การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8940
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1000 รหัสสำเนา 15032
คำถามอย่างย่อ
จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
คำถาม
จะเชื่อว่าพระเจ้ามีเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีสิ่งเลวร้ายพอๆกับสิ่งดีๆ อย่างเช่นมีสัตว์ที่สวยงามและสัตว์เดรัจฉาน หากมีคนเชื่อว่าโลกนี้มีพระเจ้าสององค์ พระเจ้าแห่งสิ่งดีๆและพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้าย เราจะตอบเขาว่าอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุด อีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใด ส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิต ประทานศักยภาพในการดำรงชีวิต และมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น มีเหตุผลเฉพาะที่หากเราได้รับรู้ ก็จะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มิได้ขัดกับความเมตตาของพระองค์แต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

หากจะพูดถึงความเมตตา ความห่วงใยและคุณลักษณะอื่นๆของใครสักคน จำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบคุณลักษณะดังกล่าวกับฐานะภาพของคนๆนั้นเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ความห่วงใยของเด็กสักคนที่มีต่อทารกแบเบาะนั้น แสดงออกได้เพียงเฝ้าระวังมิให้ทารกน้อยหยิบจับของมีคม หรืออย่างมากก็แค่ป้อนขนมให้เท่านั้น.
แต่ความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อทารกสามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย ทั้งดูแลในลักษณะยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอ เฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ บางครั้งก็ตัดสินใจฉีดวัคซีนขนานแรงให้ลูก ทั้งที่รู้ว่าจะทำให้ทารกน้อยเจ็บปวดและป่วยไข้แรมสัปดาห์ แต่เพราะรักและรู้ว่า หากลูกน้อยไม่ทนเจ็บในวันนี้ ก็ไม่สามารถจะเผชิญกับโรคร้ายที่อาจจะคร่าชีวิตลูกในวันข้างหน้าได้ ฉะนั้น เป็นที่ทราบดีว่าความเจ็บปวดที่จะทำให้รอดพ้นจากโรคร้ายในอนาคตได้นั้น บ่งชี้ว่าพ่อแม่มีเมตตาแก่ลูกน้อย ในขณะที่หากพ่อแม่ตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนให้ลูกเพราะไม่อยากให้ลูกเจ็บ กรณีนี้พ่อแม่จะถูกประณามว่าเป็นช่างเป็นพ่อแม่ที่ใจร้ายเสียนี่กระไร

พึงทราบว่าความรักที่อัลลอฮ์มีต่อปวงบ่าวที่พระองค์มอบชีวิตให้นั้น มีมากกว่าความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกน้อยกลอยใจ อย่างไรก็ดี หากเราจำกัดชีวิตมนุษย์ไว้เพียงแค่ชีวิตในโลกนี้ ก็คงจะพูดได้ว่าเคราะห์กรรมบางอย่างอาจจะขัดต่อความเมตตาที่พระองค์มีต่อมนุษย์ แต่หากจะมองในมุมกว้างว่าชีวิตมนุษย์มิได้จำกัดเพียงแค่โลกนี้ แต่รวมระยะเวลาก่อนถือกำเนิด ช่วงชีวิตในโลกนี้ ช่วงชีวิตหลังความตาย และช่วงชีวิตในโลกหน้าไม่ว่าในสวรรค์หรือนรก เมื่อนำช่วงเวลาทั้งหมดมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความเมตตาของพระองค์ ก็จะทำให้ทราบว่าเหตุดีหรือเหตุร้ายทั้งหมดในชีวิตล้วนเกิดจากความเมตตาของพระองค์ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ได้ตระเตรียมปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทไว้แล้ว และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักความเมตตาที่พระองค์มีต่อสิ่งมีชีวิตที่พระองค์ทรงสร้าง
นอกจากนี้ ด้วยการที่พระองค์ทรงมีพลานุภาพและความรู้อันไร้ขอบเขต กอปรกับการที่ไม่มีเหตุจูงใจใดๆให้พระองค์ต้องระงับความเมตตาแก่มนุษย์ เพราะพระองค์ไม่จำเป็นต้องระแวงการสูญเสียอำนาจ อีกทั้งความรู้ของพระองค์ก็ไม่มีขอบเขตจำกัดแต่อย่างใด จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าพระองค์จะตระหนี่ถี่เหนียว และระงับความเมตตาแก่มนุษย์ที่พระองค์มอบชีวิตให้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสร้างโลกนี้ให้มีระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยกับความรู้และความเมตตาอันล้นเหลือของพระองค์ ระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพนี้แหล่ะที่มีแต่สิ่งดีๆ และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเมตตาและความหวังดีตามสถานะของพระองค์

