การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8856
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1259 รหัสสำเนา 17911
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
คำถาม
กฎว่าด้วยดอกเบี้ยห้ามไม่ให้แลกเปลี่ยนสิ่งของประเภทเดียวกันที่ไม่อาจนับได้ แต่ในกรณีการซื้อขายทอง ผู้ค้าทองมักจะยอมแลกทองรูปพรรณใหม่กับทองเก่าที่น้ำหนักมากกว่าเท่านั้น (ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป)เนื่องจากราคาทองรูปพรรณสูงกว่าทองเก่า แต่ทุกตำราประมวลปัญหาศาสนาล้วนไม่อนุมัติให้ทำธุรกรรมดังกล่าว ดิฉันอยากทราบว่าเพราะอะไรจึงห้ามเช่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจน โดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขป อาทิเช่น ทำลายช่องทางการกู้ยืม เป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อน และเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลน
เหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้น ส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษ ทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้ อย่างไรก็ดี เรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้
ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่า อาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม หรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นดอกเบี้ยถือเป็นประเด็นปัญหาที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายในวิชาฟิกเกาะฮ์ โดยกุรอานและฮะดีษได้ระบุชัดเจนว่าธุรกรรมดังกล่าวถือเป็นสิ่งต้องห้าม ริบาอ์(ดอกเบี้ย)มีสองประเภท
1. ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม
2. ดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยน
ดอกเบี้ยกู้ยืมหมายถึงการกู้ยืมที่มีการตั้งเงื่อนไข แต่ข้อปลีกย่อยที่ว่าอะไรคือเงื่อนไขของการกู้ยืมที่จะทำให้เป็นฮะรอมนั้น ยังมีข้อถกเถียงกันในหมู่ผู้รู้
ส่วนดอกเบี้ยที่คุณถามก็คือประเภทแลกเปลี่ยน อันหมายถึงธุรกรรมที่ . มีการแลกเปลี่ยนสินค้าสองชิ้น . แลกเปลี่ยนโดยการชั่งตวง . สินค้าสองชิ้นนั้นมีปริมาณที่แตกต่างกัน[1]

ดอกเบี้ยแลกเปลี่ยนถือเป็นสิ่งต้องห้าม แม้กระทั่งกรณีที่แลกเปลี่ยนสินค้าที่อาจแตกต่างกันบ้าง(แต่ยังถือว่าอยู่ในประเภทเดียวกัน) ตัวอย่างเช่นการแลกเปลี่ยนข้าวคุณภาพดีหนึ่งกิโลกรัมกับข้าวคุณภาพต่ำหนึ่งกิโลกรัมครึ่ง ก็ยังถือว่าฮะรอม และเช่นกัน คุณลักษณะอื่นๆเช่นความเก่าหรือใหม่ของสินค้า ฯลฯ ซึ่งล้วนเข้าข่ายดอกเบี้ยทั้งสิ้น กรณีแลกเปลี่ยนทองหรือเงินเช่นเดียวกัน กล่าวคือเมื่อจะแลกเปลี่ยนทองสองชิ้นไม่ว่าจะในลักษณะใด (เก่าหรือไม่, รูปพรรณหรือทองแท่ง, มีตำหนิหรือไม่ ฯลฯ) แม้ราคาค่างวดของแต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน ก็ยังจะต้องกระทำโดยให้มีน้ำหนักเท่ากันเท่านั้น ทั้งนี้โดยลักษณะเฉพาะของทองและเงินแล้ว จะต้องแลกเปลี่ยนพร้อมกันเท่านั้น ไม่อนุมัติให้แลกเปลี่ยนโดยเชื่อไว้ก่อน[2]

