การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6141
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1232 รหัสสำเนา 16419
คำถามอย่างย่อ
หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
คำถาม
หากว่าเราตายไปแล้วและหวังจะกลับสู่โลกอีกครั้ง สมมติว่าอัลลอฮ์อนุญาตให้กลับได้ เราจะสามารถปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้น จะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้ อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิง สอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิม และกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไป ดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสาร แต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

จารีตของอัลลอฮ์กำหนดให้ทุกสรรพสิ่งวิวัฒนาการสู่ความสมบูรณ์ อัลลอฮ์สร้างมนุษย์มาโดยทรงโปรดให้มีสองพลังในตัว นั่นก็คือพลังแห่งสติปัญญา(เครื่องพิสูจน์จากภายใน) และพลังแห่งวะฮีย์(เครื่องพิสูจน์จากภายนอก) ทั้งนี้ก็เพื่อให้มนุษย์มุ่งหน้าสู่ความสมบูรณ์ ฉะนั้น ถ้าหากปล่อยให้ผู้ตายกลับมาสู่โลกนี้ตามใจชอบ ก็จะทำลายระบบระเบียบข้างต้น และจะทำลายปรัชญาของการแต่งตั้งบรรดานบี ภาวะดังกล่าวย่อมขัดต่อหลักจารีตของอัลลอฮ์เป็นแน่แท้

 

ยิ่งไปกว่านั้น สมมติว่าสามารถหวนคืนสู่โลกดุนยาได้ จะแน่ใจได้อย่างไรว่าหากคนเหล่านี้จะประพฤติดีดังที่คาดหวังไว้ เพราะดุนยานี้ก็มิได้แตกต่างจากเดิม มนุษย์ทุกคนก็ยังมีอิสระในการตัดสินใจ หลายคนยังมีกิเลสตัณหาพ้องตามเสียงกระซิบของชัยฏอน อีกทั้งยังมีความเหิมเกริมในการละเมิดขอบเขตศาสนาเหมือนเดิม ฉะนั้น ในกรณีที่พวกเขาจะย้อนกลับมาสู่ดุนยา ปัจจัยที่เคยทำให้พวกเขาละเมิดบทบัญญัติศาสนาในอดีตก็ยังรอพวกเขาอยู่[1] 

 

ด้วยเหตุนี้ กุรอานจึงกล่าวว่า (พวกเขาจะดำเนินไปตามแนวทางที่หลงผิดต่อไป)กระทั่งความตายมาเยือน พวกเขาจึงกล่าวว่า โอ้ข้าแต่พระผู้อภิบาล ขอทรงส่งข้าฯกลับเถิด บางทีข้าฯอาจจะประพฤติดีทดแทนสิ่งที่บกพร่อง” (แต่มีปรารภว่า) ไม่มีทาง! นี่เป็นเพียงถ้อยคำที่เขาที่เขา(แสร้ง)พูดออกมา (และหากได้กลับสู่ดุนยาก็มีความประพฤติเช่นเคย) สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเขาก็คือ(มิติแห่ง)บัรซัคจวบจนวันฟื้นคืนชีพ[2]

 

ประเด็นสำคัญก็คือ อัลลอฮ์ตอบคำขอของพวกเขาด้วยคำว่าکلاّ” (ไม่มีทาง!) คำนี้ในภาษาอรับใช้ในการตัดบทแกมปฏิเสธคำกล่าวอ้างของฝ่ายตรงข้าม ทำให้โองการนี้มีสองนัยยะคือ:
หนึ่ง. คำขอดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อที่จะกลับสู่ดุนยา 
สอง. เป็นการปฏิเสธคำกล่าวอ้างที่ว่าขอกลับสู่โลกดุนยาเพื่อทำความดีแทนที่พฤติกรรมเก่าๆ โดยอัลลอฮ์ถือว่าเป็นเพียงแค่การอ้างลอยๆ และหากอนุญาตให้กลับสู่ดุนยาจริงๆก็จะมีพฤติกรรมดังเดิม[3]
นอกจากนี้ คำว่า لعل (อาจจะ)ที่ปรากฏในคำร้องขอของพวกเขาก็สื่อว่าพวกเขาเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้อย่างที่พูดหรือไม่ พวกเขารู้ดีว่าการสำนึกผิด  เวลานี้นั้น เกิดจากสถานการณ์จำเป็นขณะกำลังเผชิญหน้ากับความตาย ฉะนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่พวกเขาจะมีความประพฤติดังเดิมหากได้กลับสู่โลก[4]

 

อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญก็คือ ไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะอนุญาตให้พวกเขากลับสู่ดุนยาอีก กุรอานกล่าวว่าหากพวกเขาได้หวนคืนสู่ดุนยา พวกเขาก็จะคืนสู่พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่อนุมัติเช่นเคย[5] แสดงว่าการสำนึกผิดของพวกเขาเป็นเพียงการตื่นตัวชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น[6]
คนประเภทนี้ก็ไม่ต่างจากกลุ่มกุฟฟารมุชริกีน(ผู้ปฏิเสธและตั้งภาคี)ที่เมื่อประสบภัยทางทะเลจนชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย พวกเขาก็วอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ แต่เมื่อถึงฝั่งอย่างปลอดภัยแล้วก็กลับเป็นผู้ปฏิเสธตามเดิม นั่นหมายความว่าคนกลุ่มนี้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงชั่วขณะว่าโลกดุนยาไม่ยั่งยืนเนื่องจากประสบเคราะห์กรรมที่ปรากฏเงาแห่งความตาย แต่เมื่อรอดชีวิตก็กลับหลงไหลดุนยาและกระทำชั่วด้วยความเอร็ดอร่อยเหมือนเดิม

 

 

[1] อัลมีซาน,เล่ม 7,หน้า 84

 

[2] ซูเราะฮ์อัลมุอ์มินูน,99,100 حتی اذا جاء احدهم الموت قال رب ارجعون. لعلی اعمل صالحاً فیما ترکت کلاّ انّها کلمة هو قائلها..

 

[3] ดู: ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 14,หน้า 313 และ อัลมีซาน,เล่ม 5,หน้า 98

 

[4] ตัฟซี้รติ้บยาน,เล่ม 7,หน้า 393 และ กันซุ้ลอิรฟาน,เล่ม 9,หน้า 212

 

[5] อัลอันอาม, 28

 

[6] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 5,หน้า 200.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
    6163 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/13
    จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมายจึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้1. ในอดีตเจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆบ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วนบ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วนฉะนั้นจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่2.
  • ฮะดีษที่กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าวว่า “จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในช่วงเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” เป็นฮะดีษที่ถูกต้องหรือไม่?
    10434 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/06/23
    แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสารอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านการรักษาและเป็นยาอีกด้วย ซึ่งเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งสมัยก่อนและสมัยใหม่ได้กล่าวและเขียนเกี่ยวกับมันมากมาย เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของแอปเปิ้ล นอกจากทัศนะของเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งหลายแล้ว เราจะพบฮะดีษบางบทจากบรรดามะอ์ศูมีนในหนังสือทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือฮะดีษที่ได้กล่าวมาในคำถามข้างต้นที่กล่าวว่า “و قال النبی (ص) کلوا التفاح علی الريق فإنه وضوح المعده”[1] จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในยามเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” และฮะดีษนี้รายงานจากอิมามอลี (อ.) โดยมีเนื้อหาดังนี้ “كُلُوا التُّفَّاحَ فَإِنَّهُ يَدْبُغُ الْمَعِدَةَ” จงกินแอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลจะช่วยชำระล้างกระเพาะ ฮะดีษดังกล่าวนอกจากจะปรากฏในหนังสือมะการิมุลอัคลากแล้ว ยังจะพบได้ในหนังสือบิฮารุลอันวารของท่านมัจลิซีย์และมุสตัดร็อกของท่านนูรีย์อีกด้วย นอกจากนี้ท่านอิมามศอดิก (อ.) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของแอปเปิ้ลว่า “หากประชาชนได้รู้ถึงสรรพคุณที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล พวกเขาจะใช้แอปเปิ้ลรักษาผู้ป่วยของตนเพียงอย่างเดียว”
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13355 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    7512 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • ขณะลงซัจญฺดะฮฺ จะต้องเอาอวัยวะส่วนใดลงพื้นก่อนซัจญฺดะฮฺ?
    5874 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    การซัจญฺดะฮฺเป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ, ซึ่งมีองค์ประกอบและเงื่อนไขวาญิบและมุสตะฮับหลายประการ, เช่น หนึ่งในบางประการที่ถือว่าเป็นมุสตะฮับของซัจญฺดะฮฺ, กล่าวคือ ชาย ขณะลงซัจญฺดะฮฺให้เอาฝ่ามือลงก่อน, ส่วนหญิงให้เอาเข่าลงก่อน[1] [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัชชี), ผู้ตรวจทานและค้นคว้า : บนีฮาชิมมี โคมัยนี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน, เล่ม 1, หน้า 591, ดัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้ง 8, ปี ฮ.ศ. 1424
  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7423 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7165 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • ฮุกุมของการขับร้องเพลงวันประสูติพร้อมกับการบรรเลง (ในงานเฉพาะสตรี)เป็นอย่างไร?
    5522 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    ในทัศนะของอิสลามเพลงบรรเลง[1]หรือการขับร้องที่มีลักษณะ“ฆินาอ์”ถือเป็นฮะรอมกล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการร้อง, การแสดง, การฟังและการรับค่า
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6016 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7336 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59403 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56852 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41681 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38435 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38435 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33462 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27250 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27150 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25224 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...