แง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่สามารถเนรมิตความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นระหว่างแม่และลูก ย่อมต้องมีความเมตตาในระดับที่สมบูรณ์กว่าอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะหลักอภิปรัชญาหนึ่งสอนไว้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้มอบความดีงามแก่ผู้อื่น จะปราศจากความดีงามนั้นเสียเอง[1]
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีดนาทาเร้น อุปสรรคและความยากลำบากประเภทต่างๆ ความเจ็บป่วยและความตาย ฯลฯ จะพบว่าสิ่งเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภท:
1.
เหตุร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์บางจำพวก อาทิเช่น การรีดนาทาเร้น อาชญากรรม การจารกรรม ฯลฯ
2. เหตุร้ายที่เกิดจากภัยทางธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว โรคระบาด ฝนแล้ง ฯลฯ
เกี่ยวกับกรณีแรก ต้องคำนึงว่าในเมื่ออัลลอฮ์สร้างมนุษย์ให้มีอิสระในการเลือกระหว่างดีและชั่ว หากมนุษย์บางกลุ่มเลือกที่จะรักชั่ว ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียในภาคสังคม แน่นอนว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ โดยความเลวร้ายกรณีดังกล่าวเกิดจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ ดังที่กุรอานกล่าวว่าความเสื่อมเสียปรากฏขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำเนื่องจากความประพฤติของมนุษย์เอง[2] อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีวันแห่งการพิพากษาเพื่อชำระสะสางการกระทำของมนุษย์ แน่นอนว่าความทุกข์ยากอันเกิดจากการกดขี่เหล่านี้ย่อมจะได้รับการชดเชย

ส่วนกรณีที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้น มีข้อคิดสำคัญดังต่อไปนี้:
1.
โลกนี้เป็นสนามทดสอบเพื่อจะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยที่ทั้งความราบรื่นและความขมขื่น ความมั่งคั่งและความยากจน ความสนุกและความโศกเศร้า ล้วนเป็นเครื่องทดสอบเพื่อคัดแยกคนดีออกจากคนชั่วทั้งสิ้น หากจะพิจารณาถึงผลตอบแทนอันมากมายมหาศาลที่ผู้อดทนจะได้รับแล้วล่ะก็ เราจะเห็นว่าความทุกข์ยากทั้งหมดเป็นภาพสะท้อนของความเมตตาของพระองค์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากยิ่งประสบความทุกข์ยากเพียงใด ผลตอบแทนในวันกิยามะฮ์ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในหลายโองการด้วยกัน อาทิเช่นแน่แท้ เราจะทดสอบสูเจ้าด้วยความกลัว ความหิวกระหาย การสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตและผลผลิต และจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทน[3]
2. ความทุกข์ยากในโลกนี้จะอบรมบ่มเพาะ และปลุกจิตสำนึกบุคคลหรือสังคมให้เกิดความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น[4] ทั้งนี้ก็เพราะความทุกข์ยากและอุปสรรคต่างๆล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างโลกนี้ และหาได้ขัดต่อความเมตตาของพระองค์ ที่ต้องการจะเห็นมนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนไม่
3. อุปสรรคบางอย่างช่วยพัฒนาจิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บุคคลที่เติบโตท่ามกลางความยากจนและความลำบาก มักจะมีบทบาทในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่โลกต้องจารึกเสมอ
4. หากไม่นำความสวยงามมาเทียบกับความน่ารังเกียจแล้ว ทั้งความสวยงามและความน่ารังเกียจก็จะไม่เป็นที่ประจักษ์แก่มนุษย์ เนื่องจากหากทุกสิ่งสวยงามหมดจด ความสวยงามก็จะไร้ค่า จึงกล่าวได้ว่าแรงดึงดูดของสิ่งสวยงามมักต้องพึ่งพาแรงผลักไสของสิ่งน่ารังเกียจเสมอ[5]
5. สิ่งเลวร้ายมักจะตามมาด้วยสิ่งดีๆเสมอ เนื่องจากความสุขมักจะผุดขึ้นใจกลางความทุกข์ลำเค็ญ ดังที่อุปสรรคชีวิตก็มักจะปรากฏขึ้นท่ามกลางความสุขเสมอ และนี่ก็คือธรรมชาติของโลก[6]
เมื่อนำข้อคิดเหล่านี้มาพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่า สิ่งที่เราเคยเรียกว่าสิ่งเลวร้ายอัปมงคลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางสู่ความสุขอันประเมินค่ามิได้ทั้งสิ้น

