การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7388
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
คำถาม
เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
คำตอบโดยสังเขป

เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์

ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

บางแหล่งอ้างอิงในอิสลามกล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “นมาซคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์”[1]

ถ้าหากพิจารณาโองการที่กล่าวว่า »และจงดำรงนมาซ แท้จริงนมาซจะยับยั้ง  (มนุษย์) จากการลามกอนาจารและความชั่ว«[2] รายงานฮะดีซบางบทที่กล่าวถึง นมาซ เข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดนมาซจึงเป็นกุญแจไปสู่สรวงสวรรค์, ดังเช่นที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “นมาซคือเสาหลักของศาสนา บุคคลใดไม่นมาซเท่ากับได้ทำลายศาสนาของตน”[3]

ทำนองเดียวกันกล่าวว่า : »ไม่มีเวลานมาซใดล่วงเลยมาถึง เว้นเสียแต่ว่ามลาอิกะฮฺได้ร้องเรียกประชาชนไปสู่การนมาซ แล้วเป่าประกาศว่าจงดับไฟที่ลุกโชนอยู่เบื้องหลัง ด้วยนมาซเถิด” [4]«

คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ในการสร้างมนุษย์เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า,[5] ซึ่งภายใต้ร่มเงาของการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ นั่นเองที่ทำให้มนุษย์พบกับความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดกับพระเจ้า, นมาซ, ถือว่าเป็นวิธีการเปิดเผยการเคารพภักดีและความเป็นบ่าวที่ดีที่สุดที่มีต่อพระผู้สร้าง โดยหลักการแล้วการแสดงความเคารพภักดีมีอยู่ในธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว และด้วยการปฏิบัติข้อบังคับบางประการ เช่น นมาซ จะทำให้ความจริงที่มีอยู่ในตัวถูกฟื้นฟูและฟูมฟักให้เข้มแข็ง และจะคอยประคับประคองตัวเขาให้ดำเนินไปในหนทางของความดีงาม หลีกเลี่ยงออกจากความชั่วร้ายทั้งปวง การกำหนดให้นมาซประจำวัน 5 เวลา, เนื่องด้วยเป็นความประเสริฐด้านจิตวิญญาณ และทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งสูงส่งปกป้องมนุษย์จากการล่วงละเมิดในบาปกรรม และการแสดงมารยาทที่ไม่ดีไม่งาม ทรามและไม่มีความเหมาะสม นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างพลังด้านจิตวิญญาณในตัวมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป ในกรณีนี้สามารถเข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไร มนมาซจึงเป็นกุญแจสู่สวรรค์

ต้องไม่ลืมว่า นมาซ เป็นหนึ่งในการงานที่จัดว่าเป็น อิบาดะฮฺ ซึ่งมีผลบุญคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานกล่าว่า ความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)[6] คือการกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ[7]อดทน[8] และ ....และยังถูกนับว่าเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, ด้วยตุนี้ จะเห็นว่ากุญแจไปสู่สวรรค์, มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงนมาซเท่านั้น, แต่เนื่องจาก นมาซวาญิบและมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าอิบาดะฮฺอื่น หรืออีกนัยหนึ่งอิบาดะฮฺที่ไม่เป็นทางการ การปฏิบัติอิบาดะฮฺเหล่านั้นเป็นหนึ่งในวาญิบที่สำคัญ และด้วยเงื่อนไขตามที่ระบุไว้จึงมีผลบุญคือ กุญแจสู่สรวงสวรรค์

เช่นเดียวกันจากรายงานนี้เข้าใจได้ว่า นมาซด้วยความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงเอกะ และความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นพิเศษ

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวดังต่อไปนี้ :

«นมาซและการไม่ใส่ใจของเยาวชนต่อนมาซ», คำถามที่ 17839 (ไซต์ : 17487)

«สาเหตุที่นมาซวาญิบ», คำถามที่ 2552 (ไซต์ : 2688)

«ความหมายและมรรคผลของนมาซ», คำถามที่ 2997 (ไซต์ : 3242)

 


