การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16695
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa914 รหัสสำเนา 14734
คำถามอย่างย่อ
บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำถาม
บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บาปใหญ่ คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้ การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี อัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภท โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อน เตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์ หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้น ประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจ ส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์ หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟาร คืนสิทธิแก่ผู้เสียหาย และขอให้คู่กรณียกโทษให้

คำตอบเชิงรายละเอียด

ต่อข้อซักถามที่ว่าอะไรคือหลักเกณฑ์ในการกำหนดบาปใหญ่ และบาปใดบ้างที่ถือเป็นบาปใหญ่ มีหลายคำตอบด้วยกัน อาทิเช่น
1. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษระบุว่าเป็นบาปใหญ่
2. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษให้คำมั่นว่าจะต้องถูกลงโทษในไฟนรก
3. บาปทุกประเภทที่กุรอานและฮะดีษถือว่า ร้ายแรงกว่าบาปที่ถูกระบุว่าเป็นบาปใหญ่
4. บาปทุกประเภทที่ผู้เคร่งครัดศาสนาถือว่าเป็นบาปร้ายแรง ในลักษณะที่สามารถอนุมานได้ว่า ทัศนะดังกล่าวสืบทอดมาจากยุคของบรรดามะอ์ศูมีน[1]
5. บาปทุกประเภทถือว่าเป็นบาปใหญ่ทั้งสิ้น. ทัศนะนี้ได้มาจากฮะดีษที่กล่าวเตือนว่า อย่าพิจารณาเพียงแค่ความเล็กน้อยของบาป แต่จงพิจารณาถึงความยิ่งใหญ่ของผู้ที่เราฝ่าฝืน[2] ดังที่มีในฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก()ว่าจงอย่ามองแค่ความเบาบางของบาป แต่จงพิจารณาว่าท่านกำลังเย้ยหยันผู้ใดอยู่?”[3]
อย่างไรก็ดี ผู้ที่จำแนกบาปออกเป็นใหญ่และเล็กเองก็เชื่อว่า ในบางกรณี บาปเล็กก็กลายสภาพเป็นบาปใหญ่ได้[4] ต่อเมื่อ:
1.
กระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้ง ดังที่ท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่าเมื่อมีอิสติฆฟ้าร บาปใหญ่จะไม่เหลือ(จะมลายไป) และหากมีการกระทำซ้ำ บาปเล็กก็จะไม่คงสภาพ(จะขยายใหญ่)”[5]
2.
มองข้ามบาป ท่านอิมามอลีกล่าวว่าบาปที่ใหญ่ที่สุด คือบาปที่ผู้กระทำมองข้าม[6]
3. ปลื้มใจที่ได้ทำบาป ท่านนบีกล่าวว่าผู้ที่ทำบาปขณะกำลังหัวเราะชอบใจ เขาจะถูกโยนลงในนรกขณะที่กำลังร่ำไห้[7]

ส่วนการที่บาปใหญ่จะได้รับอภัยหรือไม่นั้น อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ในกุรอานว่าโอ้ปวงบ่าวผู้เคยละเมิดต่อตัวเขาเอง(ทำบาป) อย่าได้สิ้นหวังจากพระเมตตาของพระองค์ แน่แท้ พระองค์ทรงอภัยบาปทุกประการ[8]
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวถึงฮะดีษจากท่านอิมามบากิร()ว่า โองการข้างต้นถือเป็นโองการที่ฟื้นความหวังได้ดีที่สุด[9]

จากโองการดังกล่าว ทำให้เข้าใจเบื้องต้นว่าบาปที่จะทรงอภัยนั้น หมายรวมถึงบาปอันเกิดจากชิริก(การตั้งภาคี)ด้วย ในขณะที่เราทราบกันดีว่า บาปอันเกิดจากชิริกจะไม่ได้รับอภัยโทษเว้นแต่จะเตาบะฮ์เสียก่อน จึงไม่มีทางอื่นนอกจากจะถือว่าโองการข้างต้นแฝงไว้ด้วยเงื่อนไขเตาบะฮ์ด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการอภัยโทษย่อมไม่เกิดในลักษณะเทกระจาด ย่อมต้องมีมูลเหตุเสมอ สิ่งที่กุรอานถือว่าเป็นมูลเหตุของการอภัยบาปมีสองประการ นั่นคือ การเตาบะฮ์ และการชะฟาอัต
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสำนวนของโองการข้างต้นจะพบว่า มีลักษณะปรารภต่อปวงบ่าวทั้งผู้ศรัทธาและผู้ทำชิริกโดยรวม เมื่อเป็นเช่นนี้ มูลเหตุของการอภัยบาปในโองการนี้จึงไม่น่าจะเป็นชะฟาอัต เนื่องจากกุรอานและฮะดีษระบุว่าชะฟาอัตจะไม่บังเกิดผลในกรณีชิริก ทำให้เหลือเพียงเตาบะฮ์วิธีเดียว วจนะของพระองค์จึงระบุชัดเจนว่าหากมีการเตาบะฮ์ อัลลอฮ์ก็จะทรงอภัยบาปทุกประการแม้แต่ชิริก[10]

