การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11070
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/29
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8963 รหัสสำเนา 20235
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดบางคนจึงมีรูปลักษณ์ภายในความฝันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งที่หลังจากนั้นเขาเตาบะฮ์และได้รับฐานันดรที่สูงส่ง
คำถาม
มีการกล่าวกันว่าบางคนเคยกระทำบาปในช่วงวัยรุ่น แต่เมื่อแสงแห่งทางนำของอัลลอฮ์สาดส่องสู่หัวใจ จึงกลับตัวเป็นผู้ศรัทธา ตัวอย่างเช่น นายเราะซูล เติร์ก ที่ได้รับฉายาว่าผู้ที่อิมามฮุเซนประทานอิสรภาพให้
(อธิบาย: กล่าวกันว่าก่อนที่เราะซูล เติร์กจะกลับตัวกลับใจ มีผู้ฝันเห็นเขาในรูปของสุนัขที่นอนเฝ้าค่ายพักของอิมามฮุเซน คอยเฝ้าระวังมิให้คนนอกเข้ามาใกล้ เมื่อได้ทราบความฝันดังกล่าวทำให้เขาเปลี่ยนแปลงตนเอง กระทั่งได้รับฐานันดรอันสูงส่งภายหลังจากเตาบะฮ์)
คำถามก็คือ เหตุใดท่านอิมามฮุเซนจึงรับเขาไว้ในฐานะสุนัขเฝ้าบ้าน? ผมหมายถึงว่าเหตุใดเขาจึงยังอยู่ในรูปของสุนัข? ทั้งที่ฐานะภาพของมนุษย์สูงส่งกว่าอย่างเทียบมิได้ แล้วทำไมในความฝันดังกล่าวอันเป็นที่ทราบกันดีในหมู่พวกเรา อิมามจึงรับเขาไว้ในฐานะสุนัขตัวหนึ่ง? ต้องเรียนว่าผมรู้จักเพื่อนฝูงของเราะซูล และยังเคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับเขามาแล้ว
คำตอบโดยสังเขป

เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของโองการกุรอานและฮะดีษต่างๆจะพบว่า ผู้คนมากมายมีรูปโฉมทางจิตวิญญาณที่ไม่ไช่คน การกระทำบางอย่างสามารถเปลี่ยนรูปโฉมทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสัตว์ได้ อาทิเช่นการดื่มเหล้า ที่สามารถแปลงโฉมผู้ดื่มให้เป็นสุนัขในแง่จิตวิญญาณได้

กรณีที่ถามมานั้น ท่านอิมามฮุเซนมิได้เปลี่ยนรูปโฉมของเราะซูล เติร์ก การกระทำของเขาต่างหากที่ทำให้ตนมีรูปโฉมดังที่กล่าวมา ซึ่งหากไม่มีการเตือนด้วยความฝันดังกล่าว เขาก็คงยังไม่เตาบะฮ์ แต่เมื่อเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมจะคืนสู่รูปโฉมความเป็นคนเช่นเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานกล่าวว่า و اذا الوحوش حشرت (เมื่อสรรพสัตว์ฟื้นคืนชีพ)[1] นักอรรถาธิบายให้ทัศนะเกี่ยวกับโองการนี้ไว้สองประการด้วยกัน 
หนึ่ง: สรรพสัตว์จะฟื้นคืนชีพเพื่อเป็นพยานหรือโจทก์ในการพิพากษามนุษย์[2]
สอง: มนุษย์บางคนจะฟื้นคืนชีพในรูปของสัตว์เดรัจฉาน

นอกจากนี้ กุรอานยังกล่าวอีกว่า فَلَمَّا عَتَوْا عَنْ ما نُهُوا عَنْهُ قُلْنا لَهُمْ کُونُوا قِرَدَةً خاسِئِین [3] ซึ่งเล่าว่าบนีอิสรออีลบางคนถูกสาปให้เป็นลิงเนื่องจากฝ่าฝืนกฏของอัลลอฮ์ที่ห้ามมิให้ทำการประมงในวันเสาร์
โองการดังกล่าวสื่อว่าการกระทำบางประการสามารถทำให้มนุษย์แปรสภาพทางกายและใจกลายเป็นสัตว์ได้

มีฮะดีษมากมายที่พิสูจน์ว่ารูปโฉมทางจิตวิญญาณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ อาทิเช่นฮะดีษดังต่อไปนี้:
1. อบูบะศี้ร กล่าวกับอิมามบากิร(.)ว่า ผู้ทำฮัจญ์ช่างมีจำนวนมากมายอะไรเช่นนี้! เสียงเซ็งแซ่ไปหมด ท่านตอบว่า เสียงเซ็งแซ่เท่านั้นที่มากมาย ทว่าผู้ทำฮัจญ์ช่างน้อยนิด เธออยากจะเห็นเองไหมล่ะ?
แล้วท่านก็ใช้มือลูบที่สองตาของฉันพลางอ่านดุอาแล้วกล่าวว่าทีนี้ลองเพ่งดูผู้ทำฮัจญ์อีกครั้งสิเขาเล่าว่า ฉันมองดูก็พบว่ามีลิงและสุกรจำนวนมาก แต่ก็มีผู้ศรัทธาจำนวนน้อยนิดเปล่งแสงดุจดาวฤกษ์ในคืนเดือนมืด[4]