[1] «مِفْتَاحُ‏ الْجَنَّةِ الصَّلَاة» อิบนุอบี ญุมฮูร, มุฮัมมัด บิน ซัยนุดดีน, อะวาลียฺ อัลลิอาลี อัลอะซีซียะฮฺ ฟี อัลอะฮาดีซ อัดดีนียะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 322, ดาร ซัยยิด อัชชุฮะดาอ์ ลินนัชร์, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1405, มุฮัมมัด เรย์ ชะฮฺริและทีมงาน, ฮุกมุนนบี อัลอะอฺซ็อม (ซ็อล ฯ) , เล่ม 5, หน้า 285, ดารุลฮะดีซ, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1429, ซุเฮลลียฺ, วะฮฺบะตุล บิน มุซเฎาะฟา, อัตตัฟซีร อัลมุนีร ฟิล อะกีดะฮฺ วัชชะรีอะฮฺ วัลมันฮัจญฺ, เล่ม 6, หน้า 102, ดารุลฟิกร์ อัลมะอาซิร, เบรูต, ดะมิชก์, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี 1418, ซุยูฎียฺ, ญะลาลุดดีน, อัดดุรุลมันซูร ฟี ตัฟซีริล มะอฺษูร, เล่ม 1, หน้า 296, พิมพ์ โดยห้องสมุด อายะตุลลอฮฺ มัรอะชีย์ นะญะฟียฺ, กุม, ปี 1404.

[2] «وَ أَقِمِ الصَّلاةَ إِنَّ الصَّلاةَ تَنْهى‏ عَنِ الْفَحْشاءِ وَ الْمُنْكَر» บทอังกะบูต, 45.

[3]. «الصَّلَاةُ عَمُودُ الدِّينِ‏ فَمَنْ‏ تَرَكَهَا فَقَدْ هَدَمَ الدِّين»อิบนุอบิลฮะดีด, อับดุลฮะมีด, ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ค้นคว้าและตรวจทานโดย อิบรอฮีม, มุฮัมมัด อบุลฟัฎล์, เล่ม 10, หน้า 206, สำนักพิมพ์มักตะบียะฮฺ อายะตุลลอฮฺ อัลมัรอะชีย์ อันนะญะฟีย์,กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี  1404, อะวาลียฺ อัลละอาลียฺ อัลอะซีซียะฮฺ ฟิลอะฮาดีซ อัดดีนะยะฮฺ เล่ม 1, หน้า 322,

[4] «مَا مِنْ صَلَاةٍ يَحْضُرُ وَقْتُهَا إِلَّا نَادَى مَلَكٌ بَيْنَ يَدَيِ النَّاسِ أَيُّهَا النَّاسُ قُومُوا إِلَى نِيرَانِكُمُ الَّتِي أَوْقَدْتُمُوهَا عَلَى ظُهُورِكُمْ فَأَطْفِئُوهَا بِصَلَاتِكُم» เชคซะดูก, ษะวาบุลอะอฺมาล วะอิกอบุลอะอฺมาล, หน้า 35, สำนักพิมพ์ อัรเราะฎียฺ, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1406

[5] ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า (เพื่อให้บังเกิดความสมบูรณ์ในหนทางนี้และมีความใกล้ชิดกับข้า) บทซาริยาต 56.

[6] ฏ็อบรียฺ ออมุลียฺ, อิมาดุดดีน อบีญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน อบีลกอซิม, บะชาเราะตุลมุสเฏาะฟา ลิชีอะฮฺ อัลมุรตะฏอ, เล่ม 2, หน้า 68, อัลมักตะบะตุลฮัยดะรียะฮฺ, นะญัฟ,พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี  ฮ.ศ. 1383, มัจญฺลีซซีย์ มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 11, หน้า 114, ดารุลอะฮฺยา อัตตุรอษ อัลอะรอบียฺ เบรุต, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1403

[7] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 48, หน้า 105.

