การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7629
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
คำถาม
ชัยฏอนและพลพรรคทั้งหลายของมาร เป็นญินประเภทหนึ่งซึ่งได้เผ้าโจมตีปวงผู้ศรัทธาทั้งหลาย มาอย่างช้านานแล้ว เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาปฏิเสธและตั้งภาคีกับพระเจ้า และจนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร? ขอบคุณสำหรับคำตอบ
คำตอบโดยสังเขป

ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ได้. ทั้งที่ชัยฏอนได้สาบานว่ามันจะลวงล่อปวงบ่าวทั้งหมดให้หลงทาง นอกเสียจากบ่าวที่บริสุทธิ์ อัลกุรอานกล่าวว่า

"قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ ‏‏ إِلاَّ عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ"؛

“ชัยฏอนพูดว่า ฉันขอสาบานต่ออำนาจของพระองค์ว่า ฉันจะหลอกลวงพวกเขาทั้งหมดให้หลงทาง เว้นเสียแต่บ่าวผู้บริสุทธิ์ของพระองค์”

หรือบางที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

" إِنَّ عِبادي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطانٌ إِلاَّ مَنِ اتَّبَعَكَ مِنَ الْغاوينَ "؛

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา เว้นแต่ผู้ที่เชื่อฟังเจ้าในหมู่ผู้หลงผิดเท่านั้น"[1]

จากโองการทั้งสองที่กล่าวมาจะเห็นว่า กลุ่มที่เป็นมุคละซีน[2] จะอยู่นอกเหนืออำนาจและบ่วงของชัยฏอน, และสิ่งนี้คือวความสัตย์จริงที่แม้แต่ชัยฏอนก็สารภาพและยอมรับ, อีกทั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำชับไว้พระองค์ตรัสว่า :

"إِنَّ عِبَادِي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطَانٌ"

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา”

แนวทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอน

มุคละซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา:

‏"إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ آمَنُواْ وَ..."؛

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา ...”[3]

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัล มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ :

إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ ... وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย (การงาน) ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา”[4]

ดังนั้น อีมานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาโองการต่างๆ ของพระองค์คือ อุปสรรคสำคัญที่กีดขวางอำนาจการควบคุมของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์ จะปกป้องพวกเขาให้อยู่ภายในกำบังแห่งความปลอดภัยของอีมาน โดยมอบหมายภารกิจทั้งหมดแด่อัลลอฮฺ, ซึ่งไม่มีช่องให้อำนาจของมารมีอิทธิพลเหนือเขาแม้เพียงเล็กน้อย แน่นอน อำนาจของชัยฏอน จะมีเฉพาะแต่บุคคลที่ยอมรับอำนาจของชัยฏอนเท่านั้น โดยพวกเขาจะตั้งภาคีและปฏิเสธพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า :

"إِنَّمَا سُلْطَانُهُ عَلَى الَّذِينَ يَتَوَلَّوْنَهُ وَالَّذِينَ هُم بِهِ مُشْرِكُونَ"؛

“แท้จริง อำนาจของมารจะมีเหนือบรรดาผู้เป็นมิตรกับมัน และบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์เท่านั้น”[5]

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งสถานพักพิงนี้,บางครั้งเป็นตักวีนียฺ และบางครั้งก็เป็นตัชรีอียฺ, ดังนั้น สำหรับการกำจัดความเลวร้ายทางธรรมชาติ จำเป็นต้องพึ่งพิงสถานพำนักที่เป็นตักวีนียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งจะมาในลักษณะของสาเหตุและปัจจัยทางธรรมชาติ ในระบบแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์, ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากความชั่วร้ายแห่งจิต ดังที่อัลกุรอาน บทนาสได้กล่าวถึง จึงจำเป็นต้องอาศัยสถานพำนักที่เป็นตัชรีอียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลคำสอนของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในฐานะของพื้นฐานสำคัญของความเชื่อศรัทธา และโครงการอบรมสั่งสอนต่างๆ ในศาสนา ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้แล้ว :

" وَ إِمَّا يَنْزَغَنَّكَ مِنَ الشَّيْطانِ نَزْغٌ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ إِنَّهُ سَميعٌ عَليم‏"

“และหากมีการยั่วยุใด ๆ จากชัยฏอนกำลังยั่วยุเจ้าอยู่ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้"[6]