2. ฮะดีษต่อไปนี้

عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ سَهْلِ بْنِ زِیَادٍ عَنِ ابْنِ أَبِی نَجْرَانَ عَنْ مُثَنًّى الْحَنَّاطِ عَنْ کَامِلٍ التَّمَّارِ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا جَعْفَرٍ ع یَقُولُ النَّاسُ کُلُّهُمْ بَهَائِمُ ثَلَاثاً إِلَّا قَلِیلًا مِنَ الْمُؤْمِنِینَ وَ الْمُؤْمِنُ غَرِیبٌ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ

อิมามบากิร(.)กล่าวว่าผู้คนส่วนใหญ่เป็นสรรพสัตว์เว้นแต่เพียงบรรดาผู้ศรัทธาท่านกล่าวย้ำถึงสามครั้งว่าผู้ศรัทธามีสถานะไม่ต่างไปจากคนแปลกหน้า[5](ในภาวะเช่นนี้) จากฮะดีษนี้ทำให้ทราบว่ารูปโฉมทางจิตวิญญาณของผู้คนส่วนใหญ่มิได้เป็นมนุษย์ แต่เป็นสัตว์

3. ท่านนบี(..)กล่าวว่าจะเกิดเคาะสัฟและเกาะซัรในประชาชาติของฉัน อันหมายถึงการถูกแผ่นดินสูบและการกระหน่ำลงทัณฑ์จากฟากฟ้า” (คล้ายการทิ้งระเบิดในปัจจุบัน) สหายถามว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์ บะลาเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด? ท่านตอบว่าเมื่ออุปกรณ์บันเทิงที่ไร้สาระ และสตรีนักขับร้อง และสุราเมรัยแพร่ระบาด ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ประชาชาติของฉันบางกลุ่มกระทำการฝ่าฝืนในยามราตรี แต่กลายเป็นลิงค่างและสุกรในยามรุ่งอรุณ เนื่องจากพวกเขาอนุมัติในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม จ้างหญิงขับร้อง ดื่มสุราเมรัย กินดอกเบี้ย และสวมใส่ผ้าใหม[6]

ฮะดีษข้างต้นพิสูจน์แล้วว่าการกระทำบางประเภทสามารถแปลงโฉมหน้าทางจิตวิญญาณได้

จนถึงตรงนี้ได้ข้อสรุปจากคำบอกเล่าของโองการและฮะดีษหลายบทว่า เป็นไปได้ที่โฉมหน้าทางจิตวิญญาณของคนเราจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการทำบาป

ส่วนเหตุผลที่เราะซูล เติร์กมีรูปลักษณ์ดังกล่าวในความฝัน ก็เนื่องจากว่าเขาเคยเป็นคนติดสุราเรื้อรัง แต่ก็ยังให้เกียรติอิมามฮุเซนด้วยการเลิกดื่มสุราในช่วงเดือนมุฮัรร็อม แน่นอนว่าการดื่มสุราเป็นนิจสินย่อมแปลงรูปโฉมทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งก็เป็นผลจากการกระทำของเขาเอง
ฉะนั้นจึงกล่าวไม่ได้ว่าอิมามฮุเซนเปลี่ยนรูปโฉมของเขา ทว่าตัวเขาเองต่างหากที่เปลี่ยนรูปโฉมตนเอง

ส่วนเหตุผลที่ท่านอิมามเปิดเผยรูปโฉมของเขาในความฝัน ทั้งๆที่มนุษย์ควรมีฐานันดรที่สูงส่งนั้น ต้องเรียนว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะต้องการจะสื่อว่า แม้ความประพฤติเชิงลบของเขา(ดื่มสุรา)จะทำให้มีรูปอัปลักษณ์ทางจิตวิญญาณ แต่อะฮ์ลุลบัยต์ก็มิได้ปฏิเสธความดีอื่นๆที่เขาทำ ทั้งยังได้ปกป้องมิให้มีใครเหยียดหยามเขาอีกด้วย เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงเกียรติยศของอะฮ์ลุลบัยต์อย่างชัดเจน

ประการที่สอง หากไม่แจ้งให้เขาทราบเช่นนี้ เขาอาจยังไม่กลับตัวกลับใจก็เป็นได้

ประการที่สาม อิมามฮุเซนทราบดีว่าเขามีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นอัญมณีอันทรงคุณค่าในอนาคต จึงต้องการจะกระตุ้นให้เขากลับสู่หนทางที่เที่ยงตรง ทั้งนี้ เมื่อคนเราเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมไม่ถูกตำหนิไม่ว่ากรณีใด ดังที่ท่านนบี(..)กล่าวว่า
 التائب من الذنب کمن لا ذنب له (ผู้ที่เตาบะฮ์แล้ว เปรียบเสมือนผู้ที่มิได้ทำบาป)[7]

