การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5859
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1389 รหัสสำเนา 18258
คำถามอย่างย่อ
หนังสือดุอามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่?
คำถาม
หนังสือดุอาเช่น มิศบาฮุซซาอิร, บะละดุ้ลอะมีน, มิศบาฮ์ กัฟอะมีน, อิกบาล, มะซ้าร กะบี้ร ตลอดจนตำรับตำราที่อัลลามะฮ์มัจลิซีอ้างถึงในหนังสือมะซ้ารนั้น เชื่อถือได้เพียงใด และปฏิบัติตามได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

มีสามประเด็นที่ควรพิจารณา
1. ตำราที่ยกมาทั้งหมด ล้วนเป็นที่ไว้วางใจของผู้ประพันธ์ทั้งสิ้น ดังจะทราบได้จากอารัมภบทของหนังสือ"มะซ้าร กะบี้ร"และ"บะละดุ้ล อะมีน"
อัลลามะฮ์มัจลิซีเองก็ให้การยอมรับตำราเหล่านี้ และกล่าวถึงผู้ประพันธ์อย่างให้เกียรติ
2. แนวปฏิบัติของบรรดาฟุก่อฮาอ์(ปราชญ์ทางนิติศาสตร์อิสลาม)คือการพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานฮะดีษเสียก่อน แล้วจึงปฏิบัติตาม
3. ฟุก่อฮาอ์เหล่านี้อ้างอิงกลุ่มฮะดีษที่เรียกกันว่า "มัน บะลัฆ" ทำให้สามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับตำราดุอาว่า สามารถปฏิบัติตามฮะดีษเหล่านี้ได้ โดยหวังจะได้รับมรรคผลตามที่ระบุไว้ ซึ่งหากมองกุศโลบายดังกล่าวด้วยมุมมองนี้ ก็ย่อมไม่ขัดต่อสติปัญญาและชะรีอัตแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสม ควรคำนึงสามประเด็นต่อไปนี้

1. ตำราเหล่านี้ล้วนเป็นที่ไว้วางใจของเหล่าผู้ประพันธ์และอัลลามะฮ์มัจลิซีทั้งสิ้น
ตำราที่บันทึกฮะดีษเหล่านี้ไว้ ล้วนมีคุณค่าอย่างยิ่งในมุมมองของตัวผู้ประพันธ์เองรวมถึงอัลลามะฮ์มัจลิซี ซึ่งท่านได้ยกย่องตำราเหล่านี้พร้อมกับเทิดทูนผู้ประพันธ์เป็นพิเศษ
เราขอยกตัวอย่างหนังสือ อัลมะซ้าร อัลกะบี้ร ประพันธ์โดยเชค อับดุลลอฮ์ มุฮัมมัด บิน ญะฟัร อัลมัชฮะดี หรือที่รู้จักในนาม"อิบนุ้ลมัชฮะดี"มาเป็นกรณีศึกษา
. ผู้ประพันธ์กล่าวไว้ในอารัมภบทว่า "ฉันได้รวบรวมบทดุอา บทมุนาญ้าต บทซิยาเราะฮ์สำหรับสถานที่ศักดิ์สิทธิต่างๆ รวมทั้งข้อคิดรณรงค์ให้เห็นคุณค่ามัสญิดสำคัญต่างๆไว้เคียงคู่กับสายรายงานที่น่าเชื่อถือ ซึ่งนักรายงานฮะดีษเหล่านี้ถ่ายทอดมาจากลูกหลานนบีและปราชญ์ศาสนาทั้งสิ้น

