้งที่ทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดรัฐอิสลามสามารถสร้างความเข้าใจ และขจัดความไม่เข้าใจ ปัญหาด้านศาสนา และนิกาย แก่คนอื่น หรือรัฐอิสลามเสนอตัวแก้ไขสิ่งที่เซาะฮาบะฮฺได้กระทำไว้ โดยการอ้างอิงถึงประวัตศาสตร์การประทานโองการลงมา ภายใต้นิยามที่ว่าอัลกุรอานกับต้นฉบับใหม่ ที่ตรงตามการประทานลงมาในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
คำตอบโดยสังเขป
ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
การรวบรวมอัลกุรอานถูกระทำใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนของการจัดระเบียบ และการจัดวางโองการต่างๆ ไว้เคียงข้างกัน จึงทำให้เกิดบท (ซูเราะฮฺ) ต่างๆ ขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยคำสั่งของท่าน ซึ่งสถานที่แต่ของละโองการท่านศาสดาเป็นผู้กำหนด
2. ขั้นที่สองคือการรวมรวมต้นฉบับต่างๆ  และจำนวนหน้าที่ถุกบันทึกแยกกันไว้ โดยนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านอบูบักรฺ
3.ขั้นตอนที่สามคือ การรวบรวมอัลกุรอานทั้งเล่ม โดยนำเอาต้นฉบับที่บันทึกไว้ในทีต่างๆ ซึ่งการนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และความแตกต่างในการอ่าน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน[1]
คำอธิบาย
ภายหลังการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) การรวบรวมอัลกุรอาน ได้ถูกกระทำอย่างเป็นทางการ โดยคำสั่งของท่านอบุบักรฺ เคาะลิฟะฮฺที่ 1 โดยความช่วยเหลือของท่าน “ซัยดฺ บิน ษาบิต” ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ในฐานะที่รู้จักอัลกุรอาน มากกว่าใครทั้งสิ้นท่านได้เรียบเรียงต้นฉบับอัลกุราอนขึ้น ประกอบกับอิสลาม ได้ขยายตัวกว้างราวทศวรรษที่ 30 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช ประชาชนจำนวนมากมายได้หลั่งไหลเข้ารับอิสลาม และพวกเขาต้องการมีคัมภีร์ไว้ศึกษา จนเป็นสาเหตุทำให้ต้องมีคัมภีร์ไว้ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และวิชาการ จึงเป็นที่มาของการจัดทำกุรอานเป็นรูปเล่ม จากต้นฉบับที่เชื่อถือไว้ จากท้องที่ต่าง ๆ จากตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก อ้างถึงความแตกต่างกันในการอ่าน ที่ปรากฎอยู่ในหมู่มุสลิมทั้งหลาย ซึ่งกล่าวว่ารากเหง้าของความขัดแย้ง กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกัน[2]
การเสนอให้มีการอ่านและการรวมอัลกุรอาน เป็นเล่มเดียวกันเสนอโดย “ฮุดัยฟะฮฺ” ซึ่งท่านอุษมานก็มีความเห็นพร้องต้องกัน ถึงความจำเป็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เอง ท่านเคาะลิฟะฮฺ ที่สามจึงได้ขอคำปรึกษาหารือจากเหล่าเซาะฮาบะฮฺ ซึ่งทั้งหมดก็เห็นดีเห็นงามถึงความจำเป็นดังกล่าว แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ท่านอุษมานได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่งจำนวน 4 คน ประกอบด้วย ท่านซัยดฺ บิน ษาบิต อับดุลลอฮฺ อิบนุ ซุบัยร์ สะอีด บิน อาศ และอับดุรเราะฮฺมาน บิน ฮาริษ แต่หลังจากนั้นกลุ่มดังกล่าวได้ขยายตัวเป็น 12 คน  ซึ่งเคาะลิฟะฮฺ ได้มีคำสั่งแก่พวกเขาว่า เนื่องจากอัลกุรอาน ถูกประทานลงมาด้วยภาษากุเรช ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงเขียนด้วยภาษากุเรช
กลุ่มที่ประสงค์ต้องการทำให้อัลกุรอาน เป็นฉบับเดียวกันถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อราวปีฮิจญฺเราะฮฺที่ 25 การดำเนินการครั้งแรกได้รับคำสั่งจากท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้สั่งให้รวบรวมอัลกุรอาน จากต้นฉบับที่บันทึกไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอิสลามสมัยนั้น
