การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8759
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa6268 รหัสสำเนา 19621
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
คำถาม
บรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระเจ้าหรือไม่? และบุตรของมาลิกเชื่อฟังอิมามท่านต่อๆมาดังที่บิดาเคยกระทำเป็นเยี่ยงอย่างหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัร ซึ่งมาจากเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจในเยเมนแต่อย่างใด สิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือ เผ่านี้เป็นกลุ่มแรก  ในเยเมนที่เข้ารับอิสลาม 

มาลิก อัชตัรมีบุตรชายสองคน คนหนึ่งมีนามว่า อิสฮาก และอีกคนมีชื่อว่า อิบรอฮีม อิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (.) ในกัรบาลา และได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุด อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถ โดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (.) เช่น อิบนุซิยาด ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า อิบรอฮีมมีบุตร 5 คน นามว่า นุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลาน ในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีม กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

มาลิก บินฮาริษ บินอับด์ ยะฆูษ บินสะละมะฮ์ บิน เราะบีอะฮ์ บินฮาริษ บินคุซัยมะฮ์ บินสะอ์ด บินมาลิก บินนะเคาะอ์ถือกำเนิดในครอบครัวที่กล้าหาญและมีชาติตระกูลในเผ่านะเคาะอ์และมิซฮัจแห่งเยเมน[1] เขาเกิดในสมัยญาฮิลียะฮ์ก่อนยุคอิสลาม[2] แต่ทว่าตำราประวัติศาสตร์ ตลอดจนฮะดีษต่างๆก็มิได้กล่าวถึงความเชื่อของเขาและเผ่าของเขา และมิได้ระบุว่าเข้ารับอิสลามในช่วงเวลาใด[3] นักเขียนบางคนสันนิษฐานว่าการที่เผ่าใหญ่  ของเยเมน เช่นนะเคาะอ์”, “มิซฮัจ”, “ฮัมดานฯลฯ เริ่มทะยอยกันเข้ารับอิสลามทีละเผ่านั้น เกิดขึ้นหลังจากที่อิมามอาลี (.) ได้เดินทางไปยังดินแดนแห่งนั้นในปีที่ 10 ..โดยคำสั่งของท่านนบี (..) [4]

ครอบครัวชาวอรับดั้งเดิมดังกล่าวได้เดินทางมายังเมืองชามในสมัยการปกครองของอบูบักร และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์ และได้ตั้งรกรากที่นั้น และไม่นานก็มีสายตระกูลมากมายที่แตกสาขาจากครอบครัวดังกล่าวในแผ่นดินนี้ ทายาทของมาลิกค่อยๆกลายเป็นสายตระกูลที่กว้างขวาง อาทิเช่นบะนูมาลิก”, “บะนูอิบรอฮีมฯลฯ ปัจจุบันในประเทศอิรักมีครอบครัวที่มีชื่อเสียงเช่นสายตระกูลของ กาชิฟ อัลฆิฏอ และตระกูลของเชครอฎี ซึ่งล้วนสืบเชื่อสายมาจากมาลิกอัชตัรทั้งสิ้น

ในประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงบุตรของมาลิกอัชตัรไว้สองคนอิสฮาก และ อิบรอฮีมในกัรบาลา อิสฮากได้เป็นหนึ่งในผู้ที่ช่วยเหลือท่านอิมามฮุเซน (.) เขาออกสู่สนามรบหลังจากฮาบีบ บินมะซาฮิร และในที่สุดได้เป็นชะฮีด[5] อิบรอฮีมบุตรชายอีกคนหนึ่งของมาลิกอัชตัร เป็นชายผู้กล้าหาญและเปรียบดั่งอัศวินในสมรภูมิรบ เขาเป็นชีอะฮ์และรักอะฮ์ลุลบัยต์อย่างมั่นคงมิเสื่อมคลาย ไม่เพียงแต่อิบรอฮีมจะคล้ายคลึงกับบิดาในด้านอุปนิสัย แต่ยังคล้ายในแง่รูปร่างหน้าตาอีกด้วย[6] ซะฮะบีผู้เป็นนักประวัติศาสตร์ของซุนนีได้บันทึกไว้เกี่ยวกับอิบรอฮีมว่าเขาคือวีรบุรุษที่สูงส่งและยิ่งใหญ่เฉกเช่นบิดา[7]

อิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตาร ษะเกาะฟี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพมุคตาร และด้วยกับความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวไร้เทียมทาน ทำให้สามารถชนะศัตรูของอะฮ์ลิลบัยต์และสำเร็จโทษผู้ที่ฆ่าอิมามฮุเซน (.) เป็นจำนวนมาก เขาได้ฆ่าอิบนุซิยาดในวันที่ 10 มุฮัรรอม อัลฮะรอม ปี 67 เป็นผลสำเร็จ[8]

ในตำราประวัติศาสตร์ได้บันทึกรายชื่อผู้ที่เป็นลูกหลานของอิบรอฮีมไว้ 5 คนนุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานซึ่งในจำนวนนี้ กอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา[9]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 2, หน้า 200, ดารุตตะอารุฟ ลิลมัทบูอาท, เบรูต, 1406 ..



[1] อัลอะอ์ละมี อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัดฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 16, หน้าที่ 40, พิมพ์ครั้งที่ 2, สถาบันอัลอะอ์ลามีย์ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1413, อัลอะมีน, ซัยยิดมุฮ์ซิน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์, เล่ม 9, หน้าที่ 38, ดารุตะอารุฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรุต, 1403, อัลอัฏฏ้อร, เกส, มาลิก อัลอัชตัร คุเฏาะบุฮูวะอารออุฮู , หน้า 13, พิมพ์ครั้งที่ 1, สถาบันอัลฟิกรุล อิสลามีย์, อิหร่าน, 1412

[2] อัซซัรกุลี, ค็อยรุดดีน, อัลอะอ์ลาม, เล่ม 5, หน้า 259, พิมพ์ครั้งที่ 5, ดารุลอุลูม, เบรุต

[3] ดู: อัลฮะกีม, อัซซัยยิดมูฮัมหมัดริฏอ, มาลิก อัลอัชตัร, หน้า 33, พิมพ์ครั้งที่ 1, อัลมักตะบะฮ์ อัลฮัยดารียะฮ์, กุม, 1427

[4] ดู: มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 19, พิมพ์ครั้งที่ 2,สำนักพิมพ์พายอมเม ออซอดี, เตหะราน, 1372

[5] มุฮัมมะดี เอชเทฮอรดี, มุฮัมหมัด, มาลิก อัชตัร, หน้า 188

[6] อัลอะอ์ละมีย์ อัลฮาอิรีย์, มุฮัมหมัด ฮุเซน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ อัชชีอะฮ์ อัลอามมะฮ์, เล่ม 2, หน้า 131

[7] ซะฮะบี, สิยัร อะอ์ลามุนนุบะลา , เล่ม 4, หน้า 35, พิมพ์ครั้งที่ 9, สถาบันอัรริซาละฮ์, เบรุต, 1413

[8] อิบนิอะษี้ร, อัลกามิล ฟิตตารีค, เล่ม 4, หน้า 264, อ้างใน: นะซะรี มุนฟะริด, อาลี, เรื่องราวแห่งกัรบาลา, หน้า 670, พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์สุรูร, กุม, 1379

[9] ดู: มะฮ์มูด, วิเคราะห์ชีวประวัติมาลิกอัชตัร, หนังสือพิมพ์ริซาลัต, ฉบับที่ 6054, 16/10/85

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5542 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8624 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7241 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    7638 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6430 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10135 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6783 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    13524 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    6730 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง
  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    9158 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...