. ผู้ประพันธ์คือหนึ่งในครูบาด้านฮะดีษในฝ่ายอิมามียะฮ์ ซึ่งปรากฏนามในใบรับรองการรายงานฮะดีษ และได้รับการยอมรับโดยผู้รู้ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน
เชคฮุร อามิลีถือว่า "อิบนุลมัชฮะดี" คือผู้รู้ที่มีเกียรติยิ่ง และยังได้กล่าวถึงตำราบางเล่มของเขาอีกด้วย[1]
อัลลามะฮ์ มัจลิซี กล่าวว่า มีตำราที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับบทซิยารัต ประพันธ์โดยมุฮัมมัด บิน มัชฮะดี ซึ่งซัยยิด อิบนิฏอวู้สก็ให้การยอมรับและยกย่องตำราดังกล่าว เราขอตั้งชื่อตำราเล่มนี้ว่า "มะซ้าร กะบี้ร"[2]
ท่านได้กล่าวอีกว่า "เมื่อพิจารณาหนังสือมะซ้าร กะบีรแล้ว ก็จะทราบว่าเป็นหนังสือที่น่าเชื่อถือ เพราะซัยยิดอิบนิฏอวู้สเองก็รายงานฮะดีษและบทซิยารัตจากหนังสือเล่มนี้[3]
ท่านกัฟอะมีกล่าวไว้ในอารัมภบทของหนังสือของตนที่ชื่อ"อัลบะละดุ้ลอะมีน"ว่า "หนังสือเล่มนี้(อัลมะซ้าร อัลกะบี้ร) ได้รวบรวมบทดุอา บทป้องภัย และตัสบี้ห์ที่มีสายรายงานเชื่อมถึงบรรดาอิมาม(.) โดยคัดจากหนังสือที่ไว้วางใจได้ ส่วนเรามีหน้าที่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

ในกรณีของหนังสือมิศบาฮุซซาอิร ซึ่งประพันธ์โดยซัยยิด อลี บิน มูซา บินฏอวู้สนั้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับตำราของอุละมาอ์ยุคก่อนท่าน จะทราบว่าฮะดีษของมิศบาฮุซซาอิรมีปรากฏในตำราของผู้รู้ระดับสูงอย่างเช่น เชคศ่อดู้ก, เชคมุฟีด, เชคฏูซี, อิบนิ กูละวัยฮ์ ฯลฯ เช่นกัน

เราขอสรุปด้วยคำพูดของท่านมัจลิซีเกี่ยวกับตำราและผู้ประพันธ์ที่ท่านใช้อ้างอิงดังนี้
ท่านกล่าวไว้ในบทที่สองของอารัมภบทหนังสือบิฮ้ารว่า "พึงทราบว่าตำรับตำราที่เราวางใจใช้อ้างอิงในที่นี้นั้น ล้วนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นตำราของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น ตำรับตำราของเชคศ่อดู้ก และ... ตลอดจนตำราของครอบครัวบินฏอวู้สซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วกัน

ส่วนหนังสือของกัฟอะมีก็เป็นที่เลื่องลือทั้งตัวตำราและผู้ประพันธ์เสียจนไม่จำเป็นต้องชี้แจงแถลงไขใดๆอีก[4]

2. หนึ่งในแขนงวิชาที่บรรดาฟุก่อฮาอ์จำเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัยปัญหาศาสนาก็คือ วิชาริญ้าลและดิรอยะตุ้ลฮะดีษ แนววิธีที่ถือปฏิบัติกันก็คือ ทุกฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นชะรีอัต หรือสารธรรมคำสอน หรือหลักความเชื่อนั้น จะต้องนำมาพิจารณาในแง่สายรายงานเสียก่อนว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด เมื่อผ่านการพิสูจน์และไม่พบข้อกังขาใดๆ จึงจะนำมาพิจารณาในแง่เนื้อหา ซึ่งฟะกี้ฮ์แต่ละท่านจะใช้ประโยชน์ตามกรอบแนวคิดที่ตนมี

กระบวนการดังกล่าวถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่หลังยุคอิมามไม่นาน โดยประยุกต์ตามคำสอนของบรรดาอิมาม(.) จะเห็นได้ว่าเชคศ่อดู้ก เชคมุฟี้ด และเชคฏูซีก็ล้วนคัดเลือกฮะดีษตามบรรทัดฐานของวิชาริญ้าลเพื่อนำมาใช้วินิจฉัยปัญหา วิธีเช่นนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาฟุก่อฮาอ์ที่มีชื่อเสียงมาจนบัดนี้
ฉะนั้น ฮะดีษในตำราต่างๆ แม้จะเป็นตำราที่มีชื่อเสียงหรือประพันธ์โดยผู้รู้ระดับสูง จะต้องได้รับการพิสูจน์ทางวิชาริญ้าลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน แล้วจึงนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