ในขั้นตอนนี้ หลังจากอัลกุรอานได้ถูกรวบรวมเป็นฉบับเดียวกันแล้ว ก็ถูกส่งไปยังมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่านเคาะลิฟะฮฺได้สั่งให้ทำลายต้นฉบับเดิมทิ้งเสีย หรือโยนไปต้มในน้ำเดือด ด้วยเหตุนี้นี้เองท่านอุษมานจึงได้รับฉายาว่า “ฮัรรอกุลมะซอฮิบ” หมายถึงผู้เผาต้นฉบับทิ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดส่งต้นฉบับที่รวบรวมแล้ว ไปยังสถานที่และศูนย์กลางสำคัญ ขณะที่ส่งต้นฉบับไปยังหัวเมืองต่างๆ นั้น ท่านเคาะลิฟะฮฺ ได้จัดส่งนักกอรีไปด้วย เพื่อให้เขาอ่านกุรอานให้ประชาชนได้รับฟัง[3]
บรรดานักประวัติศาสตร์ได้นับจำนวน ต้นฉบับที่ถูกจัดทำขึ้น และถูกจัดส่งไปยังหัวเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ แตกต่างกัน “อิบนุ อบีดาวูด” กล่าวว่ามีจำนวน 6 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ มักกะฮฺ กูฟะฮฺ บัศเราะฮฺ ชาม บะฮฺเรน และเยเมน และถูกเก็บรักษาไว้ในมะดีนะฮฺ เล่มหนึ่ง ซึ่งเรียกต้นฉบับนั้นว่า “อัม” หรือ “อิมาม” ท่านยะอฺกูบียฺ บันทึกไว้ในหนังสือของท่าน โดยเพิ่มต้นฉบับเข้าไปอีก 2 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังอียิปต์ และอัลญะซีเราะฮฺ  ส่วนต้นฉบับที่ถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ นั้น ได้ถูกส่งไปยังศูนย์กลาง และถูกเก็บรักษาอยู่ที่นัน นอกจากนั้นยังมีต้นฉบับอื่นๆ อีกที่คัดลอกไปจากต้นฉบับดังกล่าว เพื่อให้ทั่วถึงและสะดวกสำหรับประชาชน[4]
การเรียงตามต้นฉบับของอุษมาน ก็คือการเรียงดังกุรอานในปัจจุบัน ซึ่งเหมือนการเรียงอยู่ในต้นฉบับต่างๆ ของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกับต้นฉบับของ อบี บิน กะอับ ซึงในสมัยนั้นการเขียนลายมือ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีของชนอาหรับในยุคนั้น ฉะนั้น การจดบันทึกจึงปราจาคสระและวรรยุกต์[5]
ส่วนผู้รู้ฝ่ายชีอะฮฺ มีความเชื่อว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราในปัจจุบัน ก็คืออัลกุรอานสมบูรณ์และครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้นฉบับของอุษมานก็คือ อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราเล่มปัจจุบัน ซึ่งปราศจากการแก้ไขเพิ่มเติม การสังคายนา และการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในชวงเวลาเดียวกันท่านอิมามอะลี (อ.) จะบันทึกอัลกุรอานไว้ด้วยตัวของท่านเอง โดยบันทึกไปตามการประทานลงมาอย่างเป็นระเบียบก้ตาม แต่ทว่าอัลกุรอานเล่มที่มีอยู่เดิมนี้ ก็ได้รับการรับรองและการยืนยันจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ทุกท่าน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดทั้งสิ้น ที่เราต้องจัดพิมพ์อัลกุรอานอีกเล่มหนึ่ง โดยพิมพ์เรียงไปตามวาระการถูกประทานลงมา แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นบิดอะฮฺก็ตาม เนื่องจากว่า “บิดอะฮฺ” หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ เข้ามาในศาสนา ซึ่งสิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าวเป็น ฮะรอม และบรรดาอิมามของชีอะฮฺ ก็ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว
ชายคนหนึ่งอ่านและกล่าวเกี่ยวกับอัลกุรอาน ต่อหน้าท่านอิมามซอดิก (อ.) แต่ต่างไปจากที่ประชาชนอ่านและเข้าใจทั่วไป ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “เจ้าอย่าอ่านคำนี้เช่นนี้อีก แต่เจ้าจงอ่านเหมือนที่ทั่วไปอ่าน”[6]
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงเห็นชอบด้วยกับการที่จะรวบรวม ต้นฉบับอัลกุรอานไว้ในเล่มเดียวกัน ท่านอิบนุอบีดาวูด รายงานจากท่านซูอิด บิน ฆ็อฟละฮฺว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า อุษมานมิได้กระทำสิ่งใดเกี่ยวกับอัลกุรอานเลย เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับคำปรึกษาหารือแล้ว”[7]