โดยทั่วไป เตาฮีด จะเป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์หากต้องการประโยชน์และความดีต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ และเริ่มต้นทุกภารกิจการงานด้วยคำว่า “บิสมิลลาฮฺ” นอกจากนั้นเพื่อขจัดอันตรายและความเลวร้ายทั้งหลายให้พ้นไปจากตัวเอง ก็จงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ และเริ่มต้นภารกิจต่างๆ ด้วยการกล่าวว่า “อะอูซุบิลลาฮฺ” เนื่องจากตามทฤษฎีแห่งเตาฮีดแล้วไม่มีสิ่งใดจะก่อผลกระทบให้เกิดกับโลกได้นอกจาก เตาฮีด เท่านั้น

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون "

“พวกเขาจะรำลึกได้ แล้วทันใดพวกเขาก็จะมองเห็น”[7]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ชัยฏอนไม่มีอำนาจอันใดที่จะหยุแหย่มนุษย์ได้,เว้นเสียแต่ว่าเมื่อเขาได้ละเว้นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ”[8]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่าว่า การรำลึกถึงอัลลอฮฺ คือ สาเหตุของการปฏิเสธชัยฏอน "ذکرالله مطردة الشیطان."[9]

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน :

" إِنَّ الَّذينَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّيْطانِ تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون‏"

“แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความสำรวมตน เมื่อมีการยุยงใด ๆ จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึก (ถึงอัลลอฮฺ รางวัล และการลงโทษ) ได้ (และในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาก็จะพบความจริง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น”[10]

คำว่า “ฏออิฟ” หมายถึง ผู้ที่เวียนว่ายอยู่รอบๆ ประหนึ่งเสียงหยุแหย่ของชัยฏอนที่เวียนวนอยู่รอบ ราวกับว่าเป็นผู้เวียนรอบอยู่เหนือจิตวิญญาณ และความคิดของมนุษย์ จนกระทั่งว่ามารได้พบหนทางที่จะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

แน่นอน ชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือบุคคลที่มีจิตวิญญาณและความสำรวมตนเข้มแข็งได้, แต่มิได้หมายความว่า ชัยฏอน จะละเลยเขา มันยังคงรอโอกาสเหมาะที่จะโจมตีเขา ซึ่งบางครั้งอารมณ์และอำนาจฝ่ายต่ำ เช่น ราคะตัณหา, ความโมหะ, ความอิจฉา, และการแก้แค้นต่างๆ ได้ลุกโชติช่วงขึ้นมา จนกระทั่งว่าได้สบโอกาสเหมาะชัยฏอนจะสร้างอิทธิพลเหนือพวกเขาโดยทันที และจะทำให้เขาหลงทาง

บางคนได้แนะนำหนทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนเอาไว้ ซึ่งได้แก่ : การรำลึกถึงบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), การสร้างความเป็นมิตรกับอะฮฺลุลบัยตฺ, หรือการพยายามที่จะนำเอารหัสยะของบุคคลที่มิได้อยู่ภายใต้อิทธิพลอของมาร ..

บทสรุป :

ความเชื่อศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ, คือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกีดขวางมนุษย์ เพื่อป้องกันเขาให้ห่างไกลจากความชั่วร้าย และการทำบาป นอกจากนั้นการใส่ใจต่ออำนาจและวิทยปัญญาของพระเจ้า พร้อมกับการนำภารกิจการงานทั้งหมดกลับคืนสู่อาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่สนับสนุน จิตวิญญาณของบ่าวคนหนึ่งให้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจของชัยฏอน, นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมอีมาน การมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ และความสำรวมตนที่มีอยู่ในตัว ยังช่วยส่งเสริมให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอ และการปฏิบัติภารกิจที่สร้างความลำบาก เป็นตัวการสำคัญที่ปฏิเสธชัยฏอน และในบั้นปลายการขอความช่วยเหลืออย่างแท้จริง เมื่อไปถึงยังความชั่วร้ายและความเสื่อมทรามที่มาจากชัยฏอนมารร้าย, เหล่านี้ล้วนเป็นย่างก้าวที่สำคัญเพื่อเตรียมตัวป้องกันการมีอิทธิพลของชัยฏอน มีคำกล่าวว่าเหล่านี้ทั้งหมดถ้าปราศจากการตะวัซซุลกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และความการุณย์จากพวกเขาแล้ว ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน

หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :

แนวทางการมีอิทธิพลของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์, 165 (ไซต์ : 1052)

วัตถุประสงค์และโครงการต่างๆ ของชัยฏอน, 13586 (ไซต์ : th13412)

 


[1] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์ 42.

