การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10000
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/27
คำถามอย่างย่อ
ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
คำถาม
มีรายงานกล่าวว่า ท่านสุลัยมานหลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป และเมื่อเข้าไปสู่โศกนาฏกรรมนั้น ท่านได้ดุอาอว่า? قَالَ رَبّ‏ِ اغْفِرْ لىِ وَ هَبْ لىِ مُلْكاً لَّا يَنبَغِى لِأَحَدٍ مِّن بَعْدِى إِنَّكَ أَنتَ الْوَهَّاب‏ » จากดุอาอฺของท่านจะพบว่าท่านมิได้สิ้นหวังจากโลกเลยแม้แต่น้อย
คำตอบโดยสังเขป
เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ”
ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอได้กล่าวคำพูดนั้นออกมา หนึ่ง, ท่านมีสติและมีความรักในอัลลอฮฺอย่างเต็มเปี่ยมหัวใจ สอง,ท่านได้อุทิศบุตรหลานในหนทางของพระเจ้า ซึ่งเป็นบุตรที่มี่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีจริยธรรม มีคำพูดที่คล้ายคลึงศาสดา (ซ็อลฯ) มากที่สุด ดังนั้น การร้องไห้เสียใจ เนื่องจากการสูญเสียบุตรทำนองนี้ ย่อมทำให้สูญเสียกำลังใจ และทำให้ผู้มีหัวใจแข็งเป็นหินเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นธรรมชาติโดยสมบูรณ์ สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก สาม,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม มิใช่เป็นการแสดงให้เห็นการสิ้นหวัง หรือสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้า ทว่าเป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความหวัง และความศรัทธาอันสูงส่งในการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า และมีความมั่นคงในปรโลก
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับสาเหตุของการประทานโองการ 34, 39 ซูเราะฮฺซ็อด[1] มีรายงานและเรื่องเล่ามากมาย ที่บันทึกไว้ในหนังสือตัฟซีร หรือประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่สุด เมือพิจารณาตำแหน่งความเป็นมะอฺซูมของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) แล้ว[2]
ศาสดาสุลัยมาน (อ.) มีความหวังว่าจะได้บุตรที่มีความแข็งแรง กล้าหาญคนหนึ่ง เพื่อจะได้ช่วยเหลือท่านในการดูแลการปกครอง โดยเฉพาะการต่อสู้กับศัตรู, ท่านมีภรรยาหลายคนและกล่าวกับตนเองว่า : ฉันใกล้ชิดกับพวกนาง เพื่อหวังว่าจะได้มีบุตรหลายคน เพื่อให้พวกเขาช่วยเหลือฉันไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ในที่นี้ประหนึ่งว่าเขามิได้กล่าวคำว่า “อินชาอัลลอฮฺ” ประโยคที่อธิบายภารกิจของมนุษย์ที่มีต่อัลลอฮฺในทุกสภาพ และในเวลานั้นเขาจึงไม่มีบุตรเกิดกับภรรยาสักคน เว้นเสียแต่บุตรพิการคนหนึ่ง ประหนึ่งร่างที่ปราศจากวิญญาณ สุลัยมานคิดหนักและเสีนใจว่าเพราะอะไรเขาจึงได้ลืมอัลลอฮฺ ไปชั่วขณะหนึ่ง และอาศัยพลังที่มีอยู่ในตัวเอง เขาได้กลับตัวกลับใจ และกลับคืนสู่อัลลอฮฺอีกครั้ง[3]
อัลกุรอาน โองการข้างต้น หนึ่ง,เป็นการแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของสุลัยมานและชะตากรรมของเขา สอง,บุตรที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กพิการโดยกำเนิด ดังนั้น การสูญเสียบุตรลักษณะนี้ แม้ว่าจะเสียใจอยู่บ้างแต่ก็จะไม่มีอิทธิพลต่อความรักแต่อย่างใด แต่สำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในวันอาชูรอขณะที่ท่านกล่าวคำพูดนี้ ท่านมีสติสัมปชัญญะ เป็นการอธิบายให้เห็นว่า หนึ่ง,ท่านอยู่ในสภาพของความสูงส่งในการรู้จักและความรักที่มีต่อพระเจ้า สอง,บุตรที่ท่านอิมาม (อ.) ได้อุทิศในหนทางของอัลลอฮฺ เป็นคนที่มีความละม้ายคล้ายคลึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) มากที่สุด ในแง่ของบุคลิกภาพ หน้าตา และความประพฤติ และแม้แต่คำพูด เป็นบุคคลที่ได้พลีชีวิตเพื่ออิมามแห่งยุคของตน ขณะที่ท่านอะลีอักบัร มุ่งหน้าไปสู่สนามรบ กล่าว่า “ข้าฯคืออะลี บุตรของฮุซัยนฺ บุตรของอะลี บุตรของอบีฏอลิบ ข้ฯมาจากครอบครัวซึ่งตาของข้าฯคือเราะซูล (ซ็อลฯ) ข้าฯขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า บุตรซินา จะไม่ได้เป็นผู้ปกครองในหมู่พวกเรา ข้าฯจะส่งพวกเขาไปสู่ความอัปยศ ข้าฯจะต่อสู้กับพวกเจ้าด้วยดาบ และจะปกป้องบิดาของข้าฯ ข้าฯจะสู้รบกับพวกเจ้าเยี่ยงชายหนุ่มแห่งบนูฮาชิมและอัลละวี[4]