[8] อ้างแล้ว เล่ม 75, หน้า 9.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ถ้าหากมุมหนึ่งของพรหมเปื้อนนะญิส, การนมาซบนพรหมนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ หรือเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิสเท่านั้นมีปัญหา? เสื้อเปื้อนเลือดและหลังจากซักออกแล้ว,ยังมีคราบสีเลือดตกค้างอยู่, สามารถใส่นมาซได้หรือไม่?
    17858 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    1. หนึ่งในเงื่อนไขของสถานที่นมาซคือ ถ้าหากสถานที่นมาซนะญิส ในลักษณะที่ว่าความเปียกชื้นนั้นไม่ซึมเปียกเสื้อผ้า หรือร่างกาย, แต่บริเวณที่เอาหน้าผากลงซัจญฺดะฮฺนั้น, ถ้าหากนะญิสและถึงแม้ว่าจะแห้ง นมาซบาฏิล และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับ สถานที่นมาซจะต้องไม่เปรอะเปื้อนนะญิส[1] ด้วยเหตุนี้, การนมาซบนพรหมที่เปื้อนนะญิสด้วยเงื่อนไขตามกล่าวมา จึงถือว่า ไม่เป็นไร. 2.ทุกสิ่งที่เปื้อนนะญิส ตราบที่นะญิสยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปถือว่าไม่สะอาด. แต่ถ้ายังมีกลิ่น หรือสีนะญิสตกค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร. ฉะนั้น ถ้าหากซักรอยเลือดออกจากเสื้อแล้ว ตามขบวนการกำจัดนะญิส แต่ยังมีคราบสีเลือดหลงเหลืออยู่, ถือว่าสะอาด[2] ฉะนั้น, ถ้าเสื้อนะญิสเนื่องจากเปื้อนเลือด, และได้ซักแล้วตามขั้นตอน, แต่ยังมีคราบสีเลือดค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร และสามารถใส่เสื้อนั้นนมาซได้
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    6696 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11786 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • “มุอ์มินีน”หมายถึงมุสลิมกลุ่มใด?
    14065 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/28
    มุอ์มินีนคือกลุ่มผู้ศรัทธายอมจำนนต่ออัลลอฮ์และเชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์ทุกท่าน  ซึ่งหากพิจารณาจากการที่อีหม่านของคนเรามีระดับที่ไม่เท่ากันรวมถึงการที่กุรอานและฮะดีษถือว่าการเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอีหม่านระดับสูงและจากการเปรียบเทียบแนวคิดของมัซฮับต่างๆกับเนื้อหาของอัลกุรอานก็จะได้ผลลัพธ์ว่าผู้เจริญรอยตามอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้นที่เป็นผู้ศรัทธาที่มีระดับอีหม่านสูงเด่นตามทัศนะกุรอาน อย่างไรก็ดีคำว่ามุอ์มินดังที่กล่าวมาข้างต้นย่อมหมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นในอะฮ์ลุลบัยต์ทั้งในแง่แนวคิดและภาคปฏิบัติอย่างแท้จริงมิไช่บุคคลที่แอบอ้างอย่างฉาบฉวยอย่างไรก็ดีจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเตือนใจสามประการคือ.หนึ่ง:คำว่า“อิสลาม”กินความหมายกว้างกว่าคำว่า“อีหม่าน” โดยที่ฮะดีษบทต่างๆได้อธิบายคุณลักษณะของมุอ์มินไว้แล้วฉะนั้นแม้ผู้ใดมีคุณสมบัติไม่ครบก็มิได้หมายความว่า “เขามิไช่มุสลิม”สอง:นับตั้งแต่อิสลามยุคแรกเป็นต้นมาทุกมัซฮับต่างก็แสดงความรักและให้เกียรติอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยกันทั้งสิ้นผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่หลายท่านก็เคยประพันธ์หนังสือมากมายเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของอะฮ์ลุลบัยต์  ซึ่งเราจะหยิบยกมานำเสนอในส่วนของรายละเอียดคำตอบ.สาม: ผู้ที่ถือตามมัซฮับอื่นๆล้วนได้รับเกียรติในสายตาของผู้ยึดถือแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์และมีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมาโดยตลอดไม่ว่าจะเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวการศึกษาความร่วมมือทางการเมืองและสังคมจึงทำให้สามารถพบเห็นผู้รู้ชีอะฮ์บางท่านเคยเล่าเรียนศาสตร์บางแขนงจากผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่ขณะเดียวกันในตำราฮะดีษของฝ่ายซุนหนี่ก็มีรายชื่อนักรายงานฮะดีษชีอะฮ์ปรากฏอยู่มากมายอย่างไรก็ดีการเสริมสร้างเอกภาพระหว่างพี่น้องมุสลิมถือเป็นวิธีขับเคลื่อนอิสลามสู่ความก้าวหน้าอีกทั้งยังเป็นปราการแข็งแกร่งที่ป้องกันศัตรูอิสลามจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเอกภาพมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ. ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    7663 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7157 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5821 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7312 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...