3. ข้อคิดหนึ่งที่อาจเป็นทางออกสำหรับปัญหาทำนองนี้ได้ก็คือ หลักการ "มัน บะลัฆ"ที่บรรดาฟุก่อฮาอ์ถือปฏิบัติในกรณีที่พบฮะดีษในตำราต่างๆที่รณรงค์ส่งเสริมให้อ่านดุอาและบทซิยารัต ในลักษณะที่หากปฏิบัติตามคำแนะนำจะทำให้ได้รับผลบุญเท่านั้นเท่านี้ กรณีเช่นนี้บรรดาฟุก่อฮาอ์ให้ความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบสายรายงาน แต่ทั้งนี้จะต้องมีเงื่อนไขต่อไปนี้
. จะต้องไม่มีหลักฐานที่ระบุว่ากิจกรรมนั้นเป็นฮะรอม . กระทำโดยตั้งเจตนาเพื่อหวังจะได้รับมรรคผลจากอัลลอฮ์

หลักฐานที่ยืนยันประเด็นนี้ได้แก่ฮะดีษต่างๆที่มีเนื้อหาอนุโลมดังที่กล่าวมา อาทิเช่นฮะดีษนี้:

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مَرْوَانَ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا جَعْفَرٍ علیه السلام یَقُولُ مَنْ بَلَغَهُ ثَوَابٌ مِنَ اللَّهِ عَلَى عَمَلٍ فَعَمِلَ ذَلِکَ الْعَمَلَ الْتِمَاسَ ذَلِکَ الثَّوَابِ أُوتِیَهُ وَ إِنْ لَمْ یَکُنِ الْحَدِیثُ کَمَا بَلَغَه[5]

ท่านอิมามบากิร(.)กล่าวว่า "ผู้ใดที่ได้ยินเกี่ยวกับจำนวนมรรคผลที่อัลลอฮ์จะตอบแทนกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง และได้ปฏิบัติตามโดยหวังจะได้รับมรรคผลดังกล่าว เขาจะได้รับตามนั้น แม้ในความเป็นจริง ฮะดีษดังกล่าวจะมิได้ระบุเช่นนั้นก็ตาม"
บรรดาฟุก่อฮาอ์ได้พิสูจน์ความถูกต้องของฮะดีษกลุ่มนี้ และได้ยอมรับกุศโลบายดังกล่าวในตำราของตน[6]

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มฮะดีษที่สอนว่าควรอ่านเช่นนั้นเช่นนี้ระหว่างทำน้ำนมาซ หรือกล่าวซิเกรบางบทก่อนเข้านอน หรืออ่านดุอาบางบทในคืนลัยละตุ้ลก็อดร์ หรือถ้าหากอ่านบทซิยารัตอิมามบางบทจะได้รับผลบุญเท่านั้นเท่านี้ ในกรณีเช่นนี้ไม่เพียงแต่เราจะสามารถปฏิบัติตามได้ แต่ปัญญาและฮะดีษเศาะฮี้ห์(ดังที่กล่าวไปแล้ว) ยังพิสูจน์แล้วว่าเราจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์อีกด้วย

จึงสามารถกล่าวได้ว่า แหล่งอ้างอิงของหนังสือมะซ้ารของอัลลามะฮ์มัจลิซีอย่างเช่น มิศบาฮุซซาอิร, มิศบาฮ์ กัฟอะมี, อัลมะซ้าร อัลกะบี้ร...ฯลฯ นอกจากจะได้รับการยอมรับจากเจ้าของตำรา รวมทั้งอัลลามะฮ์มัจลิซีแล้ว ตามบรรทัดฐานของกลุ่มฮะดีษ "มัน บะลัฆ" เรายังสามารถปฏิบัติตามตำราเหล่านี้เพื่อหวังจะได้รับมรรคผลจากอัลลอฮ์ได้อีกด้วย



[1] อะมะลุลอามิล,เล่ม 2,หน้า 252

[2] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 1,หน้า 18

[3] เพิ่งอ้าง,หน้า 35

[4] เพิ่งอ้าง,หน้า 35 - 26

[5] อัลกาฟีย์,เล่ม 2,หน้า 87

[6] มิศบาฮุ้ลอุศู้ล,เล่ม 2,หน้า 318 (เรียบเรียงบทเรียนวิชาอุศู้ลของอายะตุ้ลลอฮ์ คูอีย์)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8132 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • อะไรคือมาตรฐานความจำกัดของเสรีภาพในการพูดในมุมมองของอิสลาม
    5683 สิทธิและกฎหมาย 2553/12/22
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13107 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11080 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13035 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    6695 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6316 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9711 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5074 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5505 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59353 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56810 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41633 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38382 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38375 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27207 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27102 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25170 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...