การร้องไห้คือสัญลักษณ์ของความเสียใจ เนื่องจากได้สูญเสียสิ่งที่ตนรักโดยเฉพาะบุตรเช่นอะลีอักบัร ในสภาพเช่นนั้นย่อมทำให้หัวใจ แม้จะแข็งแกร่งเยี่ยงหินก็เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่ง,เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป สอง,อธิบายถึงความสมบูรณ์ของการมีอิมาม ความกล้าหาญ จิตใจที่แข็งแรงและยืนหยัดในการต่อสู้ จิตใจเปี่ยมด้วยความรัก เนื่องจากอิมามคือแหล่งที่มาของความสมบูรณ์ความเป็นมนุษย์ ความเมตตา ซึ่งความรักนั้นเป็นหนึ่งในความสมบูรณ์ของมนุษย์ ดังที่ศาสดา (ซ็อลฯ) เมื่อสูญเสียบุตรสุดที่ร้กคืออิบรอฮีม ท่านได้ร้องไห้ และได้ตอบคำถามถึงสาเหตุของการร้องไห้ว่า นี่มิใช่เป็นการร้องไห้ ทว่าเป็นความเมตตาซึ่งผู้ใดไม่มีความเมตตา เขาก็จะไม่ได้รับความเมตา[5] ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ก็เช่นกันท่านได้ร้องไห้ ณ หลุมศพของบิดาของท่านนบี (ซ็อลฯ) โดยรำพันจากจิตภายในว่า “โอ้ บิดาท่านได้จากไปแล้ว การจากไปของท่าน โลกแห่งความสดใสได้มืดลงสำหรับพวกเราแล้ว ความสุขที่เราได้เคยมีได้เบี่ยงเบนไปจากเรา โลกได้ดีขึ้นและสวยงามด้วยความไพโรจน์ของท่าน แต่บัดนี้วันที่สดใสได้มืดมิดลง ความแห้งแล้งของมัน เป็นการรายงานให้เห็นถึงกลางคืนที่มืดมิด[6]
 สาม, ท่านอิมามได้กล่าวประโยคนั้น ขณะนั่งอยู่เหนือศีรษะของอะลีอักบัร ที่ร่างกายเต็มไปด้วยบาดแผลฉกรรจ์ว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย โลกจะพบกับความหายนะหลังเจ้าจากไป” แสดงให้เห็นถึงฐานะภาพอันยิ่งใหญ่ของอะลี อักบัร ซึ่งการมีท่านสำหรับอิมามแล้วเสมือนชีวิตของอิมาม
สี่,ประโยคที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียสละอย่างที่สุดของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งมีค่าที่สุดที่มีอยู่ในครอบครองของท่าน ที่ท่านได้อุทิศในหนทางของพระเจ้า
นอกเหนือจากที่กล่าวมา บุคคลที่มีสมบูรณ์สูงสุดในครอบครัว และบุตรของท่านล้วนเป็นความยินดี และความพึงพอใจของพระเจ้า ดังนั้น เขาจะไม่มีความหวังต่อพระเจ้าเชียวหรือ หรือว่าบุคคลที่มีบุตรที่พิการจะมีความหวังมากกว่า ในสภาพเช่นนั้นเขาจึงได้เรียกร้องต่อพระเจ้ากระนั้นหรือ แม้ว่าคำพูดของสุลัยมานจะบ่งชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณ และความเชื่อมั่นในความเมตตาอันอเนกอนันต์ของพระเจ้า เมื่อเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้วถือว่าดีกว่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อเทียบกับสถานภาพอันเฉพาะสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วไม่อาจเปรียบเทียบกันได้แน่นอน  ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านอิมาม นอกจากจะมิได้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงการสิ้นหวังจากความเมตตาของพระเจ้าแล้ว ทว่ายังเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความหวัง และอีมานอันสูงส่ง เมื่อเทียบกับวิถีชีวิตที่ดีกว่าและมั่นคงแห่งชีวิตในปรโลก ประโยคที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวออกไปนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานภาพที่ไม่เอาไหนของชนในตอนนั้น ซึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวในประเด็นอื่นอีกถึงสาเหตุของการไม่ใส่ใจของผู้คน และความเหน็ดเหนื่อยของท่านที่มีต่อโลก ขณะเดินทางไปกัรบะลาอฺ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ใช่แล้ว โลกไปเปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้ว จนจำไม่ได้คนที่ทำความดีกำลังจะสูญสิ้นไป ความดีไม่คงหลงเหลืออยู่อีกแล้ว นอกจากหยดน้ำบนภาชนะ และชีวิตที่ไร้สาระ ประหนึ่งทุ่งหญ้าที่มิได้หญ้างอกเงย นอกจากหญ้าที่นำไปสู่การเจ็บป่วย ซึ่งไม่อาจใช้ประโยชน์อันใดได้ พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า ความจริงมิได้ถูกปฏิบัติ ขณะที่สิ่งโมฆะมิได้ถูกละเว้น ในลักษณะที่ว่าผู้ศรัทธามีสิทธิ์เสรี ต่างเรียกร้องกลับคืนสู่พระเจ้า ดังเช่นผู้ที่ลุ่มหลงโลก คำสอนของศาสนามิได้เกินเลยไปจากคำพูดที่อยู่บนปลายลิ้นของพวกเขา[7]