อย่างไรก็ดี ในเมื่อยังมีความจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยนทองเก่ากับทองใหม่อยู่ จึงยังมีช่องทางให้กระทำได้โดยไม่ผิดหลักการศาสนา (แน่นอนว่าการขัดต่อบัญญัติศาสนาย่อมไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน) ช่องทางดังกล่าวก็คือการหลีกเลี่ยงการแลกเปลี่ยนโดยตรง และเปลี่ยนเป็นธุรกรรมสองต่อ นั่นก็คือ ขายทองเก่าไปในราคาหนึ่ง แล้วซื้อทองใหม่ด้วยเงินที่ได้มา อย่างเช่น ชายทองเก่าสิบกรัมไปในราคาเจ็ดพันบาท แล้วซื้อทองใหม่แปดกรัมในราคาเดียวกัน[3]
ต้องเรียนว่าสำหรับผู้ที่ยอมรับบทบัญญัติศาสนาแล้ว นี่ไม่ไช่การใช้เล่ห์เหลี่ยมหลบหลีกบทบัญญัติของอัลลอฮ์แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนจากวิธีที่ต้องห้ามมาสู่วิธีที่อนุมัติ ดังที่ฮะดีษสอนว่า "การหนีจากฮะรอมสู่ฮะล้าลช่างน่าชมเชยนัก"[4] อันหมายถึงการปรับวิถีชีวิตให้พ้นจากข้อห้ามทางศาสนานั่นเอง

ส่วนที่ว่าเพราะเหตุใดจึงห้ามธุรกรรมดอกเบี้ยนั้น:
ก่อนอื่นต้องเกริ่นนำเช่นนี้ว่า บางครั้งการที่เราทราบเหตุผลของบทบัญญัติต่างๆอาจจะเพิ่มแรงบันดาลใจให้ปฎิบัติตาม แต่ก็อาจจะลดทอนจิตคารวะของคนทั่วไปที่มีต่ออัลลอฮ์ไปบ้าง กล่าวคือ หากทราบเหตุ หรือผลประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ อาจจะทำให้คนเรากระทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน มิไช่เพราะศรัทธาในพระองค์อย่างแท้จริง อันจะทำให้สูญเสียคุณค่าของการกระทำอย่างบริสุทธิใจด้วยความจำนน[5] อาจเป็นเพราะเหตุนี้กระมังที่กุรอานและฮะดีษมิได้กล่าวถึงเหตุผลของการบัญญัติกฎเกณฑ์ศาสนาโดยละเอียดนัก แต่กล่าวเพียงบางส่วนเพื่อรณรงค์ให้ผู้คนเข้าใจโดยสังเขป

แม้เราจะทราบดีว่าบทบัญญัติศาสนาบัญญัติขึ้นบนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดของมนุษย์ แต่ก็มักจะเกิดข้อสงสัยหยุมหยิมตลอดเวลา อย่างเช่น เราอาจจะทราบดีถึงผลประโยชน์ของการนมาซ แต่คำถามที่ว่าเหตุใดนมาซจึงมีสองเราะกะอัต หรือการที่หากเราดื่มด่ำกับนมาซแล้วถือวิสาสะเพิ่มเป็นสามเราะกะอัตก็ยังถือเป็นโมฆะนั้น เราไม่อาจทราบเหตุผลเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญญาของมนุษย์อาจสามารถรับรู้เพียงเหตุผลเชิงกว้างของบทบัญญัติศาสนาได้ แต่ไม่อาจหยั่งถึงเหตุผลของรายละเอียดปลีกย่อยได้เลย จะมีก็แต่ความศรัทธาในอัลลอฮ์และนบีเท่านั้นที่ช่วยกระตุ้นให้เราปฏิบัติตามบทบัญญัติศาสนา ซึ่งความผูกพันเชิงศรัทธานี้แหล่ะที่งดงามและสร้างความอิ่มเอิบทางจิตวิญญาณ