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าหากการสั่งให้รวบรวมต้นฉบับ ต้นมาถึงฉัน ฉันก็คงต้องทำเฉกเช่นที่อุษมานได้กระทำ”[8]
สรุปสิ่งที่กล่าวมา ตามประวัติการรวบรวมอัลกุรอาน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือผู้กำหนดว่า โองการไหนควรจะอยู่ที่ใด มิใช่ความเห็นชอบ หรือความพอใจของเซาะฮาบะฮฺแต่อย่างใด กล่าวคือทุกโองการที่ประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับเองว่าควรจัดวางไว้ตรงที่ใด และอัลกุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันนี้ก็คือ อัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักกอรี และนักท่องจำอัลกุรอานกลุ่มใหญ่ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานเล่มปัจจุบัน ได้รับการยอมรับจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ดังนั้น ไม่สามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอานเล่มนี้ ถูกรวบรวมขึ้นตามความพอใจของท่านอุษมาน เพื่อว่าท่านจะได้สามารถกำหนดสถานที่ของโองการตามความพอใจได้

[1]ชากีรีน ฮะมี ริฎอ กุรอานเชนอซี หน้า 19 ดัฟตัรนัชรฺ มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 7 1386
[2] ดัรซ์ นอเมะฮฺ อุลูมกุรอานี ฮุซัยนฺ ญะวาด ออรอซเตะฮฺ หน้า 198, สำนักพิมพ์ ดัฟตัร ตับลีฆอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 203
[4] ออมูเซซ อุลูมกุรอาน ฉบับแปล อัตตัมฮีม ฟี อุลูมิลกุรอาน, มุฮัมมัด ฮาด มะอฺริฟัต ผู้แปล อบูมุฮัมมัด วะกีลี เล่ม 1, หน้า 425, สำนักพิมพ์ มัรกัซ จอพ วะ นัชรฺ ซอเซมอน ตับลีฆอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1371
[5] อ้างแล้ว เล่ม 1, หน้า 433
[6] อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 416
[7] อัลอิตติกอน ฟี อุลูม กุรอาน, ญะลาลุดดีน ซุยูฏี เล่ม 1 หน้า 170 สำนักพิมพ์ อัซรียะฮฺ พิมพ์ที่เบรุต ปี ฮ.ศ. 1408
[8] มุฮัมมัด อิบนุ มะฮฺมูด แต่ถูกรู้จักกันในนามของ อิบนุ ญะซะรียฺ, อันนัชรฺ ฟิล กะรออาต อัลอะชะเราะ,เล่ม 1 หน้า 8, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ พิมพ์ เบรูต
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    9206 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • ถ้าหากรายงานที่กล่าวประณามการสั่งสมทรัพย์สมบัติถูกต้อง, ดังนั้น ทรัพย์สมบัติของคนเราหรือแม้แต่ทรัพย์สินของบรรดาอุละมาอฺจะอธิบายว่าอย่างไร?
    7037 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ 2554/11/21
    ประการแรก: รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8975 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8679 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    6375 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    6329 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6706 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    10296 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8359 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6834 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60544 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58136 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42667 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40045 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39286 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34407 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28469 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28317 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26243 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...