และอีกหลายตอนที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสาเหตุของความเบื่อหน่ายและเกลียดชังชีวิตทางโลกคือ การดูหมิ่นศาสนา และการชะฮาดัตของมวลผู้ศรัทธา
ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บ้านทุกหลังที่ฉันได้เข้าไป บิดาของฉันได้กล่าวถึงการเป็นชะฮีดของ ยะฮฺยาบินซักกะรียา (อ.) ว่า “วันหนึ่งความอัปยศของโลก ณ พระผู้อภิบาลคือ ศีรษะของยะฮฺยาได้ถูกตัดขาด ในฐานะของกำนัลที่ถูกส่งไปยังสตรีชั่วช้าผิดประเวณี แห่งบนีอิสราเอล[8] ในทำนองนั้นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะชะฮาดัตอะลี อักบัร ท่านกล่าวว่า พวกเขากล้าแสดงความถ่อยต่ออาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า และเราะซูลของพระองค์ และดูหมิ่นศาสนาได้เยี่ยงนี้ได้อย่างไร[9]
 

[1] กล่าวว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดอภัยให้แก่ข้าฯ โปรดประทานอำนาจปกครองแก่ข้าฯ ซึ่งหลังจากข้าฯ แล้วจะไม่คู่ควรแก่ผู้ใดทั้งสิ้น เนื่องจากเฉพาะพระองค์เท่านั้นเป็นผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย ดังนั้น เราได้บันดาลให้ลมพัดแผ่วเบาสำหรับเขา โดยพัดไปตามคำสั่งของเขายังทิศทางที่เขาต้อง”
[2] ความสัมพันธ์แง่ของตัฟซีร ระหว่างสองโองการนี้เกี่ยวกับการละทิ้งสิ่งที่ดีกว่าของสุลัยมาน (อ.) และข้อท้วงติงที่มีต่อคำตอบเกี่ยวกับการขออำนาจการปกครอง โดยเฉพาะท่านสุลัยมาน (อ.) โปรดพิจารณาตัฟซีรอัลมีซานฉบับภาษาอาหรับ เล่ม 17, หน้า 204, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281, เราะฮฺเนะมอเชะนอซียฺ, หน้า 174, อุสตาดมิซบาฮฺ ยัซดียฺ
[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19, หน้า 281
[4] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้ 43
[5] วะซาอิลชีอะฮฺ เล่ม 2,บาบดะฟั่น , บาบ 17, หน้า 922, รายงานที่ 8.
[6] บิฮารุลอันวาร เล่ม  43, หน้า 174-180
[7] ตะฮฺฟุลอุกูล, สุนทรพจน์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 427
[8] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้า 299, ซีดีวิชาการ กันญีเนะฮฺ ริวายาต นูร, คำถามตอบต่างๆ สำหรับนักศึกษา ลำดับที่ 13 สำนักตัวแทนท่านผู้นำในมหาวิทยาลัยต่างๆ, มัรกัซฟังฮังกี, ฝ่ายให้คำปรึกษาและคำตอบ
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม  45, หน้า 44.
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6649 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6181 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6575 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5985 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    9830 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6365 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7270 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8131 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    6238 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22718 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59397 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56846 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41678 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38434 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38424 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33456 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27545 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27242 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27140 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25217 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...