อย่างไรก็ดี กุรอานและฮะดีษได้ระบุถึงเหตุผลบางประการของการห้ามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ดังนี้
1. ธุรกรรมดอกเบี้ยคือการแสวงหาผลกำไรที่ปราศจากเหตุอันควร[6]
2. มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า "หากธุรกรรมดอกเบี้ยเป็นที่อนุมัติไซร้ ผู้คนจะทิ้งการทำมาค้าขายที่จำเป็นต่อสังคมกันหมด อัลลอฮ์ทรงห้ามกินดอกเบี้ย เพื่อให้ผู้คนหันไปสนใจธุรกรรมที่ฮะล้าลแทนที่ฮะรอม สนใจการทำมาค้าขาย เพื่อเงินที่คงเหลือจะได้ปล่อยให้ผู้อื่นกู้ยืมได้"[7] ฉะนั้น การกินดอกเบี้ยถูกห้ามเพื่อให้เศรษฐกิจของสังคมคึกคักนั่นเอง
3. หลังจากที่กุรอานระบุข้อห้ามเกี่ยวกับดอกเบี้ยแล้ว ได้กล่าวต่อไปว่า " لا تَظلِمون و لا تُظلَمون[8]" (...เพื่อมิให้สูเจ้าขูดรีดผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นขูดรีด) จากเนื้อหานี้ทำให้ทราบว่าธุรกรรมดอกเบี้ยเป็นการขูดรีด และนี่ก็ถือเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องห้ามธุรกรรมนี้
4. อีกหนึ่งเหตุผลที่ฮะดีษระบุไว้ก็คือ ธุรกรรมดอกเบี้ยจะทำลายจิตสำนึกในการประกอบกุศลกรรม ดังที่มีฮะดีษกล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮ์ทรงห้ามมิให้กินดอกเบี้ยก็เพราะต้องการให้ผู้คนมีจิตกุศล(ให้หยิบยืมกัน)เช่นเคย"[9]

อย่างไรก็ดี เหตุผลที่นำเสนอมาทั้งหมดล้วนกล่าวถึงอันตรายของดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้น ทว่ามิได้กล่าวถึงเหตุผลที่ห้ามดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยน หรืออาจจะกล่าวไว้แต่ฮะดีษไม่ตกทอดถึงเรา ประเด็นนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องปฎิบัติตามนบีและอิมาม(.)โดยดุษณี แต่ทั้งนี้ ผู้รู้อย่างเช่นชะฮีดมุเฏาะฮะรี[10] และอายะตุลลอฮ์มะการิม[11]ได้กรุณาชี้แจงไว้ว่า ปรัชญาของการห้ามดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยนก็เพื่อป้องปรามมิให้กระทำการกินดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม กล่าวคือ ดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนสินค้าถือเป็นประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืม และเพื่อป้องกันมิให้มีการอำพรางดอกเบี้ยกู้ยืมด้วยธุรกรรมดอกเบี้ยแลกเปลี่ยน จึงต้องระงับดอกเบี้ยประเภทค้าขายแลกเปลี่ยนด้วยการบัญญัติให้เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน



[1] ดู: ตำราประมวลปัญหาศาสนา บทว่าด้วยการค้าขาย

[2] ดู: ตำราประมวลปัญหาศาสนา บทว่าด้วยการค้าขายทองและเงิน (บัยอุศศ็อรฟ์)

[3] ยังมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเงื่อนไขของเรื่องนี้ หากประสงค์จะศึกษาเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจากตำราเฉพาะทาง

[4] อัลกาฟีย์, เล่ม 5,หน้า 246

[5] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ไม่รวมถึงปูชณียบุคคลขั้นสูงของพระองค์

[6] ย่อความจากฮะดีษในวะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 11

[7] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 8

[8] บะเกาะเราะฮ์, 279

[9] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, บทว่าด้วยดอกเบี้ย, หมวดที่ 1, ฮะดีษที่ 4

[10] มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี, ปัญหาดอกเบี้ยและการธนาคาร,หน้า 46

[11] . มะการิม ชีรอซี, อัรริบา วัลบันก์ อัลอิสลามีย์, หน้า 60

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    6378 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
    7171 เทววิทยาใหม่ 2554/10/22
    แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้ามีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    7026 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?
    10535 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/08
    รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8737 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    8390 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    20908 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8786 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    6071 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11318 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59798 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57153 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41949 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38845 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38652 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33787 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27747 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27602 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27420 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25467 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...