อย่างไรก็ดี วิธีเตาบะฮ์ก็แตกต่างกันไปตามประเภทของบาป เนื่องจากบาปใหญ่แบ่งออกเป็นสองประเภท อันได้แก่ บาปอันเกิดจากการละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ และการละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์
วิธีเตาบะฮ์ในกรณีละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ประกอบด้วย ต้องสำนึกผิดอย่างจริงใจ และตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะไม่กระทำอีกเด็ดขาด โดยหากเป็นศาสนกิจที่ชดเชยได้ก็ให้ชดเชยเสีย เช่น นมาซชดเชย,ถือศีลอดชดเชย..ฯลฯ ส่วนกรณีละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ นอกจากต้องสำนึกผิดแล้ว ยังต้องชดใช้ความเสียหายแก่คู่กรณีด้วย เว้นแต่กรณีที่ผู้เสียหายยินยอมและยกโทษให้.
ท่านอิมามบากิร()กล่าวไว้ว่าผู้เป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์จะได้รับการชำระให้ปราศจากบาปทุกประการ ยกเว้นบาปอันเกิดจากหนี้สินซึ่งจะไม่มีการแทนที่ โดยจะต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ หรือขอให้เจ้าหนี้ยกโทษให้[11]

ท่านชะฮีด ดัสท์เฆบ (.) ได้สรุปเนื้อหาจากกุรอานและฮะดีษในเรื่องนี้ไว้ว่า การชดเชยคือเครื่องชี้วัดความสำนึกผิดต่อบาป ฉะนั้น ในกรณีละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ เช่น นมาซ ศีลอด ซะกาต ฮัจย์ ก็ควรต้องปฏิบัติชดเชย(ก่อฎอ) แต่ในกรณีละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ หากเป็นเรื่องทรัพย์สินก็ต้องคืนแก่เจ้าของ หรือคืนแก่ทายาทในกรณีที่เจ้าของเสียชีวิต หากเป็นเรื่องที่เคยทำให้เสื่อมเกียรติ ก็ต้องขออภัยกัน และหากเป็นเรื่องสินไหมหรือการชำระโทษตกตามกัน ก็ต้องเจรจาจ่ายสินไหมหรือไม่ก็จำต้องรับโทษ เว้นแต่คู่กรณีจะอภัยให้.[12]

สรุปคือ อินชาอัลลอฮ์ ทุกบาปไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสิทธิของอัลลอฮ์หรือเพื่อนมนุษย์ก็ตาม จะได้รับการอภัยจากพระองค์ ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าจะต้องเตาบะฮ์ให้ถูกต้อง และชดเชยให้เหมาะสมกับประเภทของบาปเสียก่อน.



[1] อับดุลฮุซัยน์ ดัสท์เฆบ,บาปใหญ่, เล่ม 1, หน้า 26.

[2] ศอเฮบกะรอนี,ละวามิอ์,เล่ม 2, หน้า 368.

[3] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, 6602 : لا تنظرو الی صغر الذنب و لکن انظروا الی من اجتر أثم.  

[4] บาปใหญ่, เล่ม 2, หน้า 273,279.

[5] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, 6617 : لا کبیر مع الاستغفار و لا صغیر مع الاصرار

[6] อ้างแล้ว,6562اشدا لذنوب عندالله سبحانه ما استهان به راکبه

[7] บาปใหญ่, หน้า 280, บิฮารฯ เล่ม 6, หน้า 36. “من اذنب ذنباً و هو ضاحک دخل النار

[8] ซูเราะฮ์ อัซซุมัร, 53. “یا عبادی الذیناسرفوا علی انفسهم لا تقنطوا من رحمة الله ان الله یغفر الذنوب جمیعاً

[9] อัลมีซานฉบับแปลฟารซี, เล่ม 20,หน้า 526.

[10] อ้างแล้ว, เล่ม 17,หน้า 425.

[11] บาปใหญ่, เล่ม 2, หน้า 6. : کل ذنب یکفره القتل فی سبیل الله الا الدین لاکفاره له الا ادائه او یقضی صاحبه او یعفوا الذی له الحقอัลกาฟี, เล่ม 5, หน้า 94, หมวดหนี้สิน, หน้า 93.

12] อ้างแล้ว, เล่ม 2,หน้า 434.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8152 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8398 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33453 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4160 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6002 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10083 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5738 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ภาพรวม, คำสอนหลักของอัลกุรอาน บทบนีอิสราเอลคืออะไร?
    8512 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ : 1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) 2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ .. 3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท 4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8921 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • มีบทบัญญัติทางฟิกเกาะฮ์ในสวรรค์หรือไม่?
    6693 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    ก่อนอื่นต้องคำนึงเสมอว่าเราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะของปรโลกและสวรรค์-นรกได้นอกจากจะศึกษาจากวะฮยู (กุรอาน)และคำบอกเล่าของเหล่าผู้นำศาสนาที่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือเสียก่อน.แม้ตำราทางศาสนาจะไม่ได้ระบุคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามดังกล่าวแต่จากการพิจารณาถึงข้อคิดที่ระบุไว้ในตำราทางศาสนาก็สามารถกล่าวได้ว่าในสวรรค์ไม่มีบทบัญญัติและกฏเกณฑ์จำเพาะใดๆอีกต่อไปหรือหากมีก็ย่อมแตกต่างจากข้อบังคับต่างๆในโลกนี้ทั้งนี้ก็เพราะการบังคับใช้บทบัญญัติของพระเจ้าในสังคมมนุษย์มีไว้เพื่อสร้างเสริมให้มนุษย์บรรลุถึงความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุดซึ่งก็เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในโลกนี้นั่นเอง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38428 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38421 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33453 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27237 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...