กรณีคำถามส่วนที่สองที่เกี่ยวกับพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้ายนั้น ต้องทราบว่าสิ่งเลวร้ายมิไช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้น ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่นความพิการ ซึ่งมิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเอกเทศ แต่เป็นสภาวะที่เกิดจากการสูญเสียอวัยวะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะเชื่อเรื่องสองพระเจ้า หรือเชื่อว่าโลกนี้มีต้นกำเนิดสองขั้วได้ ทั้งนี้ก็เพราะการมีอยู่ของสิ่งต่างๆไม่อาจจะจำแนกออกเป็นสองส่วนได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีต้นกำเนิดสองขั้ว[7] และการมีอยู่นั้น โดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งดี ส่วนความว่างเปล่าโดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งเลวร้าย แน่นอนว่าสิ่งที่มีอยู่เท่านั้นที่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง เนื่องจากความว่างเปล่าไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง
สรุปคือ โลกนี้มีผู้สร้างเพียงองค์เดียวเท่านั้น.



[1] บิดายะตุ้ลฮิกมะฮ์,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,หน้า 269. “معطی الکمال غیر فاقد

[2] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 41ظهر الفساد فی البر و البحر بما کسبت ایدی الناس

[3] อัลบะเกาะเราะฮ์, 155. แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี,

 و لنبلونکم بشیء من الخوف و الجوع و نقص من الاموال و الانفس و الثمرات و بشر الصابرین

[4] ความยุติธรรมของพระเจ้า,หน้า 156.

[5] อ้างแล้ว,หน้า 143.

[6] อ้างแล้ว,หน้า 149.

[7] ดู: อ้างแล้ว,หน้า 135.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    6205 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
    7672 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (อ.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6705 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงบิดเบือน
    7455 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    สำหรับความกระจ่างในประเด็นดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้1. ถ้าหากวัตถุประสงค์ของท่านจากคำว่าชีอะฮฺหมายถึงความประพฤติที่ผิดพลาดซึ่งชีอะฮฺบางคนได้กระทำลงไปแล้วนำเอาความประพฤติเหล่านั้นพาดพิงไปยังนิกายชีอะฮฺถือว่าไม่มีความยุติธรรมสำหรับชีอะฮฺเอาเสียเลยเนื่องจากอิสลามโดยตัวตนแล้วไม่มีข้อบกพร่องอันใดทั้งสิ้นทุกข้อบกพร่องนั้นมาจากมุสลิมของเรา2. ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7764 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ควรนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักกับพระเจ้าแก่ชมรมเยาวชนในพื้นที่อย่างไร?
    6548 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/19
    หากพิจารณาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อ ต้องถือว่าประเด็นการรู้จักพระเจ้าถือเป็นประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด อีกทั้งครอบคลุมประเด็นปลีกย่อยมากมาย หากคุณต้องการอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้จะต้องคำนึงถึง 2 หลักการเป็นสำคัญ หนึ่ง. ควรเลือกประเด็นที่จะหยิบยกมาพูดคุยให้เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตรรกะ สอง.จะต้องคำนึงถึงบุคลิกและพื้นฐานความรู้ของผู้ฟังอย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับหลักการแรก ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ คุณจะต้องเลือกประเด็นในการพูดคุยเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่มีความครอบคลุมมากกว่า เพื่อที่จะได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นลึกๆ ของการรู้จักพระเจ้า นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงลำดับการเรียงเนื้อหาที่เหมาะสม และจะต้องหลีกเลี่ยงการพูดเยิ่นเย้อ ให้ทยอยนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า และควรใช้วิธีการที่สามารถเข้าใจง่ายและมีความหลากหลาย ควรใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกแสวงหาพระเจ้าที่มีในเยาวชนให้มากที่สุด ควรจะปล่อยให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดและสรุปข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจประเด็นต่าง ๆได้ ควรใช้หนังสือต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอย่างชัดแจนและมีการลำดับเนื้อเรื่องที่ดี เกี่ยวกับหลักการที่สองควรจะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ควรจะนำเสนอประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของเยาวชนกลุ่มนั้น ๆ และหากต้องการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    15245 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8998 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8291 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    10139 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60437 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58011 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42545 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39871 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39196 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34302 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28355 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28281 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28211 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26150 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...