[2] มุคละซีน ได้แก่บุคคลที่ได้ปล่อยวางจิตใจให้ว่างเว้นจากความมืดมัวตามธรรมชาติ ทรัพย์สิน และวัตถุปัจจัยต่างๆ ชำระขัดเกลาจิตใจของเขาให้สะอาดจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งเขาได้เติมเต็มความรักในอัลลอฮฺ (ซบ.) จนเต็มล้นหัวใจ

[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 100.

[6] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 200, บทฟุซซิลัต, 36.

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

[8] มุฮัมมัด นูรียฺ, มุสตัดร็อกวะซาอิล, เล่ม 1, หน้า 178, สถาบันอาลุลบัยตฺ, กุม, 1408,มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 72, หน้า 124, สถาบัน อัลวะฟาอฺ, เบรูต 1404.

[9] ออมะดี ตะมีมี, อับดุลวาฮิด, ฆอรรุลฮิกัม วะดุรรุลกะลิม, หน้า 188, มักตับอัลอิอฺลามุลอิสลามียฺ, กุม 1366.

[10] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    8917 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5448 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • บรรดาเชลยแห่งกัรบะลาอฺมุฮัรรอม ได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺไปยังเมืองชามวันอะไร?
    5550 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    ตามรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และมะกอติล, กองคาราวานเชลยแห่งกัรบะลาอฺได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺในวันที่ 11 เดือนมุฮัรรอมและวันที่ 12 เดือนมุฮัรรอมได้มาถึงเมืองกูฟะฮฺและเคลื่อนออกจากเมืองกูฟะฮฺไปยังเมืองชามในวันที่ 19 เดือนมุฮัรรอมและถึงเมืองชามในวันที่ 1 เดือนเซาะฟัร[1]
  • ถ้าหากมุมหนึ่งของพรหมเปื้อนนะญิส, การนมาซบนพรหมนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ หรือเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิสเท่านั้นมีปัญหา? เสื้อเปื้อนเลือดและหลังจากซักออกแล้ว,ยังมีคราบสีเลือดตกค้างอยู่, สามารถใส่นมาซได้หรือไม่?
    17196 เฏาะฮาเราะฮ์ 2555/05/17
    1. หนึ่งในเงื่อนไขของสถานที่นมาซคือ ถ้าหากสถานที่นมาซนะญิส ในลักษณะที่ว่าความเปียกชื้นนั้นไม่ซึมเปียกเสื้อผ้า หรือร่างกาย, แต่บริเวณที่เอาหน้าผากลงซัจญฺดะฮฺนั้น, ถ้าหากนะญิสและถึงแม้ว่าจะแห้ง นมาซบาฏิล และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับ สถานที่นมาซจะต้องไม่เปรอะเปื้อนนะญิส[1] ด้วยเหตุนี้, การนมาซบนพรหมที่เปื้อนนะญิสด้วยเงื่อนไขตามกล่าวมา จึงถือว่า ไม่เป็นไร. 2.ทุกสิ่งที่เปื้อนนะญิส ตราบที่นะญิสยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปถือว่าไม่สะอาด. แต่ถ้ายังมีกลิ่น หรือสีนะญิสตกค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร. ฉะนั้น ถ้าหากซักรอยเลือดออกจากเสื้อแล้ว ตามขบวนการกำจัดนะญิส แต่ยังมีคราบสีเลือดหลงเหลืออยู่, ถือว่าสะอาด[2] ฉะนั้น, ถ้าเสื้อนะญิสเนื่องจากเปื้อนเลือด, และได้ซักแล้วตามขั้นตอน, แต่ยังมีคราบสีเลือดค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร และสามารถใส่เสื้อนั้นนมาซได้
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5316 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6189 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • กะฟาะเราะฮฺเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพันธสัญญาหมายถึงอะไร?
    5449 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ถ้าหากบุคคลหนึ่ง (ด้วยเงื่อนไขสำหรับการทพำพันธสัญญาซึ่งมีกล่าวไว้ในริซาละฮฺต่างๆของเตาฎีฮุลมะซาอิลของมะรอญิอฺตักลีดกล่าวไว้[1]) เขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ไม่ได้ทำตามข้อสัญญานั้น (ซึ่งไม่แตกต่างกันว่าเขาได้สัญญาว่าจะกระทำหรือจะละเว้นสิ่งนั้น) ต้องจ่ายกะฟาะเราะฮฺหมายถึงเลื้องอาหารคนจนให้อิ่ม 60 คนหรือถือศีลอดติดต่อกัน 60 วัน[2]
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    14477 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    8240 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6021 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57372 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55108 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40379 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37428 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36095 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32400 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26682 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26139 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25969 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24137 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...