ส่วนที่ถามว่าเหตุใดอิมามจึงให้การอนุเคราะห์เขาในรูปของสุนัขนั้น ต้องเรียนว่าเขามีรูปโฉมทางจิตวิญญาณเป็นสุนัขอยู่ก่อนแล้ว แต่อิมามก็ยังให้การอนุเคราะห์เขา อย่างไรก็ดี สุนัขในที่นี้เป็นสุนัขปกป้องอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งเป็นรูปจำลองของการที่เขางดดื่มสุราและกำชับให้เพื่อนฝูงงดดื่มในช่วงมุฮัรรอม อันถือเป็นการให้เกียรติในระดับของเขาขณะนั้น ซึ่งอิมามก็ได้เผยความดีของเขาให้เป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ดี เมื่อได้เตาบะฮ์แล้ว แน่นอนว่ารูปโฉมจิตวิญญาณของเขาย่อมเปลี่ยนจากสุนัขเป็นมนุษย์รูปงาม

ขอให้พระองค์ทรงฟื้นคืนชีพพวกเราเคียงข้างเหล่าผู้ถวิลหาอิมามฮุเซนอย่างบริสุทธิใจด้วยเทอญ.



[1] อัตตั้กวี้ร,4

[2] นัคญะวอนี, เนียะมะตุลลอฮ์ บิน มะฮ์มู้ด, อัลฟะวาติฮุ้ลอิลาฮียะฮ์ วั้ลมะฟาติฮุ้ลฆ็อยบียะฮ์, เล่ม 2,หน้า 487, ด้าร ริกาบี, อิยิปต์,1999

[3] อัลอะอ์ร้อฟ, 166

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 27,หน้า 30,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต1404

[5] อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 242, (หมวดความพร่องจำนวนของมุอ์มิน)

[6] ธรรมเทศนาของบรรดาอิมาม(.)  บิฮารเล่ม ฉบับแปล- หน้า 248 ส่วนที่ยี่สิบสี่ คำแนะนำจากอิมามศอดิก(.),สำนักพิมพ์อิสลามียะฮ์

[7] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 16,หน้า 75,สถาบันอาลุลบัยต์, 1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากชาวสวรรค์มีการแบ่งชั้นอยู่ ดังนั้นสำหรับชาวนรกแล้วเป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่?
    11613 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    สิ่งที่อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ กล่าวไว้เกี่ยวกับชั้นต่างๆ ของนรก,ก็คือนรกนั้นมีชั้นเหมือนกับสวรรค์[1]ที่แบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งชาวนรกทั้งหลายจะถูกพิพากษาไปตามความผิดที่ตนได้กระทำไว้หนักเบาต่างกันไป, ซึ่งเขาจะถูกนำไปพักอยู่ในชั้นนรกเหล่านั้นเพื่อลงโทษในความผิดที่ก่อขึ้น รายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวเกี่ยวกับโองการที่ว่า «لَها سَبْعَةُ أَبْوابٍ لِكُلِّ بابٍ مِنْهُمْ جُزْءٌ مَقْسُوم»[2] สำหรับนรกมีเจ็ดประตู และทุกประตูมีสัดส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว (สำหรับผู้หลงทาง) ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ได้มีรายงานมาถึงฉันว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแบ่งนรกออกเป็น 7 ชั้น 1.ชั้นที่หนึ่ง : เป็นชั้นที่สูงที่สุดเรียกว่า “ญะฮีม” ชาวนรกในชั้นนี้จะถูกให้ยืนอยู่บนโขดหินที่ร้อนระอุด้วยความยากลำบาก กระดูกและสมองของเขาจะเดือดพล่านเนื่องจากความร้อนนั้น
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11012 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5732 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • ตะวัสสุ้ลทำให้หลงทางหรือไม่ เราพิสูจน์หลักการนี้ด้วยเหตุผลใด?
    7586 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    การตะวัสสุ้ลไม่ไช่ความหลงผิด ในทางตรงกันข้ามยังถือเป็นวิธีแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์อีกด้วย ส่วนการที่ท่านอิมามริฎอ(อ.)ช่วยให้คนป่วยหายดีนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุผลหลักในการยืนยันความถูกต้อง หากแต่เป็นเหตุผลรองที่สนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทศาสนา ทั้งนี้ กลไกของโลกเป็นกลไกแห่งเหตุแลผล บุคคลคนจะต้องขวนขวายหามูลเหตุหรือวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ในทางจิตวิญญาณก็มีกลไกคล้ายกันนี้ ดังที่กุรอานปรารภแก่เหล่าผู้ศรัทธาว่า “จงยำเกรงต่อคำบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาหนทางสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์” ...
  • โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
    6712 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อขอให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วยอิบนิ อับบาสเล่าว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7041 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8411 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    6052 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20509 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7393 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59403 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56852 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41681 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38435 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38435 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33462 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27250 